เปิดเทรนด์อาหารปี 2018 เหตุใด.. คนยุคใหม่หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

Economics

Thailand Econ

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

เปิดเทรนด์อาหารปี 2018 เหตุใด.. คนยุคใหม่หันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

Date Time: 1 ส.ค. 2560 05:30 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • ตามใจปาก ลำบากสุขภาพ.. ยิ่งเฉพาะปัจจุบันที่มีอาหารหลากหลายประเภทให้เลือกทาน อาหารเปรียบเหมือนแฟชั่น มักเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ฉะนั้นการเลือกสรรอาหารเพื่อสุขภาพที่ยืนยาว นับเป็นสิ่งสำคัญที่คนรุ่นใหม่สนใจ..

Latest


ตามใจปาก ลำบากสุขภาพ.. ยิ่งเฉพาะปัจจุบันที่มีอาหารหลากหลายประเภทให้เลือกทาน อาหารเปรียบเหมือนแฟชั่น มักเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ฉะนั้นการเลือกสรรอาหารเพื่อสุขภาพที่ยืนยาว นับเป็นสิ่งสำคัญที่คนรุ่นใหม่สนใจ..

เมื่อเวลาหมุน สังคมก็หมุนเปลี่ยนตามเวลา ฉะนั้นการบริโภคของคนในยุคปัจจุบัน จึงหันมาสนใจในเรื่องร่างกาย เพื่อจะได้มีสุขภาพดีและอายุยืนยาว รวมทั้งคนยุคใหม่ที่ใส่ใจรายละเอียดคุณภาพอาหารมากขึ้น นอกจากนี้ ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) เผยถึง เทรนด์อาหาร 2018 ดังนี้..

1. GOODBYE CHEMICALS, HELLO NATURAL ปัจจุบันผู้บริโภคยอมจ่ายเงินให้กับผลิตภัณฑ์คุณภาพดี โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ระดับกลาง จะพิจารณาซื้อสินค้าจากคุณภาพมากกว่าราคา ผลสำรวจพบกว่า 89% ของผู้บริโภค ต้องการซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ ทำให้อนาคตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่จะออกมาใหม่นั้น จะมุ่งไปยังการนำส่วนผสมจากพืชพรรณธรรมชาติมาใช้ เช่น โปรตีนจากพืช สีผสมอาหารจากพืชผักผลไม้ ที่ให้ทั้งสีสัน คุณค่าอาหารที่จะช่วยดูแลสุขภาพ

2. Localisation สินค้าท้องถิ่นจะเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมอาหาร ความเป็นพื้นบ้าน สื่อสารได้ถึงเรื่องราว รวมถึงความสดใหม่จากธรรมชาติ ใช้กำลังการผลิตในครอบครัว ส่งจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคโดยตรง และมีสตอรี่เล่าเรื่องที่น่าสนใจ 

3. Transparency ผู้บริโภคเริ่มมองหาความโปร่งใส จริงใจ ผู้ผลิตจำเป็นต้องสื่อสารถึง เพราะผู้บริโภคต้องการข้อมูลของผลิตภัณฑ์ในทุกแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นส่วนผสมและสารประกอบที่สำคัญอย่างตรงไปตรงมา แหล่งผลิต กระบวนการเพาะปลูก ราคาที่ชัดเจน การรับประกันสุขภาพ ไปจนถึงผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ กระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานและความสะอาด จะเป็นปัจจัยที่ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยการผลิตที่มาตรฐานนี้เติบโตต่อเนื่องทุกปี โดยกลุ่มประเทศละตินอเมริกาเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกว่า 30% ออสเตรเลียกว่า 29% อเมริกาเหนือกว่า 17% แอฟริกากว่า 21% ยุโรปตะวันตกกว่า 19% ยุโรปตะวันออก และเอเชียกว่า 10% โดยกลุ่มที่เติบโตสุดในเอเชีย คือ อาหารที่ไม่ใส่สารปรุงแต่ง ที่เติบโตถึง 11% ในปี 2016

4. Blurred line between food and drugs ยา อาหาร และอาหารเสริม เพราะยุคปัจจุบัน มีนวัตกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่ให้คุณค่าทางโภชนาการ และยังใส่ส่วนผสมที่บำรุง ป้องกัน ตลอดจนรักษาโรคบางชนิดกันเลยทีเดียว โดยเฉพาะในอนาคตลักษณะโครงสร้างทางสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมแห่งผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โลกจะทวีความต้องการอาหารเพื่อสุขภาพ  

5. Sweeter Balance แม้ว่าน้ำตาลเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับสุขภาพที่ดี แต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงต้องการรสชาติที่คุ้นเคย จึงเป็นประเด็นสำคัญที่อุตสาหกรรมอาหารให้ความใส่ใจ จนมีตัวเลือกเป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหญ้าหวาน เด็กซ์โตรส หรืออื่นๆ ซึ่งจุดประสงค์หลักคือลดความแปรปรวนของระดับน้ำตาลในร่างกาย ให้สมดุลมากยิ่งขึ้น

6. Seed of Change ผู้บริโภคสนใจในเมล็ดต่างๆ อย่างเมล็ดเจียและควินัวนั้น กลายเป็นใบเบิกทางให้แก่เมล็ดพันธุ์อื่นๆ นำมาซึ่งรสชาติ สัมผัส ของธรรมชาติที่หลากหลาย ให้ประโยชน์ต่อร่างกายและมีโปรตีนสูง ทำให้บริษัทต่างๆ วิจัยพัฒนาและมองหาเมล็ดพันธุ์อื่นเข้าสู่ตลาด นำมาต่อยอดในรูปแบบต่างๆ เช่นการสกัดเป็นน้ำมันหรือเป็นผง

7. สุขภาพที่ลงตัว หลายปีที่ผ่านมาผู้บริโภคมักเลือกสรรนมไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย แต่ปัจจุบันผู้บริโภคหันมาเลือกอาหารและเครื่องดื่มที่ให้คุณค่าทางโภชนาการ ให้พลังงานอย่างเต็มที่แทนอาหารไขมันต่ำแบบเดิม อย่างอาหารในกลุ่ม low FODMAPs เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดกรดและแก๊สต่างๆ รวมถึงผู้บริโภคยังต้องการอาหารที่ออกแบบมาเพื่อดูแลสุขภาพผู้บริโภคแต่ละประเภท เช่น อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหากระดูกข้อต่อ

8. Smart Packaging นับเป็นเรื่องสำคัญในปัจจุบัน สำหรับแพ็กเกจจิ้ง ที่ต้องออกแบบให้สวยงามดึงดูดผู้บริโภค รวมทั้งสื่อสารคุณสมบัติของอาหาร สะดวกและคุ้มค่าในการจัดส่ง นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ยังทำหน้าที่ บอกช่วงเวลาสำหรับการทานอาหารนั้น โดย Smart Packaging เป็นเป้าหมายสำคัญของวงการอาหารทั่วโลก ทำให้การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สามารถบอกช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับรับประทาน หรือวันหมดอายุได้

อย่างไรก็ตาม เมื่อดูจากเทรนด์อาหาร 2018 จะเห็นได้ว่าคนยุคใหม่หันมาสนใจสุขภาพมากขึ้น รวมถึงประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจำนวนประชากรของไทยอีก 5 ปี จะมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นในระดับ 18 % โดยเฉพาะสังคมจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมแห่งผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ฉะนั้นอาหารเพื่อสุขภาพจะเป็นที่ต้องการในตลาดมากขึ้น.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์