เกษตรกรตราด ปลื้ม ได้งบชุมชนละ 3 แสน พัฒนาอาชีพ แก้ผลไม้ราคาตก

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เกษตรกรตราด ปลื้ม ได้งบชุมชนละ 3 แสน พัฒนาอาชีพ แก้ผลไม้ราคาตก

Date Time: 2 ก.ย. 2561 16:03 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • เกษตรกรรายย่อย จ.ตราด ได้งบพัฒนาอาชีพชุมชนละไม่เกิน 3 แสน ครบแล้ว 46 ชุมชน ด้านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ยิ้ม ได้ประโยชน์มหาศาล และยังช่วยแก้ราคาผลไม้ตกต่ำ วอนภาครัฐทำต่อเนื่องทุกปี

Latest


เกษตรกรรายย่อย จ.ตราด ได้งบพัฒนาอาชีพชุมชนละไม่เกิน 3 แสน ครบแล้ว 46 ชุมชน ด้านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ยิ้ม ได้ประโยชน์มหาศาล และยังช่วยแก้ราคาผลไม้ตกต่ำ วอนภาครัฐทำต่อเนื่องทุกปี...

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการเสริมสร้างรายได้เกษตรกรรายย่อย รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลชุมชนละไม่เกิน 300,000 บาท ว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด เป็นหน่วยงานหลักดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ ซึ่งได้จัดการอบรมเสริมทักษะอาชีพเกษตรกรตามกิจกรรมที่ 1 เสร็จเรียบร้อยตามแผนงานตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างดำเนินงานตามกิจกรรมที่ 2 คือ การพัฒนากลุ่มเกษตรกร โดยมีเกษตรกรรวมกลุ่มกันเสนอโครงการและผ่านการพิจารณาอนุมัติตามกระบวนการทั้งสิ้น 99 โครงการ จาก 46 ชุมชน รวมงบประมาณ 12,774,132 บาท ซึ่งสำนักงานเกษตรจังหวัดตราดได้โอนงบประมาณให้เกษตรกรกลุ่มต่างๆ จนครบหมดทั้ง 99 โครงการแล้ว โดยขณะนี้อยู่ในช่วงที่เกษตรกรทุกกลุ่มต้องไปขับเคลื่อนตามแผนงานโครงการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

นางเทียมจิต อนุกูลวงษ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลไม้ตามฤดูกาลบ้านดงกลาง ต.เขาสมิง อ.เขาสมิง จ.ตราด กล่าวว่า วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลไม้ตามฤดูกาลบ้านดงกลาง เกิดขึ้นภายใต้ “โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน” ที่ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ขับเคลื่อนเมื่อปี 2560 โดยมีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมผลผลิต เช่น สับปะรด กล้วย มังคุด มาแปรรูปจำหน่ายเพิ่มมูลค่าและลดผลกระทบจากปัญหาผลผลิตล้นตลาดจนราคาตกต่ำ ดังนั้นการขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย จึงเป็นโอกาสดีที่กลุ่มจะได้รับการต่อยอดพัฒนาทักษะความรู้ให้เกิดความเข้มแข็ง โดยกลุ่มได้ส่งสมาชิกเข้าร่วมอบรมทักษะอาชีพถึง 50 คน รวมทั้งได้เสนอโครงการและได้รับอนุมัติงบประมาณจำนวน 100,000 บาท สำหรับจัดซื้อตู้อบร้อนและวัถุดิบอื่นๆ เช่น สับปะรด กล้วย มังคุด เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ หนุนเสริมความเข้มแข็งของกลุ่ม ให้สามารถช่วยเหลือดูแลสมาชิกได้อย่างยั่งยืนต่อไป

“โครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย เป็นโครงการที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกร ทั้งในเรื่องการสร้างงาน สร้างรายได้ และยังสามารถช่วยลดผลกระทบจากปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ เนื่องจากผลผลิตล้นตลาดไปได้พร้อมๆ กัน เพราะกลุ่มจะเป็นผู้รับซื้อผลไม้จากเกษตรกรในราคาที่เป็นธรรม ก่อนนำไปแกะแล้วแช่แข็งเก็บไว้รอนำออกมาแปรรูปในโอกาสต่อไป ซึ่งต้องขอขอบคุณรัฐบาลที่ได้คิดโครงการดีๆ เช่นนี้ขึ้นมา และอนาคตก็อยากมีการขับเคลื่อนโครงการลักษณะนี้อีก เพื่อสร้างโอกาสให้กับชุมชนและเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง” นางเทียมจิต กล่าว.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ