Whoscall เปิดสถิติหลอกลวงทางโทรศัพท์ทะลุ 168 ล้านครั้ง สูงสุดในรอบ 5 ปี

Business & Marketing

Marketing & Trends

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

Whoscall เปิดสถิติหลอกลวงทางโทรศัพท์ทะลุ 168 ล้านครั้ง สูงสุดในรอบ 5 ปี

Date Time: 25 ก.พ. 2568 10:48 น.

Video

โลกร้อน ทำคนจนกว่าที่คิด "คาร์บอนเครดิต" โอกาสในเศรษฐกิจโลกใหม่

Summary

  • Whoscall ประกาศรายงานประจำปี 2567 และพบว่ามีสายโทรศัพท์และข้อความ (SMS) หลอกลวงในประเทศไทยสูงถึง 168 ล้านครั้ง ซึ่งเป็นยอดที่เพิ่มขึ้นกว่า 112% จากปี 2566 และตัวเลขของปี 2567 ถือเป็นยอดที่มีการหลอกลวงสูงสุดในรอบ 5 ปี โดยจำแนกออกเป็นการโทรหลอกลวงเพิ่มขึ้นเป็น 38 ล้านครั้ง จาก 20.8 ล้าน ขณะที่จำนวนข้อความ SMS หลอกลวงพุ่งสูงถึงเกือบ 130 ล้านครั้ง จาก 58.3 ล้านครั้งในปี ก่อนหน้า เพราะปัจจุบันมิจฉาชีพได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการหลอกลวงอย่างแพร่หลาย ทำให้กลโกงมีความซับซ้อนมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีก

บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Whoscall ได้เปิดเผยรายงานประจำปี 2567 ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนสายของมิจฉาชีพทางโทรศัพท์และข้อความ SMS โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนไทยตระหนักถึงภัยกลโกงใกล้ตัว และลดความเสี่ยงที่จะถูกหลอกสูญเงินให้มิจฉาชีพ

แมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย เปิดเผยว่า "ในปี 2567 เราสามารถระบุสายโทรศัพท์และข้อความหลอกลวงได้สูงสุดในรอบ 5 ปี ถึง 168 ล้านครั้ง เพราะปัจจุบันมิจฉาชีพได้นำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการหลอกลวงอย่างแพร่หลาย ทำให้กลโกงมีความซับซ้อนมากขึ้น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง" ซึ่งปัจจุบันไม่เพียงแค่เราต้องปรับตัวให้ตามทันเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังต้องรู้ให้ทันกลโกงของมิจฉาชีพอีกด้วย

ยอดหลอกลวงผ่านสายโทรศัพท์และ SMS  พุ่งสูงสุดในรอบ 5 ปี

จากรายงานพบว่า ในปี 2567 Whoscall ตรวจพบสายโทรศัพท์และข้อความ (SMS) หลอกลวงสูงถึง 168 ล้านครั้ง ยอดเพิ่มขึ้นกว่า 112% เมื่อเทียบกับปี 2566 ที่มียอดสถิติอยู่ที่ 79.2 ล้านครั้ง ซึ่งตัวเลขของปี 2567 ถือเป็นยอดที่มีการหลอกลวงสูงสุดในรอบ 5 ปีของประเทศไทย

ในส่วนของการโทรหลอกลวงประกอบด้วย โทรหลอกขายของ, แอบอ้างเป็นบริษัทหรือองค์กรต่างๆ, หลอกทวงเงิน หลอกว่าเป็นหนี้ รวมถึงหลอกว่ามีเงินกู้อนุมัติง่าย โดยการโทรหลอกนั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 38 ล้านครั้ง จาก 20.8 ล้านครั้งในปี 2566 ขณะที่จำนวนข้อความ SMS หลอกลวงพุ่งสูงถึงเกือบ 130 ล้านครั้ง จาก 58.3 ล้านครั้งในปี 2566

ในขณะเดียวกัน ข้อมูลจากบริการ Smart SMS Assistant หรือ ผู้ช่วย SMS อัจฉริยะที่ช่วยตรวจสอบข้อความจากหมายเลขที่ไม่รู้จัก พบว่ามีข้อความ SMS ที่เข้าข่ายการหลอกลวงมากถึง 130 ล้านครั้ง ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้สำคัญว่ากลุ่มมิจฉาชีพยังคงใช้การส่งข้อความเป็นช่องทางหลักในการหลอกลวง เช่น ข้อความ SMS ที่หลอกให้กู้เงิน, โฆษณาการพนัน และหลอกว่าส่งพัสดุ

กลโกงที่พบมากที่สุด ได้แก่ การหลอกขายสินค้าและบริการปลอม, หลอกว่ามีเงินกู้อนุมัติง่าย, การหลอกทวงเงิน, การหลอกว่าเป็นหนี้ รวมถึงการแอบอ้างตัวเป็นหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อและโอนเงินก่อนจะหายเข้ากลีบเมฆไปพร้อมกับเงินก้อนโตและยากที่จะทวงคืน

ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล 41% อีเมลและเบอร์โทรถูกขายในตลาดมืด

อีกทั้ง จากผลการวิเคราะห์ปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลผ่านฟีเจอร์ ID Security ของ Whoscall พบว่าข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ 41% รั่วไหลไปยังที่ต่าง ๆ เช่น ดาร์กเว็บ และดีพเว็บ ในบรรดาข้อมูลส่วนตัวที่รั่วไหลพบว่า 97% เป็น อีเมล และ 88% เป็นเบอร์โทรศัพท์ ซึ่งอาจมีข้อมูลเช่น วันเดือนปีเกิด ชื่อนามสกุล พาสเวิร์ด รวมถึงข้อมูลอื่น ๆ หลุดร่วมไปด้วย ซึ่งทำให้เหล่ามิจฉาชีพสามารถซื้อหรือขายขายข้อมูลของเหยื่อได้ง่าย

ดังนั้นหากมีการเทคโนโลยีเอไอที่ผ่านการพัฒนาแล้วเข้ามาช่วยในการป้องกันการรั่วไหลรวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลหลอกลวงได้นั้น จะส่งผลดีที่จะทำให้อัตราการเติบโตของมิจฉาชีพลดน้อยลง

"ด้วยสถานการณ์กลโกงที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง Whoscall ยืนหยัดที่จะใช้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี AI ที่มี่ประสิทธิภาพมายกระดับการป้องกันภัยจากการหลอกลวง เพื่อสร้างเครือข่ายป้องกันภัยจากอาชญกรรมทางไซเบอร์ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนของสังคมไทย เราพร้อมทำงานร่วมกับภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชนอย่างใกล้ชิดในการลดอัตราการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการหลอกลวงดิจิทัล รวมถึงออกบริการใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI เพื่อปกป้องทั้งผู้ใช้และองค์กรในทุกช่องทาง" แมนวู จู กล่าว

รายงานฉบับนี้ไม่เพียงแค่บอกว่า Whoscall สามารถช่วยป้องกันคนไทยจากมิจฉาชีพได้มากกว่า 460,000 ครั้งใน 1 วันเท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงยอดของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ไม่ย่อท้อต่อการหลอกลวงผู้คนในแต่ละวัน

พันตำรวจเอก เกรียงไกร พุทไธสง ผู้กำกับกลุ่มงานสนับสนุนทางไซเบอร์ฯ กล่าวว่า ผู้เสียหายมีหลากหลายรูปแบบโดยเริ่มต้นจากการแอบอ้างกล่าวถึงบุคคลที่น่าเชื่อถือมาเป็นเหยื่อล่อให้ตายใจ ก่อนจะหลอกโอนเงิน โดยมิจฉาชีพเหล่านั้นจะไม่แสดงตัวตนจริงๆ แต่มักจะใช้วิธีการหลอกด้วยเทคโนโลยี ดังนั้นเราจึงต้องรู้วิธีป้องกันตัวเองจากผู้ไม่หวังดีเหล่านั้น เช่น

  • ระวังการแชร์ข้อมูลส่วนตัวในช่องทางต่าง ๆ เช่น โซเชียลมีเดีย
  • ตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับเสมอ ไม่ว่าจะเป็นจากทางสายโทรศัพท์, ข้อความ, เว็บไซต์, จดหมาย, อีเมล เนื่องจากปัจจุบันมิจฉาชีพเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีเข้าเสริมให้น่าเชื่อถือมากขึ้น
  • ระวังถูกแอบอ้างชื่อเพื่อความน่าเชื่อถือ เช่น อ้างชื่อแบรนด์,เจ้าของธุรกิจเพื่อหลอกขายสินค้าที่ไม่มีจริงให้ผู้บริโภค
  • เช็คเบอร์โทรของผู้ที่โทรที่หาเราผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่เชื่อถือได้ก่อนว่าเป็นเบอร์ของมิจฉาชีพหรือไม่
  • หากมีการกล่าวอ้างถึงหน่วยงานภาครัฐให้นำข้อมูลไปตรวจสอบกับทางสำนักงานเพื่อความแน่ใจก่อนจะดีที่สุด

สรุปแล้ว การจัดการที่ดีที่สุดคงจะต้องเริ่มที่ตัวเราก่อนที่จะตระหนักรู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อและสูญเงิน เพราะปัจจุบันยังไม่มีมาตรการใดที่จะเด็ดขาดมากพอที่จะสามารถกำจัดมิจฉาชีพเหล่านี้ให้สิ้นชื่อไปได้อย่างสมบูรณ์


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ