Joylada กวาดรายได้ไตรมาส 1/65 โต 77% เล็งแบ่งรายได้ให้นักเขียนเพิ่มอีก 20%

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

Joylada กวาดรายได้ไตรมาส 1/65 โต 77% เล็งแบ่งรายได้ให้นักเขียนเพิ่มอีก 20%

Date Time: 21 มิ.ย. 2565 15:46 น.

Video

ล้วงลึกอาณาจักร “PCE” สู่บริษัทมหาชน ปาล์มครบวงจร | On The Rise

Summary

  • Ookbee เผย แอปฯ นิยาย จอยลดา กวาดรายได้ไตรมาส 1/65 โต 77% เล็งแบ่งรายได้ให้นักเขียนเพิ่มอีก 20% จากเดิมจ่าย 50% เป็น 70%

Latest


Ookbee เผย แอปฯ นิยาย จอยลดา กวาดรายได้ไตรมาส 1/65 โต 77% เล็งแบ่งรายได้ให้นักเขียนเพิ่มอีก 20% จากเดิมจ่าย 50% เป็น 70%

เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 65 นายณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Ookbee หรือ หมู Ookbee กล่าวว่า ปัจจุบัน Joylada หรือ จอยลดา มียอดมากกว่า 10 ล้านดาวน์โหลด ซึ่งที่ผ่านมาแอปพลิเคชันได้มีการปรับกลยุทธ์และพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานอยู่เสมอ ปัจจุบัน Joylada มี Content Creator มากกว่า 1 ล้านบัญชี

รวมถึงฟีเจอร์น้องใหม่อย่าง Live Caster อีกกว่า 100,000 บัญชี ซึ่งโตขึ้น 314% จากปี 64 ที่ผ่านมา นอกเหนือจากการทำตลาดภายในประเทศแล้ว Joylada ยังขยายฐานผู้ใช้งานไปยังต่างประเทศทั้ง อังกฤษ อินโดนีเซีย และลาว อีกด้วย โดยไตรมาส 1/65 นี้ Joylada สามารถทำรายได้เติบโตถึง 77%

ทั้งนี้ หัวใจสำคัญของ Joylada ที่เราคำนึงถึงอีกอย่างนึงคือการทำ CSR และ การให้ส่วนแบ่งรายได้ที่ยุติธรรม เป็นการส่งเสริมเส้นทางอาชีพให้แก่กลุ่มนักสร้างสรรค์แบบยั่งยืน โดยปีนี้ Joylada ได้ปรับส่วนแบ่งรายได้ให้นักเขียนจากเดิมที่ 50% ไปเป็น 70% เพื่อเป็นการขอบคุณและสนับสนุนผู้สร้างสรรค์ผลงานในแวดวงนักเขียนนิยายให้มีกำลังใจในการผลิตผลงาน นอกเหนือไปจากนี้ ยังจัดกิจกรรมส่งเสริมเส้นทางสู่การเป็นนักเขียนนิยายมืออาชีพให้แก่กลุ่มนักเขียนรุ่นใหม่ ผ่านโครงการ Joy Academy reality ที่เฟ้นหานักเขียนนิยายดาวรุ่งมาประดับวงการเพิ่มเติมอีกด้วย

สำหรับ roadmap อันใกล้นี้ ทางแพลตฟอร์มกำลังเตรียมก้าวเข้าสู่การเป็นคอมมูนิตี้นักเล่าเรื่องที่มีฟีเจอร์ครบครันที่สุดภายในปีนี้ จะเพิ่มส่วนของ metaverse ที่จะเป็นตัวช่วยหลักของการสร้างสังคมออนไลน์รูปแบบใหม่อย่างแท้จริง ที่จะตอบโจทย์ผู้ใช้งานทั้งในส่วนของนิยาย, ไลฟ์ และ คอมมูนิตี้ อีกทั้งยังมี avatar ที่จะเข้ามาช่วยสร้างสรรค์ตัวละครของนิยาย รวมถึงการสร้างตัวตนของผู้ใช้งานใน Joylada อย่างไม่มีขีดจำกัด

ด้านนายศาสตรา วิริยะเจริญธรรม Managing Director, Joylada กล่าวอีกว่า เราไม่ได้สร้างคอมมูนิตี้เพื่อเน้นยอดขายเป็นหลัก แต่ยอดขายมันตามเรามาเอง และนั่นคือสิ่งที่ทำให้เรายังสามารถรักษาความเป็น Joylada อยู่ได้ ในแบบที่ไม่หารายได้จากชื่อเสียงศิลปิน

รวมถึง content ที่ทางเราพยายามคัดกรองสำหรับเยาวชน เพื่อให้ผู้ปกครองสบายใจที่จะให้ลูกหลานเข้ามาใช้แพลตฟอร์มนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราแตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่น และ Metaverse จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คอมมูนิตี้เราสมบูรณ์ขึ้นไปอีกปัจจุบันจอยลดามีฟีเจอร์สำหรับการเล่าเรื่องที่หลากหลายและครอบคลุมมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงปีที่ผ่านมา

1. Novel feature นิยายรูปแบบแชต (Chat style novel) และนิยายแบบบรรยาย (Long-form novel) ภายในแพลตฟอร์ม Joylada จะประกอบไปด้วย นิยายแบบ UGC ที่นักเขียนสามารถเผยแพร่นิยายได้ด้วยตัวเองได้ภายในกฎของคอมมูนิตี้ นิยายที่มาจาก Publisher partnership program

โดยเปิดโอกาสให้สำนักพิมพ์ลงโปรโมตนิยายในแพลตฟอร์มเพื่อกระตุ้นยอดขายของตัวสำนักพิมพ์เอง รวมถึง Killing feature ที่มาใหม่ อย่าง JOY Choice ที่ให้ผู้เขียนนิยายสามารถต่อยอดงานเขียนนิยายได้หลายทางและให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมในการกำหนดตอนจบได้เองอย่างอิสระ มีความสนุกสนานมากยิ่งขึ้น

2. Live feature ซึ่งมีทั้ง LIVE ทั้ง Audio และ VDO ฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ภายในแพลตฟอร์ม เพื่อเปิดโอกาสให้นักเขียน และนักอ่านได้สื่อสารกันมากขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมผู้ที่มีทักษะในการเล่าเรื่องนอกเหนือจากงานเขียน สามารถเข้ามาใช้งาน ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านรูปแบบเสียง

พร้อมรับรายได้ตอบแทนจากบรรดาแฟนๆ หรือกลุ่มผู้ติดตาม อีกทั้งยังมี Feature PK ดวลไมค์เล่าเรื่องเล่ากันอย่างเมามันเอาใจกลุ่ม Live streamer และ Live official ที่ยกขบวน social influencer มาสร้างสีสันและสร้างแรงบันดาลให้กับ user ในวงกว้าง

3. JOY Verse ซึ่งเป็น Mini Metaverse ฟีเจอร์ที่ให้เหล่านักเล่าเรื่อง หรือนักสร้างสรรค์ผลงาน ทั้งในและนอกแพลตฟอร์ม ได้มาพบปะกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือเข้าร่วมอีเวนต์สนุกๆ กับทางแพลตฟอร์ม โดยเป้าหมายหลักที่ Joylada ให้ความสำคัญ คือ การเชื่อมผู้ใช้งานเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ไหน ก็สามารถมาเจอกันและทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ผ่านมาได้มีการเชิญทั้งนักเขียนและ DJ เข้ามาทดลองใช้งาน Joyverse ซึ่งได้ผลตอบรับจากผู้ใช้งานเป็นอย่างดี


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์