ประหยัดงบ 1.4 แสนล้านบาท "องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน" ปลื้มจัดซื้อจัดจ้างโปร่งใส

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ประหยัดงบ 1.4 แสนล้านบาท "องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน" ปลื้มจัดซื้อจัดจ้างโปร่งใส

Date Time: 10 ก.ย. 2562 07:55 น.

Summary

  • นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และรองประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดเผยในงานสัมมนาระดับภูมิภาค ว่าด้วยการสร้างความโปร่งใส ในงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย

นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และรองประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดเผยในงานสัมมนาระดับภูมิภาค ว่าด้วยการสร้างความโปร่งใส ในงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ จัดโดยองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ว่า

องค์กรภาคเอกชนได้ร่วมกับกรมบัญชีกลาง ผลักดันให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และผู้ประกอบการในการป้องกันการทุจริต ด้วยการใช้โครงการข้อตกลงคุณธรรม (IP-Integrity Pact) สำหรับโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีงบประมาณตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป และโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST) สำหรับโครงการที่มีงบต่ำกว่า 1,000 ล้านบาทมาตั้งแต่ปี 2558

โดยหากนับจำนวนโครงการที่ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้างแล้ว คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ ทั้ง 2 เครื่องมือ จะช่วยประหยัดงบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ หรือทำให้ลดการสูญเสียงบจากการคอร์รัปชันได้ถึง 142,769 ล้านบาท โดยเป็นการประหยัดจากโครงการข้อตกลงคุณธรรม 97,013 ล้านบาท คิดเป็น 27.06% ของงบโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่จัดหาได้แล้ว 358,448 ล้านบาท ใน 62 โครงการ รวมถึงโครงการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ที่ประหยัดงบได้ 37,457 ล้านบาท

“ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ประหยัดงบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่สูงถึงหลักแสนล้านบาท แต่เป็นการสร้างผลทางสังคม ซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่อาสาสมัครเป็นผู้สังเกตการณ์ 230 คน ล้วนทำงานด้วยความทุ่มเท เสียสละ ตามความยาก ความซับซ้อนของแต่ละโครงการ ที่สำคัญ ทั้ง IP และ CoST ทำให้ข้าราชการที่สุจริตสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เพราะเป็นกระบวนการปกป้องไม่ให้ใช้อิทธิพลกับข้าราชการ ช่วยป้องกันการทุจริตในระบบราชการ ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพงบประมาณ และเพิ่มประสิทธิผลของโครงการ”

ดังนั้น องค์กร จะนำข้อตกลงคุณธรรมไปใช้ในโครงการ PPP อื่นๆ และโครงการสัมปทานขนาดใหญ่ของรัฐ สำหรับโครงการที่ประชาชนให้ความสนใจและมีความเสี่ยงเรื่องความโปร่งใส ซึ่งอาศัย พ.ร.บ.การร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน พ.ศ.2562 ในการดำเนินงาน

นางญาณี แสงศรีจันทร์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง กรมบัญชีกลาง กล่าวว่า ตั้งแต่เริ่มทำทั้ง 2 โครงการในปี 2558 จนถึงปัจจุบัน สามารถป้องกันคอร์รัปชัน และประหยัดงบแผ่นดินได้ 83,138 ล้านบาท โดยมาจากการใช้โครงการ IP จำนวน 74,893 ล้านบาท คิดเป็น 30.40% ของงบโครงการที่ดำเนินการจัดหา และจากโครงการ CoST อีก 8,245 ล้านบาท คิดเป็น 20.53%.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ