เจาะตลาด “นักช็อปแฟนด้อม” รักนี้ฉันยอมเปย์! โอกาสของแบรนด์ ในยุคคอมมูนิตี้ของ "แฟนคลับ" เบ่งบาน

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

เจาะตลาด “นักช็อปแฟนด้อม” รักนี้ฉันยอมเปย์! โอกาสของแบรนด์ ในยุคคอมมูนิตี้ของ "แฟนคลับ" เบ่งบาน

Date Time: 12 ก.ค. 2567 14:39 น.

Video

โมเดลธุรกิจ Onlyfans ทำไมถึงมีแต่ได้กับได้ ? บริษัทมั่งคั่ง คนทำก็รวย | Digital Frontiers

Summary

  • คุณเป็นใคร? ในตลาด “นักช็อปแฟนด้อม” รักนี้ฉันยอมเปย์! โอกาสของแบรนด์ ในยุคคอมมูนิตี้ ของ "แฟนคลับ" เบ่งบาน ไทยขึ้นแท่น ซัพพอร์ตศิลปิน สูงที่สุดในอาเซียน

Latest


"แม่จะทำงาน หาเงินมาเลี้ยงหนูนะลูก"... 

ตัวอย่างวลีสุดฮิตของเหล่า ทีมแม่ หรือ มัมหมี ศัพท์สแลง แทนชื่อเรียกแฟนคลับรุ่นใหญ่ที่พร้อมจะซัพพอร์ตการขยับของศิลปิน คนที่อยู่ในตำแหน่ง “ลูกรัก” ในทุกทาง ตั้งแต่คอนเสิร์ต แฟนมีตติ้ง การใช้จ่ายสนับสนุนสินค้าและบริการที่ศิลปินนั้นๆ มีส่วนร่วม หรือเป็นพรีเซนเตอร์ เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ให้

ก่อเกิดเป็นโอกาสทางธุรกิจ และนับเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่น่าจับตามองที่สุดในยุคนี้ เพราะแม้แต่ ตุ๊กตามาสคอต (mascot) หมีเนย ยังมี “แฟนด้อม” เป็นของตัวเอง 

ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด (อาเซียน) เคยระบุไว้ว่า “แฟนด้อม” ที่มีความหมายว่า กลุ่มแฟนคลับ ที่หลงใหลชื่นชอบในตัวบุคคล หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอย่างมาก มีชุมชน หรือคอมมูนิตี้ ในการพูดคุยสื่อสาร และพร้อมจะแสดงออกในการสนับสนุนศิลปิน หรือบุคคลที่ตนเองรัก ทั้งรูปแบบกิจกรรม และการใช้จ่าย โดยมีแรงขับเคลื่อนมาจากการเติบโตของสังคมโซเชียลมีเดีย และเทรนด์ความสนใจของผู้คนที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น มีอิทธิพลอย่างมากในยุคสมัยปัจจุบัน 

หลังจากพบชาวไทยนั้นนับว่ากลุ่มที่มีพลังขับเคลื่อนแบรนด์สูงที่สุดในอาเซียน ก่อเกิด Power of Thai Fandom เพราะมีแฟนๆ มากกว่า 40% ยินดีจ่ายเงินเพิ่ม 30% เพื่อสนับสนุนศิลปิน หรือแบรนด์ที่ตนเองชื่นชอบ ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม 

ทำให้แบรนด์ต่างๆ ปรับกลยุทธ์หันมาพึ่งพา อินฟลูเอนเซอร์ เซเลบ คนดัง ดารา ศิลปิน ที่มีฐานแฟนคลับขนาดใหญ่และเหนียวแน่น ในการสื่อสารการตลาด และมักเน้นการทำกิจกรรม ดึงการมีส่วนร่วมระหว่างแบรนด์กับฐานแฟนคลับกลุ่มต่างๆ สร้างอานิสงส์ทั้งแง่ยอดขายและภาพลักษณ์แบรนด์สินค้า 

“34% ของแฟนๆ ชาวไทย ใช้จ่ายอย่างน้อย 30% ของรายได้ต่อเดือนไปกับแฟนด้อม ซึ่งนับเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงที่สุดในอาเซียน และเมื่อหมดเงินไปกับแฟนด้อม ก็หันไปลดการใช้จ่ายด้านอื่นๆ แทน เช่น เสื้อผ้า การรับประทานอาหารนอกบ้าน และลดกิจกรรมบันเทิงอื่นๆ ลง”

จากใจความข้างต้นคงสรุปได้ว่า รักนี้ฉันยอมเปย์...


ขณะล่าสุด The 1 Insight (เซ็นทรัล รีเทล) ออกรายงาน เจาะลึกจักรวาล Fandom Shoppers โดยชี้ว่า Fandom Marketing กำลังมีบทบาทสำคัญกับตลาดธุรกิจ และค้าปลีกเมืองไทยอย่างมาก 

โดยวัดผลสำเร็จจากงาน “The 1 Day วัน The 1 แห่งชาติ 2024” ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับศิลปิน โดยพบ กลุ่มช่วงวัยของ “Fandom Shoppers” หรือ “นักช็อปชาวด้อม” ที่มีความแตกต่างที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของแรงจูงใจ กำลังซื้อและพฤติกรรมการใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้

คุณเป็นใคร? ใน "แฟนด้อม"

ทีมแม่ หรือ มัมหมี

  • กลุ่มคน : Gen X และ Baby Boomers (อายุมากกว่า 45 ปี)
  • ระดับฐานะ : รายได้สูง ค่อนข้างมีเงิน ระดับ Privilege และ Affluent
  • บุคลิก : รักศิลปิน-คนที่คลั่งไคล้ เหมือนลูกเหมือนหลาน
  • ยอดเปย์ : 70,000-100,000 บาท/คน

ทีมแฟน 

  • กลุ่มคน : Gen Y (อายุ 25-44 ปี) 
  • ระดับฐานะ : มีเงินมีทอง ระดับ Affluent และ Upper Mass 
  • บุคลิก : เปย์ด้วยใจ แต่ถ้ามีรายได้เพิ่มก็พร้อมทุ่ม! 
  • ยอดเปย์ : 50,000-70,000 บาท/คน

ทีม นส (น้องสาว)

  • กลุ่มคน : Gen Z (อายุน้อยกว่า 24 ปี) 
  • ระดับฐานะ : ยังไม่มีรายได้หลัก หรือเพิ่งเริ่มทำงานประจำ
  • บุคลิก : เลือกเปย์เพราะมี เมน (Main) หลายคน จ่ายได้ตามกำลังทรัพย์ 
  • ยอดเปย์ : 20,000-40,000 บาท/คน


ซึ่งมีการใช้จ่ายสนับสนุน ดารา ศิลปิน ที่ชื่นชอบ อย่างหลากหลายกลุ่มสินค้า อย่างกลุ่มทีมแม่ และทีมแฟน สินค้าขายดีสูงสุดคือ แบรนด์ลักชัวรี่และแฟชั่น อาทิ เสื้อผ้า เครื่องประดับ รองเท้า/หมวดบิวตี้ อาทิ สกินแคร์ น้ำหอม เครื่องสำอาง ขณะ ทีมแฟนคลับรุ่นใหม่ เน้น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และ สมาร์ทวอตช์ เป็นต้น 

ทั้งหมดอาจกล่าวได้ว่า ในยามนี้หากแบรนด์ใดช่วงชิงความโด่งดัง และฐานแฟนคลับของศิลปินฮอตมาต่อยอดเชื่อมโยงกับแฟนด้อมได้สำเร็จแบบน่าสนใจ คนในอยู่ในด้อมก็พร้อมจะเปย์เพื่อคนรัก หรือให้การสนับสนุนแบรนด์ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้อย่างไม่ยาก จึงเป็นโอกาสทางการตลาดที่เห็นได้ชัดเจนมากที่สุดในตอนนี้.

ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้  https://www.facebook.com/ThairathMoney

 


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ