แกร็บ ตรวจสอบไม่พบชื่อผู้เคราะห์ร้ายในเหตุฆาตกรรมชิงทรัพย์จากฐานข้อมูล

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

แกร็บ ตรวจสอบไม่พบชื่อผู้เคราะห์ร้ายในเหตุฆาตกรรมชิงทรัพย์จากฐานข้อมูล

Date Time: 16 ม.ค. 2566 19:40 น.

Video

แก้เกมหุ้นไทยตกต่ำ ประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดแผนฟื้นความเชื่อมั่น | Money Issue

Summary

  • แกร็บ ประเทศไทย ตรวจสอบชื่อผู้เคราะห์ร้ายในเหตุฆาตกรรมชิงทรัพย์ ไม่พบข้อมูลในฐานข้อมูลพาร์ตเนอร์คนขับแกร็บ

Latest


แกร็บ ประเทศไทย ตรวจสอบชื่อผู้เคราะห์ร้ายในเหตุฆาตกรรมชิงทรัพย์ ไม่พบข้อมูลในฐานข้อมูลพาร์ตเนอร์คนขับแกร็บ

เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แกร็บ ประเทศไทย ได้ทำหนังสือชี้แจง โดยระบุว่า จากกรณีที่มีสื่อมวลชนได้นำเสนอรายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุฆาตกรรมชิงทรัพย์ที่เกิดขึ้นกับคนขับเพศหญิงรายหนึ่งซึ่งให้บริการเรียกรถยนต์ส่วนบุคคลผ่านแอปพลิเคชัน โดยระบุว่าเป็นพาร์ตเนอร์คนขับแกร็บ หรือให้บริการแกร็บคาร์เลดี้นั้น แกร็บ ประเทศไทย

ทั้งนี้ ขอเรียนชี้แจงว่า ภายหลังการตรวจสอบข้อมูล ทั้งชื่อและนามสกุล รวมถึงทะเบียนรถที่ปรากฏตามรายงานข่าว ไม่พบข้อมูลของผู้เคราะห์ร้ายในฐานข้อมูลพาร์ตเนอร์คนขับแกร็บ โดยบริษัทฯ ได้ประสานงานเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดำเนินคดีทันทีตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งกับครอบครัวของผู้เสียชีวิต และขอยืนยันว่า ในฐานะผู้บุกเบิกแพลตฟอร์มที่ให้บริการเรียกรถผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งได้รับการรับรองแอปพลิเคชันสำหรับรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จากกรมการขนส่งทางบก แกร็บให้ความสำคัญสูงสุดกับการรักษามาตรฐานด้านความปลอดภัย

โดยมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ และกำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับทั้งผู้ใช้บริการและพาร์ตเนอร์คนขับ เช่น

- การใช้เทคโนโลยี Biometric identification ในการยืนยันตัวตนของทั้งพาร์ตเนอร์คนขับ และผู้ใช้บริการ โดยสำหรับพาร์ตเนอร์คนขับจะต้องทำการสแกนใบหน้าทุกครั้งก่อนเริ่มให้บริการ ขณะที่ผู้ใช้บริการจะต้องกรอกประวัติ และสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตนก่อนสมัครใช้แอปพลิเคชัน

- การพัฒนาฟีเจอร์ Safety Centre ที่เปิดให้ผู้ใช้บริการและพาร์ตเนอร์คนขับ สามารถแชร์ข้อมูลการเดินทางให้กับเพื่อนหรือคนในครอบครัวได้แบบเรียลไทม์ รวมทั้งการมีปุ่มฉุกเฉินที่ให้ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทันทีเมื่อประสบเหตุไม่คาดคิด

- การคัดกรองพาร์ตเนอร์คนขับที่เข้มงวด โดยต้องผ่านการตรวจประวัติอาชญากรรมย้อนหลังอย่างน้อย 7 ปี รวมถึงการจัดอบรมเพื่อสร้างจิตสำนึกในด้านความปลอดภัยให้กับพาร์ตเนอร์คนขับทุกคนก่อนให้บริการ

- การนำระบบ Manual Intervention มาใช้เพื่อตรวจสอบระหว่างการเดินทาง หากรถยนต์ที่ให้บริการมีการจอดที่ยาวนานผิดปกติหรือมีการเดินทางออกนอกเส้นทาง ทางฝ่ายบริการลูกค้าจะส่งข้อความไปหาผู้ใช้บริการเพื่อตรวจสอบสถานะการเดินทางและความปลอดภัย รวมถึงการจัดให้มีระบบคอลเซ็นเตอร์ที่มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการลูกค้าให้ข้อมูลและคอยให้ความช่วยเหลือกับผู้ใช้บริการตลอด 24 ชั่วโมง.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์