กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลุยแผนปี 61 อัดงบ 1.4 หมื่นล้าน หนุนเอสเอ็มอี

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ลุยแผนปี 61 อัดงบ 1.4 หมื่นล้าน หนุนเอสเอ็มอี

Date Time: 7 ม.ค. 2561 01:41 น.

Video

เศรษฐกิจไทย เสี่ยงวิกฤติหนักแค่ไหน เมื่อต้องเปลี่ยนนายกฯ | Money Issue

Summary

  • กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เผยวิสัยทัศน์ พร้อมแนวขับเคลื่อน ธุรกิจเอสเอ็มอีไทย ปี 61 ก้าวสู่ยุค 4.0 ผ่าน 4 เครื่องมือ 1 กลยุทธ์ ตั้งงบ 1.4 หมื่นล้าน เสริมแกร่งด้านการเงินและพัฒนาศักยภาพ ดึง 20 บริษัทชั้นนำ เป็นพี่เลี้ยงธุรกิจ...

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เผยวิสัยทัศน์ พร้อมแนวขับเคลื่อน ธุรกิจเอสเอ็มอีไทย ปี 61 ก้าวสู่ยุค 4.0 ผ่าน 4 เครื่องมือ 1 กลยุทธ์ ตั้งงบ 1.4 หมื่นล้าน เสริมแกร่งด้านการเงินและพัฒนาศักยภาพ ดึง 20 บริษัทชั้นนำ เป็นพี่เลี้ยงธุรกิจ...

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวว่า ในปี 2561ได้วางแผนกลยุทธ์ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนา SMEs ในยุค 4.0 ภายใต้แนวคิด 4 TOOL กับ 1 Strategy ประกอบด้วย 1.IT ให้บริการด้านการพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศ 2. Automation การพัฒนาระบบการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต 3. Robot เพื่อลดการใช้แรงงานในกระบวนการผลิต และ 4.Innovation สงเสริมและพัฒนาด้านนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม อีกทั้งยังเผย 1 Strategy โดยจะมุ่งพัฒนาการรวมกลุ่มทางอุตสาหกรรม หรือ Cluster ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการต่อยอดของ SMEs ไทยให้เข้มแข็ง

สำหรับมาตรการทางการเงินเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็ม วางงบทั้งหมดไว้ที่ 20,000 ล้านบาท เป็นงบประมาณต่อเนื่องจากปี 2560 โดยในปีที่ผ่านมาได้ทำการสนับสนุนสินเชื่อให้แก่เอสเอ็มอีไปแล้วว่า 6,000 ล้านบาท และอีก 14,000 ล้านบาท จะถูกนำมาจัดสรรเพื่อสนับสนุนเอสเอ็มอีไทยทุกระดับ แบ่งเป็น 8,000 ล้านบาท สำหรับ เอสเอ็มอีไซส์เล็ก ที่มีการประกอบกิจการและขึ้นทะเบียนการค้าเป็นที่เรียบร้อย โดยมีเงื่อนไขการปล่อยกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อราย มีอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 1% ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาการกำหนดเกณฑ์และกรอบการปล่อยสินเชื่อ และอีก 6,000 ล้านบาท จะปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ SMEs ที่มีศักยภาพ เพื่อนำไปปรับปรุงกิจการและพัฒนาธุรกิจ มีอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียงร้อยละ 1% เช่นกัน

ทั้งนี้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอี ตามแนวประชารัฐ จะได้รับคูปองเสริมแกร่งธุรกิจวงเงิน 30,000 บาทต่อราย เพื่อนำไปใช้บริการด้านการให้คำปรึกษาแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หรือใช้ในการวิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์ จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในเครือข่ายทั่วประเทศ

นอกจากนี้ยังมีมาตรการพิเศษ ในการพา “เอสเอ็มอีไทย สู่ ยุค4.0” ส่งเสริมประกอบการทั้ง SMEs และ OTOP จำนวนกว่า 50,000 ราย ด้วย 9 มาตรการภายใต้แผนงานของกระทรวงอุตสาหกรรม ขยายศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) จำนวน 23 แห่งทั่วประเทศ เพื่อรองรับการให้บริการด้าน Co-Working Space บริการเครื่องจักรทันสมัย การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการปรึกษาเชิงลึก ผ่าน Expert Pool (ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ) ขยายศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี หรือ SSRC ให้เป็น 248 แห่ง โดยศูนย์ดังกล่าวจะเป็นการให้บริการผ่านระบบดิจิทัลที่มีรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการพัฒนาธุรกิจในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลของผู้ประกอบการทั่วประเทศ นำไปสู่การพัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของ SMEs ต่อไปในอนาคต

ส่วนอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่วางแผนสนับสนุนเอสเอ็มไทยในปี 61 จะดึงองค์กรธุรกิจชั้นนำของไทยและระดับโลก กว่า 20 ราย อาทิเช่น เอสซีจี ปตท. ฯลฯ เข้ามาเป็นพี่เลี้ยงทางธุรกิจ ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจเอสเอ็มอีไทย รวมถึงการสร้างโอกาสให้กับเอสเอ็มอีและคนทำสตาร์ทอัพให้ได้มีโอกาสนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือโครงการเพื่อรับเงินสนุบสนุนจากทางภาคเอกชน และเรียนรู้หลักการทำธุรกิจแบบมืออาชีพซึ่งเป็นความรู้และเทคนิคที่ล้วนมาจากองค์กรที่ประสบความสำเร็จแล้วทั้งสิ้น

ขณะเดียวกันจะมีการเชื่อมโยงการพัฒนาอุตสาหกรรมกับการท่องเที่ยว ภายใต้โครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ CIV โดยตั้งเป้าเพิ่มหมู่บ้าน CIV อีก 11 แห่ง จากที่นำร่องไปแล้ว 9 แห่ง และคาดหวังที่จะดำเนินการให้ครบ 67 หมู่บ้านทั่วประเทศภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจะช่วยผลักดันให้เกิดมูลค่าอุตสาหกรรมชุมชน (OTOP) ในปี 2565 ได้กว่า 1 แสนล้านบาท

สำหรับการดำเนินงานในปี 2561 ยังคงเดินหน้าให้การสนับสนุนในทุกๆ ด้าน รวมถึงร่วมเป็นในการขับเคลื่อนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยทั้งรายใหญ่และรายย่อยให้เดินหน้าพัฒนาธุรกิจอย่างเข้มข้นมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะเห็นได้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมา ทางกรมสามารถดำเนินการโครงการต่างๆ ลุล่วงได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ ทั้งในส่วนของการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ รวมถึงสนับสนุนผู้ประกอบการเดิมมากว่า 12,000 ราย รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตอีกกว่า 3,000 กิจการ คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 8,000 ล้านบาท.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ