ช้ำคือเรา ไฟเขียวขึ้นค่าโดยสาร ขสมก. 1บาท บขส.เพิ่ม10% เริ่ม 21 ม.ค.62

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ช้ำคือเรา ไฟเขียวขึ้นค่าโดยสาร ขสมก. 1บาท บขส.เพิ่ม10% เริ่ม 21 ม.ค.62

Date Time: 14 ธ.ค. 2561 19:50 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • ขนส่งทางบกกลางไฟเขียว “รถเมล์ ขสมก. ร่วม ขสมก. ปรับค่าโดยสาร1 บาท บขส. และรถร่วม บขส.ให้ปรับ 10 % มีผล 21 ม.ค.62 นี้ เปิดช่องหากก่อนวันจริง รัฐบาลปิ๊ง! มาตรการเยียวยาได้ก็พร้อมล้มกระดาน...

Latest


คนไทยร้องจ๊าก! หลังขนส่งทางบกกลางไฟเขียว “รถเมล์ ขสมก., ร่วม ขสมก. ปรับค่าโดยสาร 1 บาท บขส. และรถร่วม บขส.ให้ปรับ 10% มีผล 21 ม.ค.นี้ แจงปากคอสั่นเหตุต้องขึ้นเพราะรถเมล์หยุดวิ่ง-เลิกกิจการเพียบ พร้อมเปิดช่องกันคนด่า หากก่อนวันจริง รัฐบาลปิ๊ง! มาตรการเยียวยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ ก็พร้อมล้มกระดานไม่ให้ค่าโดยสาร 

เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2561 นายพีระพล ถาวรสุขเจริญ อธิบดีกรมขนส่งทางบก ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เปิดเผยผลการประชุมวันนี้ว่า จากการพิจารณาภาระของผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะ ตั้งแต่หมวด 1 - 4 ที่ให้บริการทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างกรุงเทพมหานครกับต่างจังหวัด ผู้ประกอบการทั้งหมดต่างมีภาระต้นทุนสูงขึ้น เริ่มจากรถที่วิ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครในส่วนของผู้ประกอบการรถร่วมบริการขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ขสมก. ซึ่งที่ผ่านมามีภาระจากการลอยตัวค่าก๊าซ เอ็นจีวี ซึ่งแม้ว่าภาครัฐจะมีการช่วยชดเชยค่าก๊าซให้ แต่ก็ไม่ครอบคลุมต้นทุน ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำนวนมากที่ต้องเดินรถในช่วงการจราจรติดขัด ต้องประสบปัญหาขาดทุน มีการหยุดวิ่งให้บริการไปแล้วประมาณ 500 คัน จากรถร่วมบริการทั้งหมดในระบบกว่า 3,000 คัน

ดังนั้น คณะกรรมการเห็นถึงความจำเป็นต้องอนุมัติให้ปรับขึ้นค่าโดยสารสำหรับรถร้อน ทั้งขสมก. และรถร่วมบริการ 1 บาท ส่วนรถปรับอากาศก็ให้ปรับขึ้นระยะละ 1 บาทด้วย โดยรถเมล์ร้อนจากเดิม 9 บาท เป็น 10 บาท และรถเมล์ ขสมก. จากเดิม 6.50 บาท เป็นไม่เกิน 10 บาท ส่วนรถปรับอากาศเพิ่มระยะละ 1 บาท จากเดิม 11-23 บาทต่อเที่ยว เป็น 12-24 บาทต่อเที่ยว ขณะที่รถร่วม บขส. ให้ปรับราคาขึ้นไม่เกิน 10% แบ่งเป็น 4 ช่วง ประกอบด้วย ระยะทาง 40 กิโลเมตร (กม.) แรก เดิม 0.49 บาทต่อ กม. เป็น 0.53 บาทต่อ กม., 40-100 กม. เดิม 0.44 บาทต่อกม. เป็น 0.48 บาทต่อกม., 100-200 กม. เดิม 0.40 บาทต่อกม. เป็น 0.44 บาทต่อกม. และเกิน 200 กม. เดิม 0.36 บาทต่อกม. เป็น 0.39 บาทต่อกม.

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติปรับอัตราค่าโดยสารสำหรับรถเมล์ปรับอากาศใหม่ อาทิ รถเมล์เอ็นจีวี จากเดิมเก็บในอัตรา 11-23 บาทต่อเที่ยว เป็น 4 กม.แรก 15 บาท, 10-16 กม. 20 บาท และ 16 กม.ขึ้นไป 25 บาท ส่วนรถเมล์ร้อนที่เป็นรถใหม่ สามารถเก็บอัตราค่าโดยสารได้ในราคา 12 บาท โดยรถเมล์ใหม่ทั้งรถร้อน และรถปรับอากาศที่จะเก็บค่าโดยสารในอัตรานี้ได้ต้องเป็นรถที่ติดอุปกรณ์ส่วนควบตามเงื่อนไขที่ ขบ.กำหนด อาทิ ติดจีพีเอส, กล้องซีซีทีวี, อุปกรณ์ความปลอดภัย และติดตั้งระบบอีทิคเก็ต เป็นต้น ทั้งนี้การปรับขึ้นราคาในอัตราใหม่ทั้งหมดนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ม.ค.62 เป็นต้นไป

ส่วนกรณีรถที่มีการจัดซื้อมาของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมแผนการปฏิรูป มีการซื้อรถที่อายุไม่ถึง 2 ปี มีการติดตั้งระบบ E-Ticket และ GPS รถดังกล่าวให้ปรับราคา โดยในส่วนของรถร้อน ค่าโดยสาร 12 บาท ส่วนรถปรับอากาศ 4 กิโลเมตรแรก คิดอัตราค่าโดยสาร 15 บาท ระยะหลังจากนั้นให้จัดเก็บ 25 ตลอดสาย

นอกจากนี้ คณะกรรมการได้พิจารณาให้ปรับราคารถ บขส. และรถร่วมบริการ บขส. ซึ่งที่ผ่านมา มีภาระจากการใช้เชื้อเพลิง น้ำมันดีเซล ที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และเมื่อมีการจ้างให้ TDRI ศึกษา ก็ได้มีการนำเสนอข้อมูลว่า รถหมวดดังกล่าวจำเป็นต้องมีการปรับค่าโดยสารขึ้นอีก 30 % อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เป็นภาระกับประชาชนมากเกินไป คณะกรรมการได้อนุมัติให้รถในหมวดดังกล่าวปรับราคาขึ้น 10% โดยให้มีผล 21 มกราคม 62 เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะถึงวันที่ 21 มกราคม 62 หากรัฐบาลมีความเห็นว่า สามารถเพิ่มมาตรการเยียวยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ หรือประชาชนที่ใช้รถโดยสารสาธารณะเหล่านี้ คณะกรรมการก็พร้อมทบทวนพิจารณามติดังกล่าว

สาเหตุที่ต้องปรับค่าโดยสารขึ้น เพราะที่ผ่านไม่ได้มีการปรับอัตราค่าโดยสารให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันที่ต้นทุนสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการรถโดยสารได้รับผลกระทบถึงขั้นหยุดวิ่ง และเลิกกิจการออกนอกระบบการให้บริการไปแล้ว 565 คัน จากทั้งหมด 3,712 คัน คิดเป็นประมาณ 18% ขณะเดียวกันยังมีรถเมล์บางส่วนที่หยุดวิ่งให้บริการโดยไม่แจ้งอีกกว่า 1,000 คัน ทำให้เกิดผลกระทบกับประชาชนต้องรอรถเมล์เป็นเวลานาน และต้องไปใช้ระบบขนส่งมวลชนโหมดการเดินทางอื่นที่มีราคาสูงขึ้น ดังนั้นเพื่อไม่ให้ผลกระทบเกิดขึ้นกับทั้งสองฝ่าย จึงจำเป็นต้องปรับราคาขึ้น เพราะหากไม่ปรับอาจมีรถเมล์ออกจากระบบการให้บริการอีกจำนวนมาก


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ