SCG จับมือ AIS 5G และ Huawei พัฒนาระบบขนส่งแบบไร้คนขับ

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

SCG จับมือ AIS 5G และ Huawei พัฒนาระบบขนส่งแบบไร้คนขับ

Date Time: 23 พ.ย. 2565 14:26 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • SCG จับมือ AIS 5G และ Huawei ต่อยอดความสำเร็จจากต้นแบบ Forklift ขับเคลื่อนระยะไกล สู่นวัตกรรมการขนส่งไร้คนขับ ด้วยศักยภาพ 5G

SCG จับมือ AIS 5G และ Huawei ต่อยอดความสำเร็จจากต้นแบบ Forklift ขับเคลื่อนระยะไกล สู่นวัตกรรมการขนส่งไร้คนขับ ด้วยศักยภาพ 5G

นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCG กล่าวว่า ทั่วโลกมุ่งสู่ยุคอุตสาหกรรมอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลยุคใหม่ เพื่อบริหารจัดการทรัพยากร ทั้งวัตถุดิบ คน งบประมาณ เวลาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ SCG จึงได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนารถ Forklift ขับเคลื่อนระยะไกลด้วยเครือข่าย 5G และต่อยอดมาสู่ความร่วมมือครั้งนี้ ซึ่ง SCG โดย Circular Plus by CPAC Green Solution ผนึกกำลังความเชี่ยวชาญจาก AIS หัวเว่ย รวมทั้งพันธมิตรจากประเทศจีน Yutong ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า และ Waytous ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในระบบยานยนต์ไร้คนขับสำหรับอุตสาหกรรม ในการพัฒนาระบบขนส่งด้วยยานยนต์ไร้คนขับสำหรับอุตสาหกรรม

เพื่อขยายขีดความสามารถของอุตสาหกรรม ทั้งด้านการขนส่ง หรือ Logistics ในการวางแผนเส้นทางการขนส่งวัตถุดิบเชื่อมต่อระหว่างคันได้อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว ด้านความปลอดภัย โดยเฉพาะในงานที่มีความเสี่ยง ตลอดจนด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าและเทคโนโลยีวางแผนการเดินทางอย่างแม่นยำ จึงช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 35% ต่อปี

เมื่อเทียบกับระบบเดิม สอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 (Net Zero 2050) ตามแนวทาง ESG 4 Plus (มุ่ง Net Zero - Go Green - Lean เหลื่อมล้ำ - ย้ำร่วมมือ ภายใต้หลักเชื่อมั่น และโปร่งใส) ของเอสซีจี ซึ่งผมเชื่อมั่นว่าความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยต่อยอดและสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมไทย 4.0

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวว่า เราจึงมุ่งมั่นนำความถี่ 5G ซึ่งมีมากที่สุดเป็นอันดับ 1 คือ 1420 MHz มาให้บริการลูกค้าและทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ในภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ดังเช่นในปี 2563 ที่เคยร่วมกับ SCG ทดลองทดสอบ Solutions 5G remote controlled forklift ให้สามารถควบคุมผ่านระยะไกล บนเครือข่าย 5G จาก SCG สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ ไปยังโรงงาน SCG จ.สระบุรี

โดยผู้ควบคุมรถ ไม่ต้องอยู่ที่เดียวกับรถ แต่สามารถควบคุมรถให้เคลื่อนย้าย สิ่งของจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดที่ต้องการได้แบบเรียลไทม์และแม่นยำ ซึ่งจากความสำเร็จดังกล่าว ได้ต่อยอดมายังความร่วมมือในโครงการ 5G Smart Autonomous Vehicles Solutions for Sustainable Industrial Advancement ครั้งนี้

ทั้งนี้ เราได้ทำงานร่วมกับ Huawei ในฐานะ Strategic Partner ติดตั้งเครือข่าย AIS 5G Private Network เพื่อให้สามารถควบคุมการกระจายสัญญาณไปยังบริเวณไซต์งานของ SCG ได้อย่างเฉพาะเจาะจง และใช้ขีดความสามารถของ 5G คือ ความเร็ว, ความหน่วงในระดับต่ำกว่า 20 ms และการเชื่อมต่อกับเซนเซอร์ได้ในปริมาณมาก

เมื่อผสมผสานเข้ากับแพลตฟอร์มอัจฉริยะที่ช่วยบริหารจัดการการวางแผนเส้นทางวิ่ง เพื่อขนส่งอุปกรณ์ในพื้นที่อุตสาหกรรม พร้อมเชื่อมต่อระหว่างคันได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีระยะเวลาว่างงานน้อยที่สุด ก็ยิ่งทำให้ช่วยเพิ่ม Productivity ในภาคอุตสาหกรรม และเพิ่มความปลอดภัยในงานที่มีความเสี่ยงสูงอย่างตอบโจทย์

นายอลัน เหลียว ประธานฝ่ายกลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการเครือข่าย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในฐานะบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก หัวเว่ยรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนในการพัฒนาโซลูชัน 5G ยานยนต์อัจฉริยะเพื่อความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนในประเทศไทย

ทั้งนี้ ความร่วมมือดังกล่าวจะนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้จริงในด้านการบริหารจัดการการวางแผนเส้นทางวิ่งเพื่อขนส่งอุปกรณ์ในพื้นที่ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อภาคอุตสาหกรรม ช่วยพัฒนาระบบขนส่งด้วยรถบรรทุกเครื่องยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับให้มีความปลอดภัย คล่องตัวและเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลมากยิ่งขึ้น

โดยหัวเว่ยจะนำความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่มีมาช่วยยกระดับโครงการโซลูชัน 5G ยานยนต์อัจฉริยะของ SCG โดยจะทำงานร่วมกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมเพื่อเสริมศักยภาพ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดการปล่อยคาร์บอนให้น้อยลง เป็นต้นแบบของ Green Manufacturing ให้กับทุกอุตสาหกรรมที่ดำเนินธุรกิจในไทย

ทั้งนี้ถือเป็นจุดประกายในการนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้และสร้างมาตรฐานใหม่ ส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งจะเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่การปฏิรูปประเทศไทยให้มีความก้าวหน้า พัฒนาได้อย่างยั่งยืนและเป็นผู้นำด้านสังคมคาร์บอนต่ำของอาเซียน.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ