ตั้งอนุกรรมการ กำกับดูแลยา-เวชภัณฑ์-ค่าหมอ คาดนำร่อง 1 พันรายการ

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

ตั้งอนุกรรมการ กำกับดูแลยา-เวชภัณฑ์-ค่าหมอ คาดนำร่อง 1 พันรายการ

Date Time: 23 ม.ค. 2562 19:56 น.

Video

“ไทยรัฐ โลจิสติคส์” ถอดคราบ “ยักษ์เขียว” มุ่งสู่ขนส่งครบวงจร | Thairath Money Talk

Summary

  • “สนธิรัตน์” ตั้งประธานคณะอนุกรรมการ พิจารณามาตรการกำกับดูแลยา-เวชภัณฑ์-บริการทางการแพทย์ หลัง ครม.มีมติให้นำเข้าสู่สินค้าและบริการควบคุมปี 62 คาดนำร่องใช้กับ 1,000 รายการก่อน

Latest


“สนธิรัตน์” ตั้งประธานคณะอนุกรรมการ พิจารณามาตรการกำกับดูแลยา-เวชภัณฑ์-บริการทางการแพทย์ หลัง ครม.มีมติให้นำเข้าสู่สินค้าและบริการควบคุมปี 62 คาดนำร่องใช้กับ 1,000 รายการก่อน...

เมื่อวันที่ 23 ม.ค. นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้มอบหมายให้ นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธานคณะอนุกรรมการ และให้พิจารณาแต่งตั้งตัวแทนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการ เพื่อร่วมกันพิจารณาหามาตรการกำกับดูแลยาและเวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 ม.ค.62 ได้เห็นชอบให้นำยาและเวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ เป็นสินค้าและบริการควบคุม ประจำปี 62 ภายใต้ พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 แต่ได้ให้หลักการไปแล้วว่า มาตรการที่จะนำมาใช้กำกับดูแลนั้นจะต้องเหมาะสม โปร่งใส และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชน

สำหรับองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการ ที่นอกจากจะมีตัวแทนจากกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุขแล้ว ยังจะมีตัวแทนจากสมาคมโรงพยาบาลเอกชน สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เป็นต้น ซึ่งตามหลักการ หากคณะอนุกรรมการ สามารถหาข้อสรุปมาตรการต่างๆ ที่จะนำมาใช้กำกับดูแล้ว จะต้องนำเสนอให้ที่ประชุม กกร.อนุมัติด้วย

“กระทรวงพาณิชย์ จะเร่งดำเนินการและออกมาตรการดูแลให้เร็วที่สุด เพราะเรื่องนี้เป็นความเดือดร้อนของประชาชน จากนี้ไปอธิบดีกรมการค้าภายในจะเร่งแต่งตั้งกรรมการเพื่อประชุมหามาตรการกันต่อไป”

ด้านนายประโยชน์ เพ็ญสุต รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า แนวทางในการกำหนดการดูแลยาและเวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์นั้น คาดว่าในเบื้องต้นอาจนำร่องใช้กำกับดูแลยา เวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์กว่า 1,000 รายการก่อน ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายการเผยแพร่ราคายาที่จำเป็น และค่ารักษาพยาบาลที่ประชาชนมักใช้บริการมากๆ ผ่านทางเว็บไซต์ของโรงพยาบาลเอกชนแต่ละแห่ง จากนั้นจะเพิ่มจำนวนยา เวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์อื่นๆ อีก หากจะพิจารณาทั้งหมดในคราวเดียวกัน ต้องใช้เวลานาน เฉพาะตัวยาก็มีมากกว่า 10,000 รายการแล้ว

"มติ ครม.ที่ออกมานั้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดคือชาวบ้าน ที่จะได้รับความเป็นธรรมในการรักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน เพราะเดิมเคยได้ยินว่าโรงพยาบาลเอกชนเป็นทางเลือก หากใครไม่มีเงินก็ควรเข้าไปใช้บริการโรงพยาบาลรัฐบาล ซึ่งคำพูดนี้ผิดแล้ว เพราะการเข้ารักษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการหนัก คงต้องเน้นโรงพยาบาลที่สะดวกและรวดเร็วเป็นหลัก".


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์