โลกสองใบ

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

โลกสองใบ

Date Time: 29 พ.ย. 2564 05:30 น.

Summary

  • กรณีข่าวการควบรวม ธุรกิจโทรคมนาคมระหว่าง ทรู กับ ดีแทค ในไทย ตามที่บริษัทแม่ได้แถลงไปแล้ว มี เทเลนอร์ กับ ซีพี เป็นคู่เจรจา ข่าวนี้นอกจากสะเทือนวงการโทรคมนาคมในไทย ที่มีข้อจำกัดและเงื่อนไข

Latest

รอบรั้วการตลาด : Mega Clinic ทำ all-time high เปิดกลยุทธ์ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย

กรณีข่าวการควบรวม ธุรกิจโทรคมนาคมระหว่าง ทรู กับ ดีแทค ในไทย ตามที่บริษัทแม่ได้แถลงไปแล้ว มี เทเลนอร์ กับ ซีพี เป็นคู่เจรจา ข่าวนี้นอกจากสะเทือนวงการโทรคมนาคมในไทย ที่มีข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจประเภทนี้อยู่แล้ว ภาครัฐที่มีส่วนได้ส่วนเสียมากที่สุด โดยเฉพาะองค์กรที่กำกับดูแลอย่าง กสทช. ยังให้คำตอบที่ชัดเจนอะไรไม่ได้มากนัก ก็ยิ่งทำให้สถานการณ์ยิ่งอึมครึม

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีในยุคนี้ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโครงการสร้างทางธุรกิจและความมั่นคงมากที่สุด มีการแข่งขันที่น่ากลัว และมีความหลากหลายที่มีทั้งประโยชน์และโทษ บ้านเราจะขยับสถานะการพัฒนาประเทศเป็น 4.0 ได้ก็ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ ไม่มีขีดจำกัดเหล่านี้

ที่เกริ่นมาก็เพื่อจะบอกว่าเมื่อ เทคโนโลยี มีทั้งประโยชน์และโทษ เราก็ไม่ควรที่จะตีตนไปก่อนไข้หรือก่อนที่ยังไม่มีอะไรที่ชัดเจนออกมา เข้าใจว่า เรื่องที่เกิดความตื่นตระหนกขึ้น เรื่องจาก ธุรกิจโทรคมนาคม ในบ้านเราถูกมองว่าค่อนข้างจะจำกัด และผูกขาดมีโอเปอเรเตอร์อยู่ไม่กี่เจ้าที่แข่งขันกัน และที่โฟกัสมากที่สุดก็น่าจะเป็น บริษัทเข้าไปดีลธุรกิจนี้ เป็น ซีพี ที่ถูกเพ่งเล็งเป็นจำเลยของสังคมอยู่แล้ว

การที่ ซีพี และ เทเลนอร์ ประกาศความร่วมมือเพื่อหนีกระแส disrupt ปรับโครงสร้างองค์กรของ ทรู และ ดีแทค จาก Telco ไปสู่ Tech Company เป็นการร่วมมือที่เท่าเทียมและต้องการจะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีในภูมิภาคนี้ จึงยังต้องรอความชัดเจนอีกระยะ

การบริหารจัดการภายในของทั้งทรูและดีแทคไม่น่าจะมีผลกระทบอะไรมากนัก ที่มีความเป็นห่วงคือผลกระทบภาคประชาชน การผูกขาดหรือการฮั้วทางธุรกิจ มองได้สองแง่ ในสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันประกอบกับการแข่งขันที่สูงมาก ซึ่งไม่เฉพาะโอเปอเรเตอร์ที่มีอยู่เท่านั้น แต่โทรคมนาคมที่ล้ำสมัยและเข้าถึงประชาชนได้ง่ายกว่าควบคุมได้ยากกว่าในโลกยุคนี้ยังมีอีกมากมาย เช่น โครงการอินเตอร์เน็ตดาวเทียม เป็นต้น ดังนั้นการจะเอาเปรียบผู้บริโภคจึงเป็นเรื่องที่ลำบากต่อกรณีที่จะต้องมีการแข่งขันสูงในช่วงนี้

ที่ต้องทำความเข้าใจคือ การปรับโครงสร้างอย่างเท่าเทียม คืออะไร มีเป้าหมายทางธุรกิจอย่างไร เกี่ยวข้องกับด้านเทคโนโลยีอย่างไร รวมถึงปัญญาประดิษฐ์ ระบบคลาวด์ เทคโนโลยี IoT อุปกรณ์อัจฉริยะ ดิจิทัลมีเดียโซลูชัน จะต้องปรับรูปแบบของเทคโนโลยีที่ทันสมัยกับการใช้งานและการแข่งขันในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งต้องมีการสนับสนุนการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี มีมูลค่ากว่า 100-200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ต้องสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างครอบคลุม ตั้งแต่สตาร์ตอัพ การผลิตการบริการใหม่ๆ การสร้างผลิตภัณฑ์บนแพลตฟอร์มดิจิทัล ไปจนถึงเทคโนโลยีอวกาศที่จะเป็นโลกของอนาคตนั่นเอง

เมื่อโลกเปลี่ยนเทคโนโลยีก็เปลี่ยน ใครจะนึกว่า สมาร์ทโฟน กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคนี้ วันนี้เราหมดยุคของ telecom as the service provider และหมดยุคของ infrastructure play เพราะมูลค่าลดลงทุกวัน ระหว่างการพัฒนากับความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การเป็นบรรษัทธรรมาภิบาล จะต้องวางโครงสร้างให้ไปด้วยกัน เป้าหมายคือความยั่งยืนของประเทศและประชาชน.

หมัดเหล็ก
mudlek@thairath.co.th


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ