เฮ! ลั่น มะกันเว้นภาษีเหล็กไทย 5 แสนตัน หลังใช้มาตรา 232

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เฮ! ลั่น มะกันเว้นภาษีเหล็กไทย 5 แสนตัน หลังใช้มาตรา 232

Date Time: 12 ต.ค. 2561 17:55 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • สหรัฐฯ เว้นภาษีเหล็กไทย 5 แสนตัน ทำส่งออกเหล็กไปตลาดสหรัฐฯ แทบไม่ได้รับผลกระทบ หลังใช้มาตรา 232 ขึ้นภาษีนำเข้า เหตุปริมาณส่งออกใกล้เคียงกับช่วงก่อนใช้มาตรการ

Latest


สหรัฐฯ เว้นภาษีเหล็กไทย 5 แสนตัน ทำส่งออกเหล็กไปตลาดสหรัฐฯ แทบไม่ได้รับผลกระทบ หลังใช้มาตรา 232 ขึ้นภาษีนำเข้า เหตุปริมาณส่งออกใกล้เคียงกับช่วงก่อนใช้มาตรการ

เมื่อวันที่ 12 ต.ค. นายอดุลย์ โชตินิสากรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบผลกระทบกรณีที่สหรัฐฯ ใช้มาตรา 232 ขึ้นภาษีสินค้าเหล็กและอะลูมิเนียมทั่วโลกในอัตรา 25% และ 10% ตามลำดับนั้น พบว่า การส่งออกเหล็กไทยไปตลาดสหรัฐฯ ยังไม่ได้รับผลกระทบจากการใช้มาตรา 232 เพราะผู้ส่งออกไทยได้ประสานผู้นำเข้าเหล็กจากสหรัฐฯ ขอยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าในอัตราดังกล่าวจากสหรัฐฯ และตั้งแต่เดือนเม.ย.61 ที่สหรัฐฯ ใช้มาตรา 232 จนถึงปัจจุบันมีเหล็กไทยได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าแล้ว 500,000 ตัน เป็นอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่นที่ได้รับการยกเว้นภาษีเหล็กมากสุด 550,000 ตัน

“ถือเป็นความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างกรมฯ และผู้ส่งออกเหล็กของไทย ที่ทำงานร่วมกันในการประสานผู้นำเข้าเหล็กจากสหรัฐฯ ขอยกเว้นภาษีเหล็กเป็นรายบริษัทและรายชิปเมนท์ จนทำให้เหล็กไทยที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าคิดเป็นปริมาณ 500,000 ตัน ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกที่ใช้ทำกระป๋อง เครื่องครัว กระทะ เป็นต้น แสดงให้เห็นว่าเหล็กที่ไทยผลิตได้มีความจำเป็นและเป็นที่ต้องการของตลาดสหรัฐฯ” นายอดุลย์ กล่าว

สำหรับสถิติการส่งออกเหล็กของไทยไปตลาดสหรัฐฯ ปี 61 พบว่า ช่วงก่อนที่สหรัฐฯ ประกาศใช้มาตรา 232 โดยเดือนม.ค.ไทยส่งออกเหล็กไปสหรัฐฯ ปริมาณ 38,400 ตัน มูลค่า 1,006 ล้านบาท เดือนก.พ. 16,700 ตัน มูลค่า 529 ล้านบาท เดือนมี.ค. 23,00 ตัน มูลค่า 573 ล้านบาท เดือนเม.ย. 23,500 ตัน มูลค่า 623 ล้านบาท ส่วนการส่งออกในเดือนพ.ค.-ส.ค. ซึ่งเป็นช่วงหลังจากสหรัฐฯ ประกาศใช้มาตรา 232 แล้ว พบว่าเดือนพ.ค.ไทยส่งออกเหล็กไปสหรัฐฯ 14,600 ตัน มูลค่า 413 ล้านบาท เดือน มิ.ย. 41,600 ตัน มูลค่า 1,127 ล้านบาท เดือนก.ค. 21,200 ตัน มูลค่า 624 ล้านบาท และเดือนส.ค. 23,600 ตัน มูลค่า 761 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังได้ติดตามผลกระทบจากกรณีที่เหล็กส่วนเกินในตลาดโลกจะไหลเข้ามาในอาเซียนรวมทั้งไทยตามนโยบายของนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ โดยเฉพาะเหล็กและอะลูมิเนียมจากจีนที่ถูกสหรัฐฯ ใช้มาตรา 232 โดยกรมฯ ได้ประสานการทำงานร่วมกับศุลกากรของสหรัฐฯ ในการตรวจสอบเหล็กที่อาจถูกสวมสิทธิ์แหล่งกำเนิดสินค้าจากไทยส่งออกไปสหรัฐฯ อย่างเข้มงวด รวมทั้งมีมาตรการกรณีหากมีเหล็กไหลทะลักเข้ามาในไทยจำนวนมาก สามารถเปิดไต่สวนเพื่อใช้มาตรการเยียวยาทางการค้าได้ เช่น มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (เอดี/ซีวีดี) เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบสถิติที่ต่างประเทศใช้มาตรการกีดกันทางการค้ากับสินค้าไทยในช่วง 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) ปี 61 พบว่าสินค้าของไทยถูกใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) 10 รายการ เป็นกลุ่มสินค้าเคมีภัณฑ์ 7 รายการ และกลุ่มเหล็ก 3 รายการ จาก 8 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินเดีย ออสเตรเลีย สหรัฐฯ บราซิล เกาหลีใต้ จีน และปากีสถาน, ใช้มาตรการปกป้องจากการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (เซฟการ์ด) 2 รายการ จากสหรัฐฯ 

ขณะที่ไทยมีการใช้มาตรการเอดีกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศรวม 13 รายการ กลุ่มสินค้าที่ถูกใช้มาตรการมากที่สุด คือ เหล็ก 12 รายการ และกลุ่มเคมีภัณฑ์ 1 รายการ จาก 20 ประเทศ โดยประเทศที่ถูกใช้มาตรการมากที่สุด คือ จีน 12 รายการ รองลงมา คือ เกาหลีใต้ 6 รายการ และไทยมีการใช้เซฟการ์ด กับสินค้านำเข้า 3 รายการ ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนเจืออื่นๆ ชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน, เหล็กแผ่นรีดร้อนไม่เจือชนิดเป็นม้วนและไม่เป็นม้วน และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนเจืออัลลอยหน้าตัดรูปตัว H.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ