กลุ่มมั่งคั่งในไทยใกล้แตะ1.6 แสนคน ดัน รร.นานาชาติ โตแรง ค่าเทอมหลักแสน ถึง สูงสุด 1 ล้านบาท/ปี 

Economics

Thai Economics

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

กลุ่มมั่งคั่งในไทยใกล้แตะ1.6 แสนคน ดัน รร.นานาชาติ โตแรง ค่าเทอมหลักแสน ถึง สูงสุด 1 ล้านบาท/ปี 

Date Time: 25 ก.พ. 2568 10:38 น.

Video

Next Chapter บ้านปู “สินนท์ ว่องกุศลกิจ” ปักธงผู้นำแห่งยุคเปลี่ยนผ่านอุตฯ พลังงาน | On The Rise

Summary

  • กลุ่มมั่งคั่งในไทย มีจำนวน ใกล้แตะ 1.6 แสนคน ดันตลาด รร.นานาชาติ มูลค่า 8.5 หมื่นล้านโตแรง แม้ค่าเทอมแพง ตั้งแต่เริ่มต้น 1.25 แสน ถึง 1 ล้านบาท/ปี  โอกาสผู้เล่น กลุ่มทุนใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ,ซีพี ,บีทีเอส และ สหพัฒน์

Latest


ถ้าถามว่า ในประเทศไทย มีกลุ่มคนรวย หรือ คนที่ถูกเรียกว่า มีความ“มั่งคั่งสูง” ซึ่งวัดจาก การครอบครอง สินทรัพย์ มูลค่า มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (กว่า 33 ล้านบาท) มากน้อยแค่ไหน ก็ต้องบอกว่า ข้อมูลเมื่อปี 2022 อยู่ที่ 104,000 คน 

ซึ่งตั้งแต่ปี 2016-2022 ที่ผ่านมา จำนวนกลุ่มคนดังกล่าว มีการเติบโต เฉลี่ยราว10.2% ต่อปี ขณะที่ล่าสุด วิจัย LH (ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์) คาดว่าภายในปี 2026 จะเพิ่มขึ้นเป็น 162,000 คน เติบโตอย่างก้าวกระโดด 

โดยส่วนใหญ่เป็น กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงตามหัวเมืองต่างจังหวัดที่สำคัญ นี่เองกลายเป็น 1 ในเหตุผลที่ทำให้ ธุรกิจ”โรงเรียนนานาชาติ”ในประเทศไทยเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจาก ผู้ปกครองกลุ่มคนมั่งคั่ง มีความต้องการการศึกษาคุณภาพสูง ให้กับบุตร-หลาน

อีกทั้งหลายครอบครัวมองว่าโรงเรียนนานาชาติเป็นทางเลือกที่ดีในการเตรียมตัวให้บุตรหลานสามารถเรียนต่อในต่างประเทศได้โดยง่าย จากหลักสูตรที่ยอมรับได้ทั่วโลก และยังฝึกภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศที่จำเป็นในการเรียนต่อที่ต่างประเทศ

เรื่อยไปจนถึง คุณภาพชีวิตและค่านิยมของครอบครัวร่ำรวย ที่มักมองหาคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดให้แก่บุตรหลาน ซึ่งรวมถึงการศึกษา ที่ช่วยบ่มเพาะ พัฒนาทักษะด้านการเรียน การกีฬา หรือ ศิลปะ ด้วยห้องเรียนที่ทันสมัย สนามกีฬา สันทนาการ ขนาดใหญ่ หรือ คลาสพิเศษ ที่ทำให้ผู้ปกครองมองเห็นว่าค่าใช้จ่ายที่สูงนั้นคุ้มค่า

อย่างไรก็ดี ปฎิเสธไม่ได้ว่า การเติบโตของเศรษฐกิจไทยและการเพิ่มขึ้นของบริษัทต่างชาติที่ตั้งอยู่ในไทย ก็เป็นอีกปัจจัย ที่ทำให้ตลาดโรงเรียนนานาชาติในไทยเติบโตขึ้นมาอย่างมีนัย 

โรงเรียนนานาชาติในไทย โตปีละ10% มูลค่ากว่า 8.5 หมื่นล้านบาท 


ข้อมูลเจาะลึกจากวิจัย LH เผยว่า ปัจจุบัน ธุรกิจโรงเรียน นานาชาติในประเทศไทย ส่วนใหญ่ใช้หลักสูตรจากอังกฤษ 50% และสหรัฐอเมริกา 30% ของจำนวนโรงเรียนนานาชาติทั่วประเทศ 

นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรประยุกต์ หรือ International Baccalaureate (IB) ราว 12% และหลักสูตรเฉพาะของแต่ละประเทศ เช่น ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ และจีนอีกราว 8%

คาดการณ์ว่าเมื่อปี 2024 ตลาดธุรกิจโรงเรียน นานาชาติในไทยจะมีมูลค่าไม่ต่ากว่า 85,000 ล้านบาท ขยายตัวเฉลี่ย อยู่ที่ราว 10.6% ต่อปี 

แม้ว่าค่าเล่าเรียนโรงเรียนนานาชาติ จะอยู่ในระดับค่อนข้างสูง แต่ปัจจุบันได้มีการเปิดโรงเรียนนานาชาติใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดความแตกต่าง ของอัตราค่าเล่าเรียน โดยมีช่วงราคาตั้งแต่ประมาณ 125,000 บาทต่อปี ไปจนถึงประมาณ 1,000,000 บาทต่อปี

กระจายตัวทั้งในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล โดยเฉพาะช่วงหลังๆ ไปสู่พื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่งเติบโตเฉลี่ยปีละ 24.8% เลยทีเดียว 

กลุ่มทุน - ตระกูลใหญ่ เจ้าของโรงเรียนนานาชาติในไทย 


นี่จึงเป็นเหตุผลเดียวกัน ที่เห็นการขยับเคลื่อนไหวของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ ที่เข้ามาทำธุรกิจในตลาดดังกล่าวอย่างเข้มข้น 

โดยจากข้อมูลชุดเดียวกัน พบว่า กลุ่มทุนใหญ่หลายกลุ่มได้เข้ามาลงทุนใน ธุรกิจโรงเรียนนานาชาติอย่างต่อเนื่อง เช่น 

  • กลุ่มธนาคารกรุงเทพ (โชรส์เบอรี) 
  • กลุ่มซีพี (คอนคอร์เดียน)
  • กลุ่ม บีทีเอส (เวอร์โซ)
  • กลุ่มสหพัฒน์ (คิงส์คอลเลจ) 

รวมไปถึงอีกหลายตระกูลดัง ซึ่งโอกาส มาจากกลุ่มทุนขนาดใหญ่เหล่านี้ มักมีทรัพยากร และความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการ การลงทุนในเทคโนโลยีและบุคลากรที่มีคุณภาพ ทำให้โรงเรียนนานาชาติ มีมาตรฐานสูงขึ้นและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

อย่างไรก็ตาม การเติบโตของตลาดโรงเรียนนานาชาติ อาจไม่ราบรื่นซะทีเดียว เพราะถูกคาดการณ์ว่า มาพร้อมกับความท้าทาย โดยเฉพาะการปรีบขึ้น ค่าเล่าเรียน ซึ่งอาจทำให้ผู้ปกครองบางส่วนพิจารณาส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อในต่างประเทศแทน 

นอกจากนี้โรงเรียนนานาชาติ ยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากอัตราการเกิดที่ลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้จำนวนเด็กนักเรียนใหม่ มีแนวโน้มขยายตัวช้าลงนั่นเอง 

ที่มา : วิจัย LH 

ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ