หนีตาย “จักรกลอัจฉริยะ” ทำงานแทน

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

หนีตาย “จักรกลอัจฉริยะ” ทำงานแทน

Date Time: 2 พ.ย. 2561 09:30 น.

Summary

  • นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สายงาน Global Business Development and Strategy ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

Latest

ผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ ย้ำชัด ไทยไม่ลด "ดอกเบี้ย" ตามเฟด ชี้ "บาทแข็งค่า" ไม่ทุบทิศทางส่งออกไทย


ไล่ “พนักงานประจำ” ลาออกไปเรียนต่อ-เพิ่มทักษะ

นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สายงาน Global Business Development and Strategy ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจกรุงไทย (Krungthai Macro Research) ได้ออกบทวิจัยเรื่อง Automation และการปรับตัวของมนุษย์เงินเดือนชาว Millennials หรือผู้ที่เกิดช่วงปี 2523-2540 โดย Automation หรือการนำเทคโนโลยี หรือเครื่องกลอัจฉริยะมาทำให้การทำงานมากขึ้นจะมีผลกระทบต่อความก้าวหน้าในอาชีพการงานบางประเภท โดยเฉพาะงานประจำ และจะมีผลต่อการเติบโตของรายได้และความเป็นอยู่ในอนาคต โดยผลสำรวจของ World Economic Forum ในปี 2561 พบว่า 50% ของบริษัทกลุ่มตัวอย่างจากทั่วโลก คาดว่า Automation จะกระทบการจ้างงานแบบเต็มเวลาภายในปี 2565 ซึ่งขณะนี้บริษัทขนาดใหญ่ของไทยต่างก็มีแผนจะนำ Automation มาใช้งานเพิ่มมากขึ้น แม้ไม่มีการเลิกจ้างพนักงาน แต่เตรียมปรับโครงสร้างองค์กร

“เหตุผลที่เจาะกลุ่มคนอายุ 31-34 ปี ที่ทำงานออฟฟิศ และทำงานประจำ เพราะเป็นวัยทำงานที่จะอยู่ในตลาดแรงงานในช่วง 20 ปีข้างหน้า ซึ่งจะมีการนำ Automation มาใช้ทำงานเพิ่มขึ้น งานวิจัยมองว่า หากคนกลุ่มนี้มีเงินเก็บก้อนหนึ่งควรลงทุนด้วยการลาออกไปศึกษาต่อ หรือฝึกอบรมทักษะเพิ่มเติม เพื่อเปลี่ยนการทำงานจากประจำ หรือรับจ้างทำงาน มาเป็นงานประเภทใช้ความคิดสร้างสรรค์หรืองานบริหาร จะได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 50%”

หากคนกลุ่มนี้ยังทำงานประจำเหมือนเดิม เงินเดือนที่ได้รับจะอยู่ที่เฉลี่ย 33,041 บาท และเมื่ออายุ 59 ปี จะได้รับเงินเดือน 94,534 บาท แต่หากลาออกจากงาน 2 ปี เพื่อกลับไปเรียนต่อ เงินเดือนที่หายไปบวกกับเสียค่าเล่าเรียน 200,000 บาท เมื่อเรียนจบกลับมาและทำงานใช้ความคิดสร้างสรรค์ จะมีรายได้เดือนละ 47,000 บาท และเมื่ออายุ 59 ปี เงินได้จะอยู่ที่ 172,709 บาท ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า นอกจากนั้น การทำงานแบบเดิมยังส่งผลให้อัตราการเติบโตของรายได้น้อยลงตามความต้องการทักษะที่ลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อเงินออมในช่วงวัยทำงาน และในช่วงหลังเกษียณ โดยการเติบโตของรายได้ที่ลดลง 1% อาจต้องทดแทนด้วยการออมที่เพิ่มขึ้นถึง 4% ของรายได้ เพื่อให้มีเงินใช้หลังเกษียณเท่าเดิม.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ