จะซื้ออันนั้น จะช็อปปิ้งอันนี้ กินเที่ยวทีจ่ายเป็นพัน วิถี “คนโสด” ใช้เงินปรนเปรอความสุขของตัวเองกำลังกลายเป็นเทรนด์ยอดนิยม
เห็นได้จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) เผยว่า จำนวนคนโสดในหลายประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา มีคนโสดทั่วโลกราว 2.12 พันล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนราว 1 ใน 4 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 23% ในปี 2528 อีกทั้ง ยังคาดว่าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 35% ของจํานวนประชากรทั่วโลกภายในปี 2593 อีกด้วย และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 3 พันล้านคน ภายในปี 2573
โดยจากข้อมูลล่าสุดในปี 2566 พบว่าประเทศที่มีสัดส่วนคนโสดต่อประชากรมากที่สุดในโลกคือ เดนมาร์ก อยู่ที่ 24.1% ของจํานวนประชากร รองลงมาคือ ฝรั่งเศสและฟินแลนด์ ที่ 22.8% และ 19.6% ตามลําดับ ซึ่งจะเห็นว่าประเทศที่ติด 10 อันดับแรกเกือบ ทั้งหมดอยู่ในทวีปยุโรป
ซึ่งนอกจากจะเป็นผลมาจากความไม่พร้อมในการสร้างครอบครัวจากปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้าแล้วยังมีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมในเรื่องการให้ความสําคัญกับความเป็นตัวตนที่ชัดเจนและหยั่ง รากลึกในสังคมยุโรปมาอย่างยาวนาน ขณะที่ในฝั่งเอเชียพบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีสัดส่วนคนโสดสูงที่สุด ติดอันดับที่ 15 ของโลก โดยอยู่ที่ราว 15.5% ของจํานวนประชากรทั้งประเทศ
ทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่านิยมและทัศนคติของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการใช้ชีวิตที่อิสระ มีโลกส่วนตัวมากขึ้น รวมไปถึงเหตุผลด้านความไม่พร้อมทางเศรษฐกิจและความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงด้านหน้าที่การงาน ซึ่งประเด็นต่างๆ เหล่านี้ ทำให้คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่มีแนวโน้มครองตัวเป็นโสดกันมากขึ้น
และจากกระแสคนโสดดังกล่าว ส่งผลให้ประชากรกลุ่มนี้กลายเป็นผู้บริโภคหลักในตลาดที่มีศักยภาพสูงและน่าสนใจ นอกจากคนโสดจะเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้นทั่วโลกแล้ว ยังมีอำนาจในการจับจ่ายสินค้าและบริการสูง ปรนเปรอตัวเอง และกล้าใช้จ่ายเงินซื้อความสุขมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ น้อยกว่าคนที่มีครอบครัวแล้ว และสามารถตัดสินใจใช้จ่ายเงินโดยไม่ต้องปรึกษาใคร จึงทำให้มีอิสระและมีความยืดหยุ่นในการใช้จ่ายเงินสูง
คนไทยเองก็มีแนวโน้มแต่งงานลดลงและเลือกที่จะใช้ชีวิตตัวคนเดียวมากขึ้น เป็นผลมาจากค่านิยมและทัศนคติของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการใช้ชีวิตที่อิสระ มีโลกส่วนตัวมากขึ้น รวมไปถึงเหตุผลด้านความไม่พร้อมทางเศรษฐกิจและความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงด้านหน้าที่การงาน
ทำให้คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่มีแนวโน้มครองตัวเป็นโสดมากขึ้น สอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่เปิดเผยว่า คน Gen Y มีค่านิยมครองตัวเป็นโสด ไม่สมรส ไม่มีลูก และมุ่งทำงานเพื่อความสำเร็จ หรือให้ความสำคัญกับงานมากกว่าครอบครัว สะท้อนได้จากสถิติการจดทะเบียนสมรสในไทยที่มีลดลงอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงระหว่างปี 2556-2565 อัตราการจดทะเบียนสมรสของคนไทยลดลงจาก 13.1 คู่ต่อพันครัวเรือน ในปี 2556 มาอยู่ที่ 11.3 คู่ต่อพันครัวเรือนในปี 2565 คาดว่าส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากการโควิด ที่ทำให้ต้องมีการเลื่อนการจัดงานแต่งงานและการจดทะเบียนสมรสออกไป ก่อนจะกลับมาเพิ่มสูงขึ้น แต่ตัวเลขดังกล่าวก็ยังคงอยู่ต่ำกว่าสถิติในอดีตอีกพอสมควร
นอกจากนี้ในทางกลับกัน ข้อมูลสถิติของกรมการปกครองยังบ่งชี้ว่า คนไทยมีแนวโน้มหย่าร้างเพิ่มขึ้นอีกด้วย จาก 4.7 คู่ต่อพันครัวเรือน ในปี 2556 มาอยู่ที่ 5.4 คู่ต่อพันครัวเรือนในปี 2565 สูงที่สุดในรอบ 10 ปี ทำให้สัดส่วนครัวเรือนที่อยู่อาศัยคนเดียวเพิ่มสูงขึ้น
ประชากรกลุ่มนี้จึงมีอำนาจในการจับจ่ายสินค้าและบริการสูง กล้าใช้จ่ายเงินเพื่อให้รางวัลและปรนเปรอความสุขของตัวเองอย่างเต็มที่และไม่เสียดาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ สินค้าแบรนด์เนมต่างๆ การซื้อรถยนต์ ซื้อของเล่นหรือของสะสมราคาแพง กินอาหารนอกบ้าน เข้าคลินิกเสริมความงาม สปา
หรือแม้แต่การใช้จ่ายเงินเพื่อพัฒนาและยกระดับความรู้ความสามารถตัวเองเพื่อนาไปสู่ความก้าวหน้า ในสายอาชีพมากขึ้น พฤติกรรมเหล่านี้สะท้อนถึงความกล้าใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อความสุขให้ตัวเอง และกลายเป็นโอกาส ทางธุรกิจก้อนโตสำหรับผู้ประกอบการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้ากระเป๋าหนักเหล่านี้
นับเป็นโจทย์ใหญของ “ผู้ประกอบการ” ในการปรับโมเดลธุรกิจ รวมไปถึง การพัฒนาและปรับเปลี่ยนการนาเสนอสินค้าและบริการเพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่หันมาใช้ชีวิตตัวคนเดียวและรักษา พื้นที่ส่วนตัวกันมากขึ้น อาทิ ที่อยู่อาศัยขนาดกะทัดรัด ร้านอาหารแบบทานคนเดียว หรือโรงแรมสำหรับคนโสดห้องเดี่ยว เตียงเดี่ยว โปรแกรมท่องเที่ยวสำหรับคนโสด รถบ้านหรือ Camping car ขนาดเล็กสำหรับเดินทางคนเดียว เพราะนอกจากจะเป็นการรองรับความต้องการจากตลาดในประเทศแล้ว ยังสามารถขยายฐาน ตลาดเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าในต่างประเทศได้อีกด้วย ท่ามกลางจานวนคนโสดทั่วโลกที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นทุกขณะ
อ้างอิง SCB EIC
ติดตามข้อมูลข่าวสารด้านการตลาด กับ Thairath Money ได้ที่
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney