แฟชั่นรวดเร็ว ทำคนไทย 40% โละเสื้อผ้าใส่เพียงครั้งเดียวทิ้งขยะ

Business & Marketing

Marketing

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

แฟชั่นรวดเร็ว ทำคนไทย 40% โละเสื้อผ้าใส่เพียงครั้งเดียวทิ้งขยะ

Date Time: 19 ธ.ค. 2560 03:40 น.

Video

คนไทยจ่ายภาษีน้อย มนุษย์เงินเดือนรับจบ ปัญหาอยู่ที่ระบบหรือคนกันแน่ ? | Money Issue

Summary

  • การวิจัยใหม่ของ YouGov เผยแฟชั่นรวดเร็ว ทำให้ 40% ของคนไทยโละทิ้งเสื้อผ้าหลังสวมใส่เพียงครั้งเดียว...

Latest


การวิจัยใหม่ของ YouGov เผยแฟชั่นรวดเร็ว ทำให้ 40% ของคนไทยโละทิ้งเสื้อผ้าหลังสวมใส่เพียงครั้งเดียว...

การวิจัยใหม่ของ YouGov Omnibus ระหว่างวันที่ 20 -30 ต.ค.2560 จากกลุ่มผู้ตอบแบบสำรวจ 1,137 คนในประเทศไทย ผลการสำรวจแสดงถึงประชากรออนไลน์วัยผู้ใหญ่ เผยให้เห็นว่า คนรุ่นมิลเลนเนียล 1 ใน 5 เก็บเสื้อผ้าไว้ไม่ถึงหนึ่งปีก่อนโละทิ้ง

แฟชั่นรวดเร็วเปลี่ยนแปลงวิถีการจับจ่าย การบังเกิดของแฟชั่นที่เข้าถึงและซื้อหาได้ง่ายขึ้น หมายความว่าผู้บริโภคจับจ่ายมากกว่าเมื่อก่อน เสื้อผ้าจำนวนมากมีลูกค้าซื้อหาโดยเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นประมาณ 60% ระหว่างปี 2543 ถึง 2557 เท่านั้น ด้วยรูปแบบใหม่ ๆ ที่เพิ่มขึ้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ ผู้บริโภคจึงไม่ต้องรอให้เปลี่ยนฤดูกาลเพื่อซื้อเสื้อผ้าตามกระแสล่าสุด ห้างร้านตามถนนสายหลักเข้าครองตลาด มากเสียจนตอนนี้แฟชั่นรวดเร็วรายใหญ่อย่างเอช แอนด์ เอ็ม (H&M) มีคุณค่าเป็นสองเท่าของชาแนล (Chanel)
 ขณะที่คนส่วนมากต้อนรับการปฏิวัติวงการแฟชั่น อุบัติเหตุ เช่น โศกนาฏกรรมรานา พลาซา และการกล่าวหาเรื่องการหาผลประโยชน์นำแบรนด์ยอดนิยมอย่าง ซาร่า (Zara) เข้ามาพัวพันจนเกิดคำถามเกี่ยวกับหลักจรรยาของภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ นักวิจารณ์เน้นย้ำถึงผลกระทบที่แบรนด์แฟชั่นรวดเร็ว มีต่อสภาพแวดล้อม ความต้องการเชื้อเพลิง เสื้อผ้าใช้แล้วทิ้งที่มีคาร์บอนสูงในการผลิต และมักจบลงด้วยการฝังกลบ



การวิจัยครั้งล่าสุดของ YouGov Omnibus เผยให้เห็นจำนวนเสื้อผ้าสูญเปล่าในประเทศไทย พบว่าคนไทยวัยผู้ใหญ่ 8 ใน 10 (77%) โละทิ้งเสื้อผ้าไม่มากก็น้อยในปีที่ผ่านมา และ 4 ใน 10 (40%) โละทิ้งเสื้อผ้ามากกว่าสิบชิ้นในปีที่ผ่านมา

 สัดส่วนที่เท่ากัน (40%) โละทิ้งเสื้อผ้าหลังสวมใส่เพียงครั้งเดียว ในปีที่ผ่านมาปีเดียว โดย 1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมด (25%) โละทิ้งเสื้อผ้าอย่างน้อยสามชิ้นที่สวมใส่มากกว่าหนึ่งครั้ง

 44% ของคนรุ่นมิลเลนเนียลซื้อเสื้อผ้าอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา



แฟชั่นคือธุรกิจใหญ่ในประเทศไทย โดยเกือบหนึ่งในห้าของผู้ที่สอบถามความคิดเห็น (18%) คาดว่าตนเองมีเสื้อผ้ามากกว่า 100 ชุด (ไม่รวมชุดชั้นในและเครื่องประดับ) คนรุ่นมิลเลนเนียล (อายุระหว่าง 16 ถึง 34) มีสัดส่วนของเสื้อผ้าใหม่สูงสุด คนรุ่นมิลเลนเนียล 44% กล่าวว่าตนเองซื้อเสื้อผ้าอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของเสื้อผ้าที่มีอยู่ในปีที่ผ่านมาปีเดียว ซึ่งเทียบกับ 11% ของคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ (อายุเกิน 55) ที่กล่าวเช่นเดียวกัน



หนึ่งในห้าของคนรุ่นมิลเลนเนียล (20%) กล่าวว่า โดยปกติตนเองเก็บเสื้อผ้าไว้ไม่ถึงหนึ่งปีก่อนโละทิ้ง คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์มีเพียง 6% ที่กล่าวเช่นเดียวกัน

เกือบหนึ่งในห้า (17%) ทิ้งเสื้อผ้าที่ไม่ต้องการแล้วลงถังขยะ

นอกจากนี้ คนแต่ละรุ่นกำจัดเสื้อผ้าที่ไม่ต้องการแล้วด้วยวิธีที่ต่างกัน ขณะที่คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์มีแนวโน้มมากกว่าที่จะนำเสื้อผ้าไปบริจาค (82% ของคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์เคยทำเช่นนี้ เทียบกับคนรุ่นมิลเลนเนียล 62% ) หรือรีไซเคิล (29% เทียบกับ 20%) ทว่าคนรุ่นมิลเลนเนียลมีแนวโน้มมากกว่าที่จะนำไปขายทางออนไลน์ (17% ของคนรุ่นมิลเลนเนียลทำเช่นนี้ เทียบกับคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ 2%) หรือทิ้งลงถังขยะ (7% ของคนรุ่นมิลเลนเนียลเทียบกับคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ 4%)

อย่างไรก็ตาม คนแต่ละรุ่นกำจัดเสื้อผ้าที่ไม่ต้องการแล้วด้วยวิธีที่ต่างกัน ขณะที่คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์มีแนวโน้มมากกว่าที่จะนำเสื้อผ้าไปบริจาค (82% ของคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์เคยทำเช่นนี้ เทียบกับคนรุ่นมิลเลนเนียล 62% ) หรือรีไซเคิล (29% เทียบกับ 20%) ทว่าคนรุ่นมิลเลนเนียลมีแนวโน้มมากกว่าที่จะนำไปขายทางออนไลน์ (17% ของคนรุ่นมิลเลนเนียลทำเช่นนี้ เทียบกับคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ 2%) หรือทิ้งลงถังขยะ (7% ของคนรุ่นมิลเลนเนียลเทียบกับคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ 4%)
 เหตุผลที่นิยมมากที่สุดเมื่อทิ้งเสื้อผ้า คือ ใส่ไม่ได้แล้ว ซึ่ง 45% ตัดสินใจโละทิ้งเสื้อผ้าเนื่องด้วยเหตุนี้ เหตุผลอื่น ๆ ที่พบบ่อยในการโละทิ้งเสื้อผ้าเพราะ เริ่มมีตำหนิ (เลือกโดยผู้ตอบแบบสำรวจ 37%) และ เพราะชำรุด (เลือกโดย 37%)

เจค กามอน หัวหน้า Omnibus ของ YouGov แสดงความเห็นว่า "แบรนด์แฟชั่นรวดเร็ว" กระตือรือร้นที่จะลบล้างภาพลักษณ์ที่ไม่ยั่งยืน ถึงแม้จะมีความคิดริเริ่มรีไซเคิลต่าง ๆ ของแบรนด์ชั้นนำ การสำรวจนี้ตอกย้ำแต่ละปีว่ามีเสื้อผ้าสูญเปล่ามากมายเพียงใดในประเทศไทย เมื่อมองในภายภาคหน้า มีแนวโน้มที่น่ากังวลในกลุ่มคนรุ่นมิลเลนเนียล ความโน้มเอียงที่จะกำจัดเสื้อผ้าในอัตราที่เร็วขึ้น และใช้วิธีการที่ยั่งยืนน้อยลงกว่าคนรุ่นก่อน บอกเป็นนัยว่าวันข้างหน้านั้นจะมีความยากลำบาก"



ทั้งนี้ในระดับภูมิภาค ผู้บริโภคชาวเวียดนามและจีน มีแนวโน้มสูงสุดที่จะเก็บเสื้อผ้าไว้ไม่ถึงหนึ่งปีก่อนโละทิ้ง โดยมี 27% และ 23% (ตามลำดับ) ในทางกลับกัน ชาวออสเตรเลีย ฮ่องกง และสิงคโปร์มีแนวโน้มน้อยที่สุดที่จะเก็บเสื้อผ้าไว้ไม่ถึงหนึ่งปีก่อนโละทิ้ง - มีเพียง 4%, 6% และ 6% (ตามลำดับ) ที่กล่าวว่าทำเช่นนั้น

แม้ในปีที่ผ่านมา คนไทยมีแนวโน้มสูงสุดที่จะโละทิ้งเสื้อผ้ามากกว่าสามชิ้นซึ่งสวมใส่เพียงครั้งเดียว (17% ที่เป็นเช่นนั้น) ส่วนผู้บริโภคชาวจีนมีแนวโน้มน้อยที่สุด (8% ที่เป็นเช่นนั้น) ในอีกด้านหนึ่ง ชาวฟิลิปปินส์มากถึง 25% ชาวมาเลเซีย 21% และชาวอินโดนีเซีย 21% ไม่ได้โละทิ้งเสื้อผ้าในปีที่ผ่านมา
.


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ