เปิด 3 มาตรการคุมยา-เวชภัณฑ์ "พาณิชย์" รณรงค์คนไข้รักษาสิทธิ์-อย่ายอมซื้อยาแพง

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เปิด 3 มาตรการคุมยา-เวชภัณฑ์ "พาณิชย์" รณรงค์คนไข้รักษาสิทธิ์-อย่ายอมซื้อยาแพง

Date Time: 28 ม.ค. 2562 09:10 น.

Summary

  • ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการดูแลยาและเวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ ที่มีนายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายในเป็นประธาน

Latest

“พิชัย” เปิดเวทีชวนนักลงทุนเข้าไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการดูแลยาและเวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ ที่มีนายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายในเป็นประธาน และมีกรรมการจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 31 ม.ค.62 ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ จะเสนอมาตรการกำกับดูแล ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้ยาและเวชภัณฑ์ รวมถึงบริการทางการแพทย์ และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นสินค้าและบริการควบคุมประจำปี 62

โดยมี 3 มาตรการหลัก คือ 1.การกระตุ้นให้ผู้บริโภครู้จักสิทธิ์ของตัวเองในเรื่องการซื้อยา 2.การเพิ่มช่องทางการร้องเรียนกรณีที่ผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรม และ 3.การดูแลราคา โดยการกระตุ้นให้ผู้บริโภครู้จักสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเองในการซื้อยา จะรณรงค์ให้ผู้บริโภครู้ว่าการเข้ารักษาที่โรงพยาบาล และหากต้องใช้ยาสามารถร้องขอให้แพทย์เขียนใบสั่งยาเพื่อให้ไปซื้อยาจากภายนอกโรงพยาบาลได้ แต่ผู้ป่วยยังไม่ทราบสิทธิ์ของตนเอง หรือแม้จะทราบแต่ก็ไม่กล้าปฏิเสธแพทย์ ยอมซื้อยาของโรงพยาบาลที่มีราคาแพง ทั้งที่สามารถปฏิเสธได้ และไม่มีกฎหมายใดห้ามไว้ ซึ่งหากรณรงค์ให้ผู้บริโภครู้จักสิทธิ์ของตัวเอง จะทำให้โรงพยาบาลเอกชนไม่กล้าคิดราคายาแพงกว่าปกติ

ส่วนการเพิ่มช่องทางการร้องเรียนนั้น หากผู้บริโภคเข้าไปรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชน รู้สึกว่าต้องจ่ายค่ายา และค่ารักษาสูงเกินจริง สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน โทร.1569 ซึ่งกรมจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบและสั่งให้โรงพยาบาลเอกชนชี้แจงต้นทุนได้ จากเดิมที่ไม่สามารถดำเนินการได้ และหากตรวจสอบแล้วพบว่า ค่ายาและค่ารักษาไม่เหมาะสม จะใช้มาตรการทางกฎหมายดำเนินการกับโรงพยาบาล เอกชนได้ทันที

ขณะเดียวกัน จะมีมาตรการดูแลราคา โดยจะกำหนดให้โรงพยาบาลเอกชนต้องนำเอาราคายา เวชภัณฑ์ และบริการ ทางการแพทย์ ที่คนมักนิยมใช้มากๆ ในเบื้องต้น 1,000 รายการ เผยแพร่บนเว็บไซต์ของโรงพยาบาลแต่ละแห่ง เพื่อให้ประชาชนเปรียบเทียบราคาของแต่ละโรงพยาบาล ก่อนตัดสินใจเข้าไปใช้บริการ.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ