การ์ด (รัฐ) ตกเพราะคนได้สิทธิ์ “วีไอพี” ทำให้ระยองที่ผ่านมาเป๋ไปพักหนึ่ง ก่อนบรรยากาศธุรกิจและภาคท่องเที่ยวในแบบ “ความปกติใหม่” เริ่มกลับมาให้ชาวบ้านใจชื้น
วิกฤติโควิด-19 เป็นคลื่นดิสรัปชันลูกใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ไม่เพียงส่งผลกระทบแบบลูกโซ่ต่อธุรกิจที่พึ่งพารายได้จากต่างประเทศอย่างธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจนำเข้าและส่งออก แม้แต่วิสาหกิจชุมชนก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน
การปรับตัวได้เร็ว คิดหาโอกาสใหม่ๆอยู่เสมอ ลองทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย อาจเป็นวิถีที่จะนำพาพ่อค้า-แม่ขาย รวมทั้งวิสาหกิจชุมชน ให้สามารถปรับตัวสู้โควิด-19 ดิสรัปชันครั้งนี้ได้อย่างยั่งยืน สำหรับพื้นที่จังหวัดระยองนั้น มีชุมชนและวิสาหกิจชุมชนหลายกลุ่มที่ตระหนักถึงความจริงนี้ และพร้อมปรับเปลี่ยนเพื่อให้รอดพ้นวิกฤติ
ซึ่ง ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ก็พร้อมส่งเสริมชุมชนสู่วิถีใหม่เป็น “วิถีออนไลน์” โดยเปิดพื้นที่บน “เฟซบุ๊ก” เป็น ตลาดนัดออนไลน์ “ระยองชอปฮิ” ซื้อ-ขายของดีท้องถิ่นระยอง เพื่อให้พี่น้องชุมชนได้ทดลองขายสินค้าออนไลน์ในแบบฉบับของตนเองซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ที่ชุมชนอาจไม่คุ้น เคยเท่าไรนัก
...
การขายสินค้าออนไลน์ในช่วงโควิด-19 ช่วยให้ชุมชนสามารถโพสต์ขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ให้ความยืดหยุ่นทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ อีกทั้งไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่ต้องจ่ายค่าเช่า จึงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของร้านไปได้ ทำให้พ่อค้า-แม่ขายหลายร้านในจังหวัดระยองเปลี่ยนมาค้าขายทางออนไลน์มากขึ้น
พี่กบ-ลำเพย แว่วเสียง ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดา ต.เนินพระ อำเภอเมืองระยอง จ.ระยอง ประธานกลุ่ม ผู้ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์น้ำ และต่อยอดมาเป็นอาหารทะเลแปรรูป
“หลังจากที่มีสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 วิสาหกิจชุมชนฯขายสินค้าข้ามจังหวัดไม่ได้เลย เราต้องหาวิธีรอดจากจุดวิกฤตินี้ให้ได้ น้องๆจากเอสซีจี ได้แนะนำให้ลองโพสต์ขายทางออนไลน์ ผ่านทางเฟซบุ๊ก “ระยองชอปฮิ” มันน่าสนใจ ผมก็เลยตัดสินใจเข้ากลุ่ม โดยเอสซีจีได้ช่วยสอนวิธีการเขียนโพสต์ขายสินค้า การตั้งราคา วิธีการจัดส่งสินค้า รวมทั้งช่วยหาช่องทางการขายแบบอื่นๆเพิ่มเติมให้ด้วย ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเดือนละ 30,000 -35,000 บาท จากเดิมประมาณ 20,000 บาท และได้รับกระแสตอบรับดีมาก
นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มอายุการเก็บรักษาของอาหารแปรรูป ชุมชนได้ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ด้วยกระบวนการบรรจุแบบไน-โตรเจน ทำให้สินค้าอยู่ได้นาน 2-3 เดือน”
ด้าน พี่ลาวรรณ์ ยั่งยืน ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทิวลิป ชุมชนเนินพยอม จ.ระยอง เดิมทีวิสาหกิจฯจะรวมกลุ่มแม่บ้านผลิตขนมเปี๊ยะ 8 เซียน ซึ่งเอสซีจีได้ช่วยส่งเสริมและแนะนำจนได้รับรางวัลมาตรฐาน อย. แต่ขณะที่ไวรัสโควิด-19 กำลังระบาดหนักช่วงเดือน มี.ค. ทำให้ธุรกิจขนมเปี๊ยะได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก
...
“ช่วงโควิด-19 จากเคยขายได้เป็นแสน กลายเป็นศูนย์ ยังดีที่เราปลูกผลไม้ในสวน จึงสลับมาขายผลไม้แทน แต่เราก็ไม่สามารถไปขายตามตลาดนัดต่างๆได้ เพราะสถานที่ถูกปิดตามมาตรการล็อกดาวน์ในช่วงแรก เมื่อลูกค้าไม่มาหาเรา เราก็ต้องเป็นฝ่ายไปหาลูกค้าเอง พี่จึงตัดสินใจเข้ากรุ๊ป “ระยองชอปฮิ” โดยทีมเอสซีจีได้แนะนำบริการจัดส่งดีลิเวอรี “เอสซีจี เอ็กซ์เพรส” เป็นบริการขนส่งพัสดุย่อยแบบเร่งด่วนที่ช่วยให้พี่ส่งผลไม้ทางไกลได้”
การรักษาความสะอาดและการเว้นระยะห่างในระหว่างการให้บริการ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการค้าขายในยุคโควิด-19 ไม่เว้นแม้แต่การขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ น้องชมพู-ธัญญพัฒน์ สังข์ประเสริฐ สมาชิกชุมชนบ้านบน มาบตาพุด จ.ระยอง ที่เดิมขายมังคุดส่งออกต่างประเทศ แต่เมื่อเจอพิษโควิด-19 จึงปรับมาขายผลไม้ให้คนในชุมชนแทน
“แน่นอนว่าทุกคนต้องปรับตัว เนื่องจากลูกค้าไม่อยากออกจากบ้านเพราะกลัวติดเชื้อโควิด-19 เราก็เริ่มเปลี่ยนระบบการขายเป็นแบบออนไลน์ โดยเริ่มมองหาเพจต่างๆที่สามารถเข้าไปขายผลไม้ได้ และก็ได้รับการแนะนำให้รู้จักเฟซบุ๊ก “ระยองชอปฮิ” เราเห็นว่ามีชุมชนลงขายสินค้ากัน จึงไม่รอช้าที่จะกระจายขายสินค้าของเราในกรุ๊ปนั้นด้วย หลังจากนั้นก็มีโอกาสขยายตลาดในประเทศทดแทนตลาดต่างประเทศที่เราไม่สามารถส่งออกได้ ส่งผลให้ยอดขายมากขึ้นเช่นกัน
...
สำหรับเรื่องมาตรการสุขอนามัยเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ พนักงานจะสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งขณะปฏิบัติหน้าที่ และรักษาระยะห่างด้วยการแจ้งให้ลูกค้าวางเงินไว้หน้าบ้านเลย แล้วพนักงานก็แขวนสินค้าไว้หน้าบ้าน เพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องความสะอาดให้กับลูกค้า”
เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างการปรับตัวของพ่อค้า-แม่ขาย และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จ.ระยอง ซึ่งนำไปสู่วิถีการขายใหม่ของชุมชน การเข้าถึงและเรียนรู้เทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยสำคัญ การใส่ใจเรื่องการจัดส่ง และการดูแลสุขอนามัยเพื่อความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ต้องจัดการให้ดี
ทุกๆวันจึงเป็นการเรียนรู้และปรับตัวร่วมกัน จนกว่าจะถึงจุดสมดุล กลายเป็นวิถีใหม่ที่ยั่งยืนต่อไป...
@เจ๊หม่า