ตลาดหลักยุโรป-ญี่ปุ่นฉลุย ดันส่งออกไทยโตต่อเนื่องเดือนที่ 17

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ตลาดหลักยุโรป-ญี่ปุ่นฉลุย ดันส่งออกไทยโตต่อเนื่องเดือนที่ 17

Date Time: 22 ส.ค. 2561 14:26 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • ส่งออกไทยโตต่อเนื่องเดือนที่ 17 ตลาดหลักทั้งยุโรป-ญี่ปุ่นยังฉลุย ยกเว้นสหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อย พาณิชย์ ชี้บาทอ่อน ส่งผลดี ยังหวั่นความผันผวนตลาดเงิน-ทุน แนะผู้ส่งออกทำประกันความเสี่ยงรองรับ

Latest


ส่งออกไทยโตต่อเนื่องเดือนที่ 17 ตลาดหลักทั้งยุโรป-ญี่ปุ่นยังฉลุย ยกเว้นสหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อย พาณิชย์ ชี้บาทอ่อน ส่งผลดี ยังหวั่นความผันผวนตลาดเงิน-ทุน แนะผู้ส่งออกทำประกันความเสี่ยงรองรับ...

เมื่อวันที่ 22 ส.ค. นางสุรีย์พร สหวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือน ก.ค.61 มีมูลค่า 20,423 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 8.27% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 20,940 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 10.53% ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุล 516 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการส่งออกในช่วง 7 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ค.61) มีมูลค่า 146,235 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 10.57% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 143,296 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 14.84% ส่งผลให้ดุลการค้า 7 เดือนแรกปี 61 เกินดุล 2,939 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ทั้งนี้การส่งออกไปยังตลาดหลักส่วนใหญ่ยังขยายตัวได้ดี ทั้งตลาดสหภาพยุโรป ที่ขยายตัวได้ 9% และตลาดญี่ปุ่น ที่ขยายตัวได้ 11.7% มีเพียงตลาดสหรัฐอเมริกา ที่ลดลงเล็กน้อยที่ 1.9% ซึ่งถือว่าเป็นการส่งออกที่ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 21 เดือน โดยสินค้าสำคัญที่การส่งออกไปสหรัฐฯ ลดลง เช่น โทรทัศน์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ส่วนสินค้ากุ้ง เป็นผลจากการขาดแคลนวัตถุดิบ ขณะที่สินค้าแผงโซลาร์เซลล์, เครื่องซักผ้า และเหล็ก เป็นผลมาจากการที่สหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากทุกประเทศ ส่วนสินค้าคอมพิวเตอร์ และฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ เป็นการส่งออกที่ลดลงชั่วคราว ทั้งนี้มีแนวโน้มจะกลับมาผลิตและส่งออกได้เพิ่มขึ้นในระยะถัดไป เนื่องจากผู้ประกอบการจะย้ายฐานการผลิตจากมาเลเซียกลับมายังประเทศไทย

สำหรับการส่งออกสินค้าในกลุ่มต่างๆ นั้น พบว่าสินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมขยายตัว 7.7% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 โดยสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ, เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่สินค้ากลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว 3.2% โดยสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ น้ำตาลทราย, ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป, ทูน่ากระป๋อง และเครื่องดื่ม เป็นต้น
ซึ่งผลจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ยังไม่กระทบต่อการส่งออกของไทยมากนัก เพราะโดยรวมแล้วการส่งออกไทยไปยังสหรัฐฯ ยังเติบโตได้ดี และขยายตัวได้มากกว่า 1 หลัก

อย่างไรก็ตามแนวโน้มการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้จะยังขยายตัวได้ดีสอดคล้องกับเศรษฐกิจโลก แม้จะมีความผันผวนจากปัจจัยชั่วคราว เช่น ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้า ความผันผวนของตลาดการเงิน ตลาดทุนโดยเฉพาะกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ซึ่งอาจกระทบกับอัตราแลกเปลี่ยน และการส่งออกของไทยบ้าง แต่ประเทศไทยได้กระจายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ และมีศักยภาพในการขยายตลาดมากขึ้นในอนาคต จะช่วยลดทอนความเสี่ยงและผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าวได้ และสนับสนุนให้การส่งออกไทยในปีนี้ขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 8% อย่างแน่นอน

ส่วนสถานการณ์เงินบาทที่อ่อนค่าลง เป็นโอกาสดีต่อผู้ส่งออกในการเร่งผลักดันการส่งออกสินค้า และทำให้รายได้การส่งออกในรูปเงินบาทสูงขึ้น แต่ผู้ส่งออกควรทำประกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและสถานการณ์ทางการค้าด้วยเช่นกัน โดยขณะนี้ยังคงยืนยันเป้าหมายเดิมไปก่อนที่ 8% แม้หลายหน่วยงานจะปรับเพิ่มขึ้นไปแล้ว โดยเดือน ต.ค.61 คาดว่าจะมีการทบทวนเป้าหมายการส่งออกอีกครั้งในการประชุมทูตพาณิชย์ เชื่อว่าจะใกล้เคียงกับที่กำหนดไว้ เพราะผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นว่าการส่งออกมีแนวโน้มเติบโตได้ดี.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ