กสทช.หาแนวร่วมอาเซียนเก็บโอทีที รีดรายได้จากเฟซบุ๊ก-ยูทูบ อัตราตามการใช้โครงข่าย

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

กสทช.หาแนวร่วมอาเซียนเก็บโอทีที รีดรายได้จากเฟซบุ๊ก-ยูทูบ อัตราตามการใช้โครงข่าย

Date Time: 5 เม.ย. 2562 07:01 น.

Summary

  • นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. เข้าร่วมประชุม

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. เข้าร่วมประชุมคณะเตรียมงานการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมอาเซียน ที่ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อเตรียมความพร้อมและรายละเอียดของการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม แล้วนำมาเสนอในที่ประชุมอาเซียนในเดือน ส.ค. 2562 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ โดยมอบหมายให้นายก่อกิจ นำแนวทางการจัดเก็บรายได้จากการใช้โครงข่ายอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศของผู้ให้บริการโอทีที (OVERT THE TOP : OTT) จากต่างประเทศ อาทิ เฟซบุ๊ก ยูทูบ ไลน์ เป็นต้น ไปหารือในเวทีการประชุมครั้งนี้ด้วย

ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันหลายประเทศในอาเซียนต่างประสบปัญหาการเข้ามาให้บริการโอทีทีในประเทศ แต่ไม่สามารถจัดเก็บรายได้และไม่สามารถจัดเก็บภาษีในประเทศได้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากการใช้บริการของโอทีทีต่างประเทศนั้น เป็นการโอนเงินค่าใช้จ่ายไปต่างประเทศทั้งหมด

สำหรับหลักการเบื้องต้น การจัดเก็บค่าใช้จ่ายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ อาจจะแบ่งตามปริมาณการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น 1.การใช้งาน 20-50 เทราไบต์ ใช้ฟรี 2.ใช้งานตั้งแต่ 50-100 เทราไบต์ 3. ใช้งานตั้งแต่ 100-200 เทราไบต์ จ่ายเงินค่าใช้ตามอัตราที่ กสทช.กำหนด และ 4. ใช้งานตั้งแต่ 200 เทราไบต์ขึ้นไป จ่ายอัตราก้าวหน้า ส่วนราคาค่าใช้จ่ายจะเป็นเท่าใดนั้น ต้องรอผลการศึกษา และข้อมูลจากผู้ประกอบการอินเตอร์เน็ต และผู้ประกอบการอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศก่อน คาดว่าจะใช้เวลาราว 6-7 เดือน หลังจากนั้น กสทช.ก็ต้องนำมาร่างประกาศกฎเกณฑ์ เพื่อประกาศบังคับใช้ต่อไป

“กสทช.ต้องร่างหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประกาศใช้ คาดว่าจะใช้เวลา 1 ปี ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องศึกษาแนวทางร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ แม้โลกอินเตอร์เน็ตจะเป็นโลกไร้พรมแดน แต่ผมอยากจะให้มองว่า เมื่อต่างประเทศจะเดินทางเข้ามาประเทศ ก็ยังมีค่าวีซ่า ฉะนั้น การนำข้อมูลเข้ามาให้บริการในไทย ก็ควรจ่ายเงินค่าใช้โครงข่ายอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศให้กับผู้ประกอบการไทย และประเทศไทยด้วย เพื่อจะได้นำเงินไปบำรุงรักษาโครงข่าย เพื่อรองรับการบริการที่ดีต่อไป”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ