บริษัทแม่ Coach ทุ่ม 2.98 แสนล้าน ซื้อกิจการคู่แข่ง ผู้ผลิต Versace-Jimmy Choo แข่งตลาดแบรนด์หรู

Business & Marketing

Corporates

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ

Tag

บริษัทแม่ Coach ทุ่ม 2.98 แสนล้าน ซื้อกิจการคู่แข่ง ผู้ผลิต Versace-Jimmy Choo แข่งตลาดแบรนด์หรู

Date Time: 11 ส.ค. 2566 20:25 น.

Video

3 มาตรการใหม่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ คุมหุ้นร้อนผิดปกติ | Money Issue

Summary

  • Tapestry บริษัทแม่แบรนด์ดังอย่าง Coach, Kate Spade และ Stuart Weitzman เข้าซื้อ Capri Holdings บริษัทแม่ผู้ผลิตแบรนด์ Versace, Jimmy Choo และ Michael Kors มูลค่า 2.98 แสนล้านบาท สร้างความแข็งแกร่ง พร้อมแข่งขันในตลาดแบรนด์หรู

Latest



Tapestry กลุ่มบริษัทแฟชั่นสัญชาติอเมริกัน ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแบรนด์คุ้นหูอย่าง Coach และ Kate Spade มีแผนเข้าซื้อกิจการคู่แข่ง Capri Holdings บริษัทแม่ผู้ผลิตแบรนด์ Versace, Jimmy Choo และ Michael Kors 

ภายใต้ข้อตกลงมูลค่า 8.5 พันล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 2.98 แสนล้านบาท) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในการเข้าซื้อกิจการครั้งใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมแฟชั่นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และทำให้ Tapestry มีอำนาจแข่งขันมากขึ้นในตลาดแบรนด์หรูที่มี LVMH นำมาเป็นอันดับหนึ่ง

ทางด้าน Joanne Crevoiserat ซีอีโอของ Tapestry กล่าวกับสื่อข่าวต่างประเทศว่า เมื่อทั้งสองบริษัทมารวมกันแล้วจะมีขนาดและสเกลที่สามารถเข้าถึงลูกค้าทั่วโลกได้มากขึ้นพร้อมแข่งขันในตลาดแบรนด์หรูได้มากขึ้น

และจะเป็นการรวม 6 แบรนด์ซึ่งเป็นที่จดจำ ได้แก่ Coach, Kate Spade และ Stuart Weitzman ของ Tapestry และ Versace, Jimmy Choo และ Michael Kors จาก Capri โดยเป็นแบรนด์ที่วางขายใน 75 ประเทศทั่วโลก และทำรายได้กว่า 1.2 หมื่นล้านต่อปี (หรือประมาณ 4.2 แสนล้านบาท) 

ขณะที่ John D. Idol ซีอีโอของ Capri ระบุว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้บริษัทมีทรัพยากรและประสิทธิภาพมากขึ้นในการขยายการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทั่วโลก และมั่นใจว่าจะส่งมอบคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นและเพิ่มโอกาสให้กับพนักงานทั่วโลก เนื่องจาก Capri ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทขนาดใหญ่และมีความหลากหลายมากขึ้น

อย่างไรก็ตามการเข้าซื้อกิจการของบริษัทแม่แบรนด์ดังก็ไม่ได้จะดูดีไปซะทีเดียว เพราะทั้งสามแบรนด์ภายใต้ Capri มีรายได้ลดลงในไตรมาสล่าสุด ขณะเดียวกันแบรนด์ใหญ่ที่สุดของ Capri อย่าง Michael Kors ก็ประสบปัญหาจากการลดราคาซึ่งเป็นการลดคุณค่าต่อภาพลักษณ์แบรนด์ส่งผลให้ลูกค้าซื้อสินค้าลดลง.

อ้างอิง :


Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการ