ผนึกกำลัง นำร่องใช้สินทรัพย์ดิจิทัล หวังสร้างต้นแบบพัฒนาเศรษฐกิจ

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ผนึกกำลัง นำร่องใช้สินทรัพย์ดิจิทัล หวังสร้างต้นแบบพัฒนาเศรษฐกิจ

Date Time: 11 มี.ค. 2565 18:02 น.

Video

เปิดทริกวางแผนการเงิน เพื่อชีวิตที่มีประสิทธิภาพ

Summary

  • มูลนิธิรวมพัฒน์ จับมือเครือข่ายเกาะกระแสโลก นำร่องใช้สินทรัพย์ เหรียญดิจิทัล หวังสร้างต้นแบบพัฒนาเศรษฐกิจด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล

มูลนิธิรวมพัฒน์ จับมือเครือข่ายเกาะกระแสโลก นำร่องใช้สินทรัพย์ เหรียญดิจิทัล หวังสร้างต้นแบบพัฒนาเศรษฐกิจด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล

นายรักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ ประธานมูลนิธิรวมพัฒน์ และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กล่าวว่า ได้เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงสนับสนุนการสร้างต้นแบบระบบเหรียญดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียนจากชุมชนเมืองสู่หมู่บ้าน โดยมี สินทรัพย์พร้อมใช้งาน เป็นอสังหาริมทรัพย์ มูลค่ากว่า 4,000 ล้านบาท ซึ่งพัฒนา โดยมี นายธนกฤช โชควรทรัพย์ ประธาน บริษัท เอ.ดี เฮ้าส์ จำกัด ร่วมกับ ผู้พัฒนานวัตกรรมดิจิทัลโทเคน นายธนภัทร บัวลอย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เบทเทอร์ดู จำกัด เจ้าของสิทธิบัตรระบบจัดการข้อมูลการทำงานร่วมกันด้วยโทเคน BETTER point และ ระบบ Community Service Tokenize ที่จะช่วยสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในระบบเหรียญดิจิทัล

ทั้งนี้ มูลนิธิฯ จะเป็นผู้สนับสนุนการศึกษาและออกแบบ Tokenomic ที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เหรียญดิจิทัลนี้เกิดมูลค่าแท้จริงทั้งในระบบเศรษฐกิจเชิงกายภาพ และระบบเศรษฐกิจดิจิทัล โดยจะก่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน อันมีทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนในระบบนิเวศของเหรียญดิจิทัลนี้ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาหลักของวิกฤติเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีผู้ผลิตล้นระบบ แต่ผู้บริโภคขาดกำลัง จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจชะงัก ขาดสภาพคล่อง จนไม่เกิดการหมุนเวียน หากปล่อยไว้อาจทำให้เศรษฐกิจของไทยเข้าสู่สภาวะวิกฤติ จนยากจะฟื้นตัว 

นายรักษ์พงษ์ กล่าวต่อว่า จากประสบการณ์ทำงานพัฒนาชุมชนเมืองและหมู่บ้าน พบว่าชุมชนในเมืองใหญ่ และหมู่บ้านในต่างจังหวัด ได้ถูกแบ่งแยกและขาดการเชื่อมโยงกันจากกลไกต่างๆ ในอดีต จนทำให้ระบบเศรษฐกิจของไทยถูกผูกขาดและควบคุมโดยตัวกลางในหลายมิติ แต่หากลองไปสำรวจในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ ทุกพื้นที่ของประเทศ ต่างมีสินทรัพย์ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพของคนไทยอยู่อย่างมากมาย และเหลือล้น แต่ไม่สามารถแลกเปลี่ยนกันโดยตรงได้ เพียงเพราะขาดเงินที่เป็นสื่อกลาง ทำให้ต้องเกิดการกู้หนี้ยืมเงินมาเพื่อนำไปลงทุน ซึ่งต้องเสียดอกเบี้ยจำนวนมากและหมดอำนาจต่อรองทางธุรกิจลง จนไม่สามารถแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้ เพราะขนาดธุรกิจที่เล็กกว่ารายใหญ่ หรือพ่อค้าคนกลาง และต้นทุนทางการเงินหรือดอกเบี้ยที่แพงกว่าบริษัทใหญ่หรือนายทุน

การนำเทคโนโลยีบล็อกเชนที่พร้อมใช้แล้วในปัจจุบัน มาเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน ให้เงินได้ไหลจากผู้คนจากชุมชนเมืองไปสู่หมู่บ้านในต่างจังหวัด แล้วไหลกลับจากผู้คนในหมู่บ้านต่างจังหวัดมาสู่ชุมชนเมืองเป็นวัฏจักรที่หมุนเวียนและเพิ่มมูลค่าในตนเองได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง อันเป็นการกระจายอำนาจและประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

นางชนิญญา ชัยสุวรรณ รองประธานมูลนิธิรวมพัฒน์ กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงสนับสนุนการสร้างต้นแบบฯ นับเป็นนิมิตหมายดีในการศึกษาและพัฒนาด้านกฎหมายของประเทศด้วย เนื่องจากเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเรื่องที่ยังใหม่มากในระดับโลก โดยนานาประเทศยังอยู่ระหว่างการหาจุดเหมาะสมเพื่อนำมาใช้พัฒนาเศรษฐกิจในรัฐของตน การหาสมดุลระหว่างการส่งเสริมและกำกับด้วยกฎหมายของรัฐ ด้วยการต่อยอดพัฒนาต้นแบบฯ บนฐานกฎหมายเดิมจะทำให้เกิดการพัฒนาที่สร้างการยอมรับ และความเข้าใจได้ในวงกว้าง จนเป็นพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับนำไปสู่การพัฒนาที่ก้าวกระโดดได้โดยง่าย

ซึ่งจากประสบการณ์พบว่าการปลดล็อกศักยภาพการใช้งานของสินทรัพย์ต่างๆ จะก่อให้เกิดมูลค่าหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจและประชาชนได้อย่างหลายเท่าทวีคูณ ซึ่งการสร้างต้นแบบฯ ทางกฎหมายในครั้งนี้ จะช่วยปลดล็อกและเป็นต้นแบบการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้งานให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจหมุนเวียนระหว่างชุมชนเมืองและหมู่บ้านในหลายพื้นที่ของประเทศ จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ อัตลักษณ์ประจำท้องถิ่นหรือพื้นที่ เช่น สมุนไพรไทย ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย ตลอดจนภูมิปัญญาไทย อันนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและการสร้างรายได้ที่ยั่งยืนของประชาชนได้เป็นอย่างดี

นายธนกฤช กล่าวว่า ด้วยแนวโน้มที่เปลี่ยนไปของเศรษฐกิจจากเดิม ที่ไทยเติบโตได้ โดยอาศัยการเติบโตของเศรษฐกิจโลก แต่จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และสภาวะ Deglobalization ในปัจจุบัน ทำให้ทุกประเทศต้องมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศ ซึ่งธุรกิจภาคอสังหาฯ ก็ต้องเร่งปรับรูปแบบการสร้างความคุ้มค่าให้กับลูกค้าของ ADH เพิ่มมากขึ้นให้สอดรับกับระบบเศรษฐกิจใหม่ ทาง ADH จึงให้ความสำคัญกับความร่วมมือในครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นมิติใหม่ของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จะก่อให้เกิดทั้งเศรษฐกิจแบ่งปันและหมุนเวียน (Sharing & Circular Economy) อันจะช่วยสร้างประโยชน์อย่างสูงสุดให้กับลูกค้า ที่เป็นทั้งผู้ลงทุนและผู้อยู่อาศัย ตลอดจนระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอีกด้วยหากความร่วมมือนี้ได้ดำเนินการจนเสร็จสิ้น

นายธนภัทร กล่าวว่า บริษัทฯ มีความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นการนำบล็อกเชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจในตลาดหลักอย่างแท้จริงมากกว่าเป็นแค่การเก็งกำไรในตลาดรอง โดยได้พัฒนาขึ้นมาจนสามารถยื่นจดสิทธิบัตรระบบจัดการข้อมูลการทำงานร่วมกันด้วยโทเคน BETTERpoint และ ระบบ Community Service Tokenize ซึ่งจะช่วยสนับสนุนความร่วมมือของโครงการนี้ให้บรรลุเป้าหมายจนก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ลงทุน ผู้อยู่อาศัย ตลอดจนเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมได้อย่างแน่นอน.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ