กขค.เสียงแตก “ซีพี-โลตัส” ควบรวม

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

กขค.เสียงแตก “ซีพี-โลตัส” ควบรวม

Date Time: 7 พ.ย. 2563 05:30 น.

Summary

  • คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เสียงข้างมากมีมติอนุญาตให้รวมธุรกิจ โดยกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตให้รวมธุรกิจปฏิบัติ

Latest

คาราบาวแดง ตั้งเป้าเพิ่มแชร์ 3% ทะยานสู่แชมป์ตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง ผนึกไทยรัฐ กรุ๊ป ปีที่ 4 ลุยแคมเปญใหญ่

นายสมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์ เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เปิดเผยถึงการพิจารณาการขออนุญาตรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ว่า คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า (กขค.) เสียงข้างมากมีมติอนุญาตให้รวมธุรกิจ โดยกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับอนุญาตให้รวมธุรกิจปฏิบัติ ดังนี้ 1.ห้ามรวมธุรกิจกับผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นในตลาดร้านค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นเวลา 3 ปี แต่ไม่รวมถึงตลาดอีคอมเมิร์ซ

2.ให้บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด เพิ่มสัดส่วนยอดขายสินค้าที่มาจากผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าเกษตร สินค้าเกษตรชุมชน สินค้าชุมชน สินค้าวิสาหกิจชุมชนหรือผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น (โอทอป) และกลุ่มสินค้าอื่นๆของร้านเซเว่น อีเลฟเว่น และเทสโก้ สโตร์ส เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ไม่น้อยกว่า 10% ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี 3.ห้ามใช้ข้อมูลร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาดที่เกี่ยวข้องกับผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายสินค้าหรือวัตถุดิบ โดยให้ถือว่าเป็นความลับทางการค้ามา

4.ให้บริษัท เอก-ชัย คงไว้ซึ่งเงื่อนไขของสัญญาและข้อตกลงระหว่างผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายสินค้าหรือวัตถุดิบรายเดิม ที่ทำสัญญาหรือข้อตกลงไว้ เป็นเวลา 2 ปี 5.ให้ซีพี ออลล์ และเอก-ชัย สนับสนุนเอสเอ็มอี ให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น ด้วยการกำหนดระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า เป็นเวลา 30-45 วัน เป็นเวลา 3 ปี 6.ให้ซีพี ออลล์ และเอก-ชัย รายงานผลประกอบธุรกิจ เป็นรายไตรมาสหรือในระยะเวลาที่กำหนด เป็นเวลา 3 ปี 7.ให้กำหนดมาตรฐานในการปฏิบัติทางการค้าที่ดี เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน และถือปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าว

“ในการพิจารณา กรรมการเสียงแตก โดยกรรมการเสียงข้างมากเห็นว่า การรวมธุรกิจส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจที่ขออนุญาต ซึ่งมีอำนาจเหนือตลาดในตลาดร้านค้าปลีกสมัยใหม่สินค้าอุปโภคบริโภคประเภทร้านค้าปลีกขนาดเล็กอยู่แล้ว จะมีอำนาจตลาดมากขึ้น แต่ไม่เป็นการผูกขาด อีกทั้งเห็นว่า การรวมธุรกิจมีความจำเป็นทางธุรกิจ ก่อให้เกิดการส่งเสริมการประกอบธุรกิจมากขึ้น และอาจส่งผลให้การแข่งขันลดลง แต่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง รวมทั้งไม่กระทบต่อประโยชน์ของผู้บริโภค จึงต้องกำหนดมาตรการเพื่อลดผลกระทบต่อการแข่งขันภายหลังการรวมธุรกิจ”.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ