บุกส่งออกจีนเป็นรายมณฑล

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

บุกส่งออกจีนเป็นรายมณฑล

Date Time: 20 ธ.ค. 2561 09:01 น.

Summary

  • น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ได้ศึกษาโอกาสการส่งออกของไทยไปยัง 10 มณฑลและเมืองสำคัญของจีน เพื่อกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การค้าไทย-จีนภายใต้

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย

น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ได้ศึกษาโอกาสการส่งออกของไทยไปยัง 10 มณฑลและเมืองสำคัญของจีน เพื่อกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การค้าไทย-จีนภายใต้ “3 แนวคิด 7 แนวทาง รุกตลาดจีน” โดยตั้งเป้าหมายมูลค่าส่งออกสินค้าไทยไปจีนในปี 2570 ที่ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่มีมูลค่า 29,500 ล้านเหรียญ โดยเห็นควรกำหนดเป็นเป้าหมายทำงานของกระทรวงพาณิชย์ใน 3 มณฑลเพื่อผลักดันการส่งออก ประกอบด้วย กวางตุ้ง ตั้งเป้าหมายมูลค่าส่งออก 31,300-33,000 ล้านเหรียญฯ เซี่ยงไฮ้ 30,600-31,500 ล้านเหรียญ ซานตง 15,400-16,500 ล้านเหรียญ

สำหรับสาเหตุที่ต้องผลักดันการส่งออกไปทั้ง 3 มณฑล เพราะหลังจากที่ สนค.ได้วิเคราะห์การค้าของไทยกับ 10 มณฑล ทั้งกวางตุ้ง เจียงซู เซี่ยงไฮ้ ซานตง เจ้อเจียง ปักกิ่ง เหอหนาน เทียนสิน ฟูเจี้ยน เสฉวน ที่มีมูลค่านำเข้ารวม 84.2% ของการนำเข้าทั้งหมดของจีน และ 91.3% ของการนำเข้าสินค้าจากไทยที่ส่งออกไปจีนทั้งหมด พบว่า มี 3 มณฑลที่ไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง ได้แก่ กวางตุ้งมีมูลค่าการส่งออก 4,200 ล้านเหรียญ เซี่ยงไฮ้ 3,700 ล้านเหรียญซานตง 1,800 ล้านเหรียญ

“หากดูเฉพาะสินค้าเกษตรและอาหาร พบว่า ไทยส่งออกไปกวางตุ้งต่ำกว่าศักยภาพ 304 ล้านเหรียญ เช่น ข้าว ส่งออกได้ เพียง 148 ล้านเหรียญ ไก่แช่เย็น/แช่แข็ง 33 ล้านเหรียญและส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไปเซี่ยงไฮ้ต่ำกว่าศักยภาพ 243 ล้านเหรียญ เช่น มันสำปะหลัง 48 ล้านเหรียญ จึงยังมีโอกาสขยายการส่งออกไปจีนได้อีกเป็นพันล้านเหรียญ”

ขณะที่ยุทธศาสตร์การค้าไทยจีนภายใต้ “3 แนวคิด 7 แนวทาง รุกตลาดจีน” ในส่วนของ 3 แนวคิด คือ การกำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ ได้แก่ กำหนดสินค้าที่มีศักยภาพ โดยคัดเลือกสินค้าจาก 3 กลุ่มอาทิ กลุ่มสินค้าที่ไทยมีความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลกต่ำ ฯลฯ แนวคิดที่ 2 คือ ประสานนโยบายการพัฒนาที่สำคัญของ 2 ประเทศ เช่น นโยบายวันเบลต์วันโรด กับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) แนวคิดที่ 3 คือ ความถนัด ความเชี่ยวชาญของแต่ละมณฑล/เมือง ที่จีนกำหนดเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละเมืองสำคัญไว้แล้ว โดยเฉพาะที่อยู่บนเส้นทางวันเบลต์วันโรด ซึ่งสามารถจับคู่ได้กับบางพื้นที่หรือบางจังหวัดของไทย.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ