รัฐจ่าย “คนละครึ่ง” ดันจีดีพีไตรมาส 4 ม.หอการค้าชี้ความเชื่อมั่นเอกชนดีขึ้น

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

รัฐจ่าย “คนละครึ่ง” ดันจีดีพีไตรมาส 4 ม.หอการค้าชี้ความเชื่อมั่นเอกชนดีขึ้น

Date Time: 18 ก.ย. 2563 05:01 น.

Summary

  • ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ประจำเดือน ส.ค.63 อยู่ที่ 32.6 เพิ่มขึ้นจาก 31.8 ในเดือน ก.ค.63 โดยมีปัจจัยมาจากราคาพืชทางการเกษตรที่ทรงตัวและอยู่ในระดับที่น่าพอใจ

Latest

“คิง” เปิดแผนสู้ศึกตลาดน้ำมันรำข้าว ทุ่ม 1.5 พันล้าน เร่งเพิ่มกำลังการผลิตสู่ยอดขายหมื่นล้าน

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษา ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ประจำเดือน ส.ค.63 อยู่ที่ 32.6 เพิ่มขึ้นจาก 31.8 ในเดือน ก.ค.63 โดยมีปัจจัยมาจากราคาพืชทางการเกษตรที่ทรงตัวและอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ยอดขายเครื่องมือทางการเกษตรเพิ่มขึ้น การซื้อรถปิกอัพ เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดการค้าปลีกเริ่มมีสัญญาณที่ดี ขณะที่ดัชนีในอนาคตปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน โดยเศรษฐกิจในอนาคตจะฟื้นตัวแบบอ่อนๆ และเห็นตรงกันว่า เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 รวมทั้งการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ธุรกิจต่างๆกลับมาเปิดดำเนินการได้

สำหรับปัจจัยลบต่อความเชื่อมั่นคือ การที่สภาพัฒน์รายงานเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ติดลบ 12.2% ความวิตกกังวลต่อโควิด-19 รวมทั้ง ความกังวลเกี่ยวกับการเมือง โดยการชุมนุมวันที่ 19 ก.ย.นี้ ยากที่จะประเมินสถานการณ์ได้ แต่จะเป็นตัวชี้วัดสำคัญ โดยหากการชุมนุมยังคงเป็นไปในลักษณะแฟลชม็อบจะไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากนัก แต่หากปรับเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นการชุมนุมที่ยืดเยื้อ ทำให้เศรษฐกิจเสี่ยงติดลบมากขึ้น

“ภาคเอกชนมองว่าเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ เช่น การท่องเที่ยว และการที่รัฐอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ ทำให้เอกชนประคองการจ้างงานไปจนถึงไตรมาสที่ 1 ปีหน้า เพราะคาดหวังว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น”

ส่วนโครงการ “คนละครึ่ง” วงเงิน 30,000 ล้านบาท เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน ส่งเสริมการบริโภคช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประ– กอบการหาบเร่แผงลอย โดยรัฐบาลจะแจกเงินให้ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ 15 ล้านคน คนละ 3,000 บาทนั้น เป็นการโอนเงินให้กับประชาชนเพื่อลดค่าครองชีพ นำไปซื้อของใช้ประจำวัน จะทำให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 60,000 ล้านบาทใน 3 เดือนและหากเศรษฐกิจเกิดการหมุนเวียนได้อีก 2-3 รอบ จะสร้างเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจ 120,000-200,000 ล้านบาท ขณะที่มาตรการเติมเงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่ม 500 บาท นาน 3 เดือนจะทำให้เกิดการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจ 1-2 รอบ เป็นเงินรวม 20,000-50,000 ล้านบาท

“เมื่อรวมเม็ดเงินที่กระตุ้นเศรษฐกิจใน 2 มาตรการแล้ว จะมีเม็ดเงินรวม 150,000-200,000 ล้านบาท ช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 4 ติดลบน้อยลง 2-3% และจะค่อยๆฟื้นตัวเป็นบวกได้ ตั้งแต่ไตรมาส 1 ปีหน้า มาอยู่ที่ 0-2% และหากมีการนำมาตรการชิม ช้อป ใช้ จะยิ่งทำให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น”.

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ