คลังลดภาษีเครื่องดื่มสุขภาพ

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

Tag

คลังลดภาษีเครื่องดื่มสุขภาพ

Date Time: 30 ก.ย. 2562 08:29 น.

Summary

  • ผู้สื่อข่าวจากกระทรวงการคลังรายงานว่า ปัจจุบันตลาดเครื่องดื่ม นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ (Functional Drink) มีการขยายตัวค่อนข้างสูงในอัตราประมาณ 20% ต่อปี

Latest

คาราบาวแดง ตั้งเป้าเพิ่มแชร์ 3% ทะยานสู่แชมป์ตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง ผนึกไทยรัฐ กรุ๊ป ปีที่ 4 ลุยแคมเปญใหญ่

รับตลาดสดใสดันไทยขึ้นแท่นเป็นฮับการผลิต

ผู้สื่อข่าวจากกระทรวงการคลังรายงานว่า ปัจจุบันตลาดเครื่องดื่ม นวัตกรรมเพื่อสุขภาพ (Functional Drink) มีการขยายตัวค่อนข้างสูงในอัตราประมาณ 20% ต่อปี ซึ่งถ้าหากรัฐบาลมีการส่งเสริมเครื่องดื่มประเภทนี้ให้มากขึ้น ประเทศไทยก็สามารถเป็นศูนย์การผลิตหรือฮับการผลิตเครื่องดื่ม Functional Drink ของโลกได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันญี่ปุ่นถือว่าเป็นประเทศที่ผลิตเครื่องดื่มนวัตกรรมที่หลากหลาย เช่น เอาน้ำเปล่า ผสมวิตามิน หรือนำน้ำผลไม้ผสมคอลลาเจน เป็นต้น

ทั้งนี้ ปัจจุบันกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวง การคลังเพื่อกำหนดลักษณะของเครื่องดื่ม Functional Drink โดยกำหนดอัตราภาษีต่ำกว่าภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มในปัจจุบัน ซึ่งเครื่องดื่มที่เป็นน้ำผัก ผลไม้ อัตราภาษีสรรพสามิต 10% แต่หากเป็นเครื่องดื่มนวัตกรรมที่มีพื้นฐานมาจากน้ำผลไม้ จะจัดเก็บภาษีอยู่ที่ 3% เท่านั้น ส่วนภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มพื้นฐาน เช่น น้ำอัดลม น้ำเกลือแร่ เป็นต้น ปัจจุบันมีอัตราภาษีสรรพสามิตอยู่ที่ 14% แต่หากเป็นเครื่องดื่มเหล่านี้มีส่วนผสมของนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ เช่น การผสมคอลลาเจน ผสมวิตามิน เป็นต้น จะถูกเก็บภาษีเพียง 10% เท่านั้น โดยอัตราใหม่จะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ เป็นต้นไป

สำหรับนิยามของเครื่องดื่มนวัตกรรม ผู้ผลิตสามารถนำเครื่องดื่มเหล่านี้มาต่อยอด เช่น เติมวิตามิน หรือคอลลาเจน เข้าไป โดยจะต้องได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา (อย.) ว่าสิ่งที่เติมเข้าไปนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากเครื่องดื่มนวัตกรรมมีความหวานเกินกว่าที่กรมกำหนด จะต้องเสียภาษีความหวานเพิ่มเติมเช่นกัน โดยตั้งแต่ 1 ต.ค.นี้ จนถึง 30 ก.ย.2564 อัตราภาษีความหวานจะเริ่มปรับขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด อาทิ กรณีมีปริมาณความหวานหรือมีน้ำตาล เกินกว่า 10 กรัมแต่ไม่เกิน 14 กรัม จะปรับขึ้นจาก 0.50 บาทต่อลิตร เป็น 1 บาทต่อลิตร เป็นต้น และนับจาก 1 ต.ค. 2564 จนถึง 30 ก.ย.2566 อัตราจะกระโดดขึ้นเป็น 3 บาท และนับตั้งแต่ 1 ต.ค.2566 เป็นต้นไป จะปรับสูงสุดตามที่กฎหมายกำหนดคือ 5 บาทต่อลิตร.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ