การจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 ล่าช้าเศรษฐกิจพัง 9 แสนล้าน

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

การจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 ล่าช้าเศรษฐกิจพัง 9 แสนล้าน

Date Time: 6 พ.ค. 2564 06:15 น.

Summary

  • กนง.ได้ขอให้ ธปท.ประเมินภาพผลกระทบของเศรษฐกิจไทย จากการกระจายและฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในความเร็วต่างๆแบ่งเป็น 3 กรณี คือ 1.รัฐจัดหาและกระจายวัคซีนได้ดีกว่าแผนเดิม คือดำเนินการได้ 100 ล้าน

Latest

คาราบาวแดง ตั้งเป้าเพิ่มแชร์ 3% ทะยานสู่แชมป์ตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง ผนึกไทยรัฐ กรุ๊ป ปีที่ 4 ลุยแคมเปญใหญ่

นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)แถลงผลการประชุมว่า กนง.ได้ขอให้ ธปท.ประเมินภาพผลกระทบของเศรษฐกิจไทย จากการกระจายและฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในความเร็วต่างๆแบ่งเป็น 3 กรณี คือ 1.รัฐจัดหาและกระจายวัคซีนได้ดีกว่าแผนเดิม คือดำเนินการได้ 100 ล้านโดสภายในปี 2564 กรณีนี้การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพีของไทย จะลดลงไม่มาก คาดว่าจะขยายตัว 2% ในปีนี้ แต่หากเป็นไปตาม 2.คือรัฐบาลจัดหาและกระจายได้ตามแผนเดิมคือ ฉีดวัคซีนได้ 64.6 ล้านโดสในปี 64 ในกรณีนี้จะมีผลกระทบด้านลบประมาณ 3% ของจีดีพี หรือ 460,000 ล้านบาท ส่งผลให้ปีนี้โต1.5%ขณะที่ 3.หากการจัดหาและกระจายล่าช้ากว่าแผนเดิม โดยฉีดได้น้อยกว่า 64.6 ล้านโดสในปี 64 จะสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจไทยสูงถึง 890,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 5.7% ของจีดีพี ส่งผลให้เศรษฐกิจปี 64 จะขยายตัวเพียง 1%

นายทิตนันทิ์กล่าวต่อว่า กนง.เห็นว่ารัฐบาลควรเร่งมาตรการจัดหา และกระจายวัคซีนเพื่อควบคุมไม่ให้การระบาดยืดเยื้อ ถือเป็นพระเอกและปัจจัยที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ ขณะที่รักษาความต่อเนื่องของมาตรการการคลังเพื่อเพิ่มแรงกระตุ้นและลดผลกระทบของการระบาด รวมทั้งสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไป ขณะที่นโยบายการเงินจะต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง รวมทั้งจะประเมินความเพียงพอของมาตรการให้ความช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดที่ออกมาเพิ่มเติมว่า ได้เร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ได้รับผลกระทบให้ตรงจุด ลดภาระหนี้ และสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ควบคู่กับการผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้อย่างใกล้ชิด สำหรับเรื่องดอกเบี้ยนโยบาย ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราไว้ที่ 0.50% ต่อปี.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ