ดีลอยท์ ประเทศไทย แนะผู้นำองค์กรเตรียมพร้อม 6 ด้านรับมือเน็กซ์นอร์มอล

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

ดีลอยท์ ประเทศไทย แนะผู้นำองค์กรเตรียมพร้อม 6 ด้านรับมือเน็กซ์นอร์มอล

Date Time: 20 ต.ค. 2563 17:26 น.

Video

ทางรอดเศรษฐกิจไทยในยุค AI ครองโลก | 1st Anniversary Thairath Money

Summary

  • ดีลอยท์ ประเทศไทย มองภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีหน้าอยู่ในขั้นฟื้นตัวเป็นไปแบบช้าๆ หลังเจอวิกฤตโควิด-19 แนะผู้นำองค์กรควรเตรียมความพร้อม 6 ด้าน เพื่อแผนสร้างการเติบโตในอนาคต

Latest


ดีลอยท์ ประเทศไทย มองภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีหน้าอยู่ในขั้นฟื้นตัวเป็นไปแบบช้าๆ หลังเจอวิกฤตโควิด-19 แนะผู้นำองค์กรควรเตรียมความพร้อม 6 ด้าน เพื่อแผนสร้างการเติบโตในอนาคต

สุภศักดิ์ กฤษณามระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวว่า แม้ขณะนี้สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกยังไม่คลี่คลายอย่างชัดเจนไปในทางบวก การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจตั้งอยู่บนความไม่แน่นอนของปัจจัยหลายอย่าง อีกทั้งยังมีการฟื้นตัวในแต่ละอุตสาหกรรมที่ไม่เท่ากัน

นอกจากนี้ บางธุรกิจก็ยังเป็นไปอย่างช้า ๆ แต่การเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะกลับสู่ภาวะปกติในอนาคต ยังจำเป็นอย่างมากสำหรับทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งผู้นำองค์กรต่าง ๆ ต้องหาคำตอบให้ได้ว่าจะต้องคำนึงถึงเรื่องใดและทำอย่างไร

สำหรับมุมมองและการวิเคราะห์ของดีลอยท์ ได้ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่เน็กซ์นอมอลใน 4 มิติ ซึ่งถือเป็นโจทย์ขององค์กรต้องนำมาพิจารณา ได้แก่

1. มิติด้านสังคม ให้ความสำคัญกับการสร้างความเชื่อมั่น, คำนึงเรื่องการอนุญาตให้ใช้สิทธิทางสังคม (Social license) รวมถึงปรับปรุงหลักประกันด้านสุขภาพ และความปลอดภัยให้เหมาะสม

2. มิติด้านธุรกิจ ให้ความสำคัญกับเรื่องของอุตสาหกรรม 4.0, ปรับองค์กรให้เข้ากับรูปแบบทำงานใหม่ในอนาคต และปรับหรือมองหารูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความต้องการผู้บริโภคที่ซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงการทำเรื่องของ Digital Transformation

3. มิติด้านเศรษฐกิจ มองถึงผลกระทบจากการทำสัญญาและเครดิต, ความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจในบางอุตสาหกรรม

4. มิติด้านการเมือง เศรษฐกิจของประเทศฝั่งเอเชียจะฟื้นตัวเร็ว, ภาครัฐฯในฐานะหัวหอกการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการการคลังอันจะตามมาด้วยมาตรการทางภาษีที่อาจสูงขึ้น, เกิดแนวคิดความเป็นชาตินิยมจนกลาย เป็นปฏิปักษ์โลกาภิวัตน์

สำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศไทยนั้น ยังมีอีกหลายอย่างที่ทำให้เรายังไม่สามารถคาดการณ์ได้อย่างชัดเจน เมื่อวิเคราะห์ดูจากปัจจัยภายในของไทยเองพบว่า ยังมีเรื่องความไม่สงบทางการเมือง การหยุดชะงักของธุรกิจท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไทยต้องพึ่งพารายได้ในจุดนี้อยู่มาก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐจะเป็นไปตามเป้าที่วางไว้หรือไม่

ผนวกกับปัจจัยภายนอกอย่าง เช่น การระบาดของโควิด-19 ที่คงมีต่อเนื่อง ปัญหาด้าน Geo-political เช่น ความตึงเครียดด้านการเมืองระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน การผ่อนปรนของมาตรการปิดประเทศ อุปสงค์ทั่วโลกยังอยู่ในแนวโน้มขาลง เหล่านี้ล้วนเป็นเหตุผลที่ทำให้คาดการได้ยาก และมองว่ายังต้องอดทนไปอีก 12-18 เดือนนับจากนี้

ทั้งนี้ ดีลอยท์ยังแนะให้เห็นสิ่งที่แต่ละองค์กรควรให้ความสำคัญ 6 ด้าน เพื่อให้พร้อมรองรับการเติบโตในอนาคต ประกอบด้วย

1. การกอบกู้ และการเพิ่มของรายได้ (Recover & Grow Revenue) เช่น ทบทวนรูปแบบและข้อเสนอทางธุรกิจปัจจุบัน, ประเมินกลยุทธ์การกำหนดราคาใหม่, แสวงหาแหล่งความต้องการใหม่ ๆ รวมทั้งโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมผ่านการทำงานร่วมกันข้ามอุตสาหกรรม

2. การเพิ่มมาร์จิ้น และความสามารถในการทำกำไร (Increase Margins & Profitability) เช่น ใช้เวลาให้มากขึ้นกับส่วนที่เพิ่มรายได้, เพิ่มความรอบคอบส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร (SG&A), มองหารูปแบบและทางเลือกเพื่อลดความเสี่ยง, เน้นความมั่นคงของซัพพลายเออร์และซัพพลายเชน

3. การเพิ่มประสิทธิภาพสินทรัพย์และหนี้สินรวมถึงสภาพคล่อง (OPTIMISE ASSETS, LIABILITIES,& LIQUIDITY) โดยการเพิ่มประสิทธิภาพเงินทุนหมุนเวียนเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับสภาพคล่อง, ใช้ประโยชน์สูงสุดจากมาตรการกระตุ้นและเครดิตภาษีของรัฐบาล, ตรวจสอบการแบ่งปันสินทรัพย์และการจัดเตรียมการ เช่าซื้อ, ทบทวนผลงาน/สินค้าค้างส่งมอบ และสัญญาต่าง ๆ อีกครั้ง

4. เร่งทำเรื่อง Digital Transformation (Accelerate Digital Transformation) เช่น จัดลำดับความสำคัญของช่องทางข้อมูลดิจิตอล, การเปลี่ยนไปใช้ระบบคลาวด์เพื่อความคล่องตัว และความยืดหยุ่น, ให้ความสำคัญกับเรื่องความมั่นคงปลอดภัยบนไซเบอร์ (Cyber Security), เพิ่มความคล่องตัวในการทำงานของสำนักงานส่วนกลางและส่วนหน้าด้วยระบบ Office Automation

5. ให้การสนับสนุนพนักงานและโครงสร้างการดำเนินงาน (Support Workforce & Operating Structure) เช่น ทำให้พนักงานรู้สึกมั่นใจและปลอดภัย, ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงาน, สร้างช่องทางการประเมินความรู้สึก รวมถึงสุขภาพร่างกายและจิตใจของพนักงาน, มองหารูปแบบการจ้างงานทางเลือก (เช่น การจ้างแบบชั่วคราว), มองหาหรือคิดรูปแบบการทำงานและการส่งมอบงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

6. สร้างการดำเนินงาน (Support Workforce & Operating Structure) เช่น ทำให้พนักงานรู้สึกมั่นใจและปลอดภัย, ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงาน, สร้างช่องทางการประเมินความรู้สึก รวมถึงสุขภาพร่างกายและจิตใจของพนักงาน, มองหารูปแบบการจ้างงานทางเลือก (เช่น การจ้างแบบชั่วคราว), มองหาหรือคิดรูปแบบการทำงานและการส่งมอบงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

7. บริหารจัดการความคาดหวังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Manage Stakeholder Expectations) เช่น พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการสื่อสารในภาวะวิกฤติ, สื่อสารนโยบายเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยให้พนักงานและลูกค้าได้รับทราบ, เข้าไปมีส่วนร่วมกับโครงการของภาครัฐ และชุมชนในพื้นที่, ให้ความสำคัญกับโครงการหรือความคิดริเริ่มเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจอย่างสมดุลทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG)

สุภศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในช่วงที่ผ่านมา ดีลอยท์ ประเทศไทย ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของดีลอยท์เอเชียแปซิฟิค ก็ได้มีการปรับตัวภายในเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 โดยบริษัทยังคงสามารถรักษาการเติบโตของผลการดำเนินงานรอบปี 2563 ในระดับที่ดี (สิ้นสุด ณ วันที่ 31 พ.ค. 63 มีอัตราเติบโตของรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7

ทั้งนี้ เป็นการเติบโตในทุกสายธุรกิจ คือ ธุรกิจตรวจสอบบัญชี เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ธุรกิจที่ปรึกษาเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ธุรกิจที่ปรึกษาด้านการเงิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ธุรกิจที่ปรึกษาด้านการบริหารความเสี่ยง เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และธุรกิจที่ปรึกษาด้านภาษีและกฎหมาย เพิ่มขึ้นร้อยละ 9

นอกจากนี้ บริษัท ยังได้วางกลยุทธ์ในอีก 3 ปีข้างหน้า ให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยการบริการแบบครบวงจรของแต่ละสายธุรกิจและศักยภาพในการให้บริการแบบเครือข่ายทั่วโลก โดยมองว่าอุตสาหกรรมที่พร้อมจะกลับมาเติบโตได้ก่อน 4 กลุ่มแรก คือ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มสถาบันการเงิน กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มพลังงาน ซึ่งยังคงต้องการบริการที่ปรึกษาเพิ่มขึ้น

โดยเฉพาะการบริการด้านการบริหารกระแสเงินสด (Cash Optimization Advisory) เพื่อรักษาสภาพคล่องของกิจการ และการควบรวมกิจการ (M&A) โดยบริษัทตั้งเป้าประมาณการรายได้รวมสำหรับปี 2564 เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ทั้งนี้ สิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย คือ การรักษาคนเก่งในองค์กร โดยบริษัทฯยังคงให้ความสำคัญกับการคัดสรร การพัฒนา และการดูแลบุคลากรที่มีศักยภาพสูง ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการผลักดันและขยายธุรกิจต่างๆ


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ