โลกเปลี่ยนไป องค์กรต้องการเปลี่ยนแปลง รับมืออย่างไร หากต้องดีลกับ Baby Boomer หวงอำนาจในที่ทำงาน

Business & Marketing

Leadership & Culture

กองบรรณาธิการ

Author

กองบรรณาธิการ

Tag

โลกเปลี่ยนไป องค์กรต้องการเปลี่ยนแปลง รับมืออย่างไร หากต้องดีลกับ Baby Boomer หวงอำนาจในที่ทำงาน

Date Time: 19 พ.ค. 2566 15:17 น.

Video

“The Summer Coffee Company” มากกว่า เครื่องดื่ม คือ ความสุข | Brand Story Exclusive EP.3

Summary

  • หนึ่งในปัจจัยสำคัญ คือ คน ที่กลายเป็นปัญหาที่ทำให้องค์กรไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะองค์กรที่อยู่มาอย่างยาวนาน มักจะประสบปัญหาในด้าน Generation Gap ช่องว่างของความต่างวัยที่มักจะมีแนวความคิดไปกันคนละทาง
  • เบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer) คือกลุ่มคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2489-2507 ซึ่งเป็นยุคสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ยึดมั่นในเรื่องขนบธรรมเนียม ประเพณี การปกครองแบบเจ้าขุนมูลนาย และทุ่มเทชีวิตให้กับการทำงาน เพราะเชื่อว่าการทำงานหนักและการสร้างคอนเนกชั่นภายในพวกพ้อง เป็นหนทางสู่ความสำเร็จ
  • 5 วิธีรับมือเมื่อต้องดีลกับคนรุ่น Baby Boomer เพื่อให้เขาเปิดใจ

ในยุคดิจิทัลที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กระตุ้นให้องค์กรทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ต้องทรานส์ฟอร์มองค์กรให้เป็นดิจิทัล เพื่อรับมือการถูกดิสรัปและสร้างการเติบโตใหม่ๆ ให้กับธุรกิจ ซึ่งหนึ่งในปัจจัยสำคัญ คือ คน ที่กลายเป็นปัญหาที่ทำให้องค์กรไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะองค์กรที่อยู่มาอย่างยาวนาน มักจะประสบปัญหาในด้าน Generation Gap ช่องว่างของความต่างวัยที่มักจะมีแนวความคิดไปกันคนละทาง โดยเฉพาะคนรุ่น Baby Boomer ที่อยู่มานาน และไม่ยอมรับว่าโลกเปลี่ยนไป องค์กรจึงต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงตาม 


ในบทความนี้ Thairath Money มีทริคมาแชร์สำหรับใครก็ตามที่ประสบปัญหาดังกล่าว ที่อยากสร้างความเปลี่ยนแปลงแต่ติดหล่มอยู่กับการไม่ยอมรับของคนบางกลุ่มในองค์กรว่าจะสามารถรับมืออย่างไรเมื่อคุยกับ Baby Boomer ในที่ทำงานไม่รู้เรื่อง 


ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจ และรู้จักคนรุ่น Baby Boomer กันก่อน 


เบบี้บูมเมอร์ (Baby Boomer) คือกลุ่มคนที่เกิดในช่วง พ.ศ. 2489-2507 ซึ่งเป็นยุคสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 คู่รักได้กลับมาอยู่ด้วยกัน แต่เนื่องจากผลกระทบของสงคราม ทำให้ทุกคนต้องทำงานหนักเพื่อฟื้นฟูประเทศให้กลับมาแข็งแกร่ง พวกเขาจึงนิยมแต่งงานและมีลูกเยอะๆ เพื่อช่วยทำงานพัฒนาประเทศ จึงเป็นที่มาของคำว่า “Baby Boom” 

ปัจจุบันคนรุ่นนี้ มีอายุประมาณ 60 ขึ้นไป ด้วยความที่เติบโตมาในยุคหลังสงครามที่เต็มไปด้วย ความยากลำบาก ทำให้หลายคนต้องหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัวตั้งแต่ยังเด็ก พวกเขาจึงยึดมั่นในเรื่องขนบธรรมเนียม ประเพณี การปกครองแบบเจ้าขุนมูลนาย และทุ่มเทชีวิตให้กับการทำงาน เพราะเชื่อว่าการทำงานหนักและการสร้างคอนเนกชั่นภายในพวกพ้อง เป็นหนทางสู่ความสำเร็จ

ทำอย่างไรเมื่อต้องดีลกับคนรุ่น Baby Boomer เพื่อให้เขาเปิดใจ? 


เคารพความเชื่อ


คาแรกเตอร์ที่เห็นได้ชัดของคนรุ่นนี้คือการยึดมั่นในคุณค่า ขนบธรรมและวัฒนธรรมที่ถูกส่งต่อ มาทั้งจากคนในครอบครัวและองค์กรที่พวกเขาทำงานอยู่  เนื่องจากถูกเลี้ยงดูมาด้วยระบบ ความเชื่อแบบดั้งเดิม พวกเขาจึงให้ความสำคัญกับการทำงานหนัก และทุ่มเทครึ่งนึงของชีวิต ให้กับองค์กรเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน แทนที่จะยัดเหยียดให้พวกเขายอมรับความเปลี่ยนแปลงในทันที การแบ่งปันมุมมองหรือยึดถือคุณค่าร่วมกัน เป็นวิธีการที่สร้างสรรค์ที่สุด ในการพัฒนาความสัมพันธ์กับคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ 


สร้างเป้าหมายร่วมกัน


คนรุ่นนี้ต้องเข้าสู่ระบบแรงงานเพื่อช่วยฟื้นฟูประเทศ หลังสิ้นสุดยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การประสบความสำเร็จในอาชีพกลายเป็นเครื่องชี้ชะตาอนาคต พวกเขาจึงให้ความสำคัญกับการสร้างเป้าหมาย และรู้สึกมีคุณค่าเมื่อต้องพยายาม ผลักดันตัวเองไปสู่เป้าหมาย ดังนั้นการตั้งเป้าหมายในระยะสั้นและระยะยาวร่วมกัน สร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดการแข่งขันในที่ทำงาน จะช่วยกระตุ้นความอยากเอาชนะ และสร้างการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ได้


ขอคำแนะนำจากประสบการณ์ส่วนตัว


การใช้ชีวิตมาอย่างยาวนานของคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ถือเป็นข้อดี เพราะพวกเขาได้เห็นการเปลี่ยนผ่านของสังคมในแต่ละยุค การบ่มเพาะประสบการณ์ที่ยาวนาน ทำให้มีมุมมองที่รอบด้านกว่าคนรุ่นอื่น จึงไม่แปลกที่พวกเขาจะชอบเล่าเรื่องในอดีตของตัวเอง การขอคำแนะนำเรื่องงานจากคนรุ่นนี้ นอกจากจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

แล้วยังทำให้เราได้เรียนรู้วิธีการทำงานผ่านประสบการณ์ของพวกเขาเพื่อนำไปปรับใช้อีกด้วย

เปิดใจด้วยการเสนอตัวให้ความช่วยเหลือ


ด้วยความที่คนรุ่นนี้เกิดและเติบโตมาในยุคที่ต้องกรุยทางสร้างทางเดินชีวิตของตัวเอง โดยไม่มีแบบอย่างหรือคนคอยชี้นำ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหา ทำให้เป็นเรื่องยาก ที่จะเอ่ยปากขอความช่วยเหลือ การเป็นฝ่ายยื่นมือเข้าไปให้ความช่วยเหลือก่อน จะช่วยให้คนกลุ่มนี้เปิดใจและพัฒนาความสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะการให้ความช่วยเหลือในเรื่องที่พวกเขาไม่คุ้นเคย เช่น การใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน นอกจากจะช่วยกระชับความสัมพันธ์แล้ว ยังเป็นการช่วยให้คนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ ได้พัฒนาทักษะด้านดิจิทัลอีกด้วย

สื่อสารต่อหน้าสร้างความประทับใจ


แม้การพัฒนาทักษะดิจิทัลจะเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชาวเบบี้บูมเมอร์ แต่การเติบโตมาในยุคที่ไม่มีมีโทรศัพท์มือถือและโซเชียลมีเดีย ทำให้พวกเขามีทักษะ ในการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างและมารยาททางสังคมที่แข็งแกร่ง และต้องการความสัมพันธ์ที่จับต้องได้ระหว่างคนในสังคม จึงไม่แปลกที่คนรุ่นนี้จะคุ้นชินและสบายใจที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ผ่านการพูดคุยต่อหน้า มากกว่าการสื่อสารทางโซเชียลมีเดีย ดังนั้นการหากิจกรรมทำร่วมกันแบบเห็นหน้า จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการพัฒนาความสัมพันธ์กับคนรุ่นนี้ เช่น การจัดประชุม หรือรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้าง บทสนทนาให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์นำไปสู่การทำงานร่วมกัน

อ้างอิง


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์