คนไทยใช้มือถือนำโด่ง 5 ประเทศ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

คนไทยใช้มือถือนำโด่ง 5 ประเทศ

Date Time: 14 พ.ค. 2562 08:01 น.

Summary

  • เทเลนอร์กรุ๊ป ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้เปิดเผยรายงานประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในหัวข้อ The Mobile Effect

Latest

เจ้าหนี้การบินไทยขอเลื่อนโหวตแผนฟื้นฟู

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 13 พ.ค.ที่ผ่านมา เทเลนอร์กรุ๊ป ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ได้เปิดเผยรายงานประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในหัวข้อ The Mobile Effect : How Connectivity Has Enabled Growth ที่ได้ทำร่วมกับบริษัทวิจัย Frontier Economics เพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจของ 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียที่เทเลนอร์กรุ๊ปดำเนินธุรกิจอยู่ ได้แก่ ปากีสถาน บังกลาเทศ เมียนมา มาเลเซีย และไทย

ทั้งนี้ ผลวิจัยพบในปี 2560 บริการด้านโทรคมนาคมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจใน 5 ประเทศดังกล่าวมากกว่า 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 480,000 ล้านบาท) สร้างงาน 150,000 ตำแหน่ง จ่ายภาษีให้แก่รัฐบาลมากกว่า 1,700 ล้านเหรียญฯ เมื่อรวมมูลค่าทั้งหมดคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1% ของอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และงานวิจัยยังพบว่า ทั้ง 5 ประเทศนี้ ในส่วนของประเทศไทยมีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือต่อประชากร (Penetration) สูงที่สุดคือ 86% (กรณีผู้ใช้ที่มีโทรศัพท์มือถือหลายเบอร์นับแค่เบอร์เดียว) ตามมาด้วยมาเลเซียที่สัดส่วน 80% ส่วนจำนวนผู้ใช้มือถือที่เข้าถึง 4 จี ประเทศไทยมี 62% มาเลเซียเป็นอันดับ 1 ที่ 71%

การศึกษายังพบว่า ภาคการเงิน ธุรกิจค้าปลีก การศึกษา สาธารณสุขและการขนส่ง เป็นธุรกิจที่มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารอย่างเข้มข้น ทำให้ธุรกิจเหล่านี้เติบโตรวดเร็วกว่าธุรกิจอื่นๆ ครองสัดส่วน 65-75% ของมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี

สำหรับประเทศไทยพบว่า ภาคการเงินมีการใช้เทคโนโลยีสื่อสาร ไปเป็นตัวต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการชำระเงินผ่านช่องทางดิจิทัล (digital payment) ที่เติบโตจาก 33% ในปี 2557 เป็น 62% ในปี 2560 ขณะที่อัตราการเติบโตของผู้ใช้กระเป๋าเงินดิจิทัล (mobile wallet) เติบโตขึ้นจาก 1% เป็น 8% ในช่วงเวลาเดียวกัน

นอกจากนี้ ในภาคการเกษตรก็พบว่าเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยเพาะปลูก เนื่องจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิมจะไม่ช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพที่ดีให้กับเกษตรกร โดยมีเหตุผลบ่งชี้ที่เห็นได้ชัดเจน จากการเติบโตของจีดีพีภาคการเกษตรที่เหลือเพียง 10% จากอดีตที่มีสัดส่วนสูงถึง 32% โดยโครงการดีแทคสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ได้ช่วยยกระดับเกษตรกรไทยและเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ 50%

นายฮากุน บรัวเซ็ท เชิร์ล ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานพันธมิตรและสัมพันธ์องค์กร เทเลนอร์กรุ๊ป เอเชีย กล่าวถึงเทคโนโลยี 5 จี ว่า ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องรีบ และควรจัดทำแผนบริหารจัดการคลื่น (Road map) ให้สมบูรณ์ โดยขณะนี้ควรเป็นเวลาของการทดสอบและทดลอง เพื่อหาโมเดลทางธุรกิจให้เทคโนโลยี 5 จีสามารถทำเงินให้ได้ก่อน เพราะในขณะนี้เทคโนโลยี 4 จีที่มีอยู่ก็ยังตอบโจทย์ความต้องการผู้ใช้และบริการในปัจจุบันได้อยู่.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ