อินไซต์การเดินทางท่องเที่ยวในช่วงหยุดยาวของคนไทยในปี 2567 โดย YouTrip เผยว่า คนไทยนิยมเดินทางไปญี่ปุ่น และจีน ซึ่งเป็นประเทศตัวเลือกหลักในการเดินทาง พร้อมกับยอดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นถึง 150%
อินไซต์การท่องเที่ยวต่างประเทศของนักเดินทางชาวไทยในวันหยุดยาว และช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 ที่ผ่านมา ข้อมูลนี้วิเคราะห์โดย YouTrip ซึ่งพบว่า มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมียอดใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวในต่างประเทศเพิ่มขึ้น 150% เมื่อเทียบกับปีก่อน ปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวคนไทยที่ต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ หลังจากการฟื้นตัวของสถานการณ์โควิด-19 ประกอบกับการมีจุดหมายปลายทางที่ได้รับการยกเว้นวีซ่าเพิ่มมากขึ้น ตามข้อตกลงการเดินทางแบบทวิภาคี
วันที่ 30 เมษายน 2567 YouTrip (ยูทริป) ได้มีการร่วมเสวนากับพันธมิตรที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางท่องเที่ยว ประกอบด้วย เมืองไทยประกันภัย การบินไทย และ Klook (คลูก) เกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว และมีการเผยถึงเทรนด์การท่องเที่ยวต่างประเทศของนักเดินทางไทยในวันหยุดยาวช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2567 พร้อมเจาะลึกไปกับกระแสการท่องเที่ยวในประเทศที่กำลังมาแรง รวมทั้งความชอบและแรงจูงใจที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดลักษณะของนักเดินทางยุคใหม่ในประเทศไทย และจุดหมายปลายทางยอดนิยมของโลก
...
จุฑาศรี คูวินิชกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง YouTrip ประเทศไทย กล่าวว่า “เรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจากเหล่าผู้นำที่ในแวดวงอุตสาหกรรมจากทั้ง เมืองไทยประกันภัย การบินไทย และ Klook ซึ่งการรวมตัวกันของผู้นำในแวดวงอุตสาหกรรมเหล่านี้ ทำให้เราเข้าใจถึงเทรนด์ล่าสุด และแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย รวมทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นสู่การวางแผนสานต่อความร่วมมือกับผู้เล่นหลักในภาคการท่องเที่ยว เพื่อทำให้ทุกการเดินทางสนุกสนาน ไร้รอยต่อ และเข้าถึงได้ง่ายสำหรับทุกคน พร้อมเสริมสร้างศักยภาพให้ทุกคนออกไปสำรวจโลกได้ด้วยความมั่นใจ”
ประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมในช่วงสงกรานต์ 2567
- ประเทศญี่ปุ่น
การที่เงินเยนอ่อนค่าหนุนให้ญี่ปุ่นได้ครองแชมป์จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวไทย YouTrip เผยว่า 1 ใน 3 ของผู้ใช้ที่เดินทางไปต่างประเทศเลือกมุ่งหน้าเดินทางสู่ประเทศญี่ปุ่น ปัจจัยสนับสนุนหลักที่ทำให้ญี่ปุ่นเป็นจุดหมายยอดนิยม คือ วัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยว อาหารท้องถิ่น และแหล่งช็อปปิ้งหรู ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนของญี่ปุ่นที่อ่อนค่าลง (JPY) ยิ่งเป็นแรงผลักดันสำคัญให้การท่องเที่ยวคึกคัก
ทั้งนี้จากข้อมูลการใช้จ่ายของผู้ใช้งาน YouTrip พบว่า การใช้จ่ายเพื่อการช็อปปิ้งสูงเป็นอันดับ 1 ถึง 58% และในหมวดหมู่ประเภทสินค้าของนักท่องเที่ยวที่ไปญี่ปุ่นนิยมซื้อคือ ‘สินค้าแบรนด์หรู’ ที่กลายเป็นส่วนสำคัญของการท่องเที่ยวในญี่ปุ่นของคนไทย โดยมียอดใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ยังพบพฤติกรรมของผู้ใช้มีการแลกเงินบาท (THB) เป็นเงินเยน (JPY) เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
- ประเทศจีน
หนึ่งในประเทศที่ได้รับความสนใจมากขึ้น ทั้งในประเทศจีน รวมถึงประเทศไทยเอง มีแนวโน้มนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 โดยหลังจากมีการประกาศข้อตกลงเดินทางปลอดวีซ่าระหว่างไทยและจีน ในเดือนเมษายน 2567 ทาง YouTrip พบว่า มีปริมาณการทำธุรกรรมเพิ่มขึ้นถึง 466% จนทำให้จีนกลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอันดับ 2 ที่มีการเดินทางไปมากที่สุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยมีเมืองยอดนิยม ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง เซินเจิ้น และเฉิงตู
แม้ประเทศจีนจะมีนักท่องเที่ยวสนใจเดินทางเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยความใหม่ของแหล่งที่เที่ยว ความสะดวกสบาย การเดินทาง รีวิว และคำแนะนำ อาจจะเป็นปัญหาอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตามการฟรีวีซ่าของจีนนี้ผลักดัน “จีน” ให้ผงาดขึ้นเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง และน่าจับตามอง
ด้านมิเชล โฮ ยืนยันว่า “จากนโยบายฟรีซีซ่าไทย-จีน ดึงดูดให้คนไทยเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศจีนมากขึ้น ทำให้ยอดจองทำกิจกรรมต่างๆ ในจีนผ่าน Klook เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า”
ข้อมูลที่น่าสนใจจาก กล่าวว่า “ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ คนไทยเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศจีนจำนวนมาก โดยมียอดการจองตั๋วผ่านการบินไทยเต็ม 100% ทุกเที่ยวบิน ซึ่งปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากนโยบายฟรีวีซ่า”
ทางด้าน จุฑาศรี ผู้ร่วมก่อตั้ง YouTrip กล่าวเสริมว่า “YouTrip ของเราเองยังร่วมกับ Alipay และ WeChat Pay จะช่วยให้การเดินทางไปจีนง่ายขึ้น และช่วยขจัดความยุ่งยากเรื่องการชำระเงินในประเทศจีน ไม่ต้องแลกเงินล่วงหน้า และหมดกังวลเรื่องค่าธรรมเนียม DCC (Dynamic Currency Conversion)”
พฤติกรรม และแรงจูงใจของการท่องเที่ยวต่างประเทศ
...
ประการแรก : “จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวของคนไทยส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีอากาศเย็น โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ได้รับความนิยมสูงสุด เพราะมีแหล่งท่องเที่ยว และวัฒนธรรมหลากหลาย ซึ่งแต่ละพื้นที่มีเสน่ห์แตกต่างกันไป เน้นสถานที่ที่ถ่ายรูปสวย รวมทั้งยังนิยมเที่ยวตามคอนเทนต์ และการรีวิวในโซเชียลมีเดีย” มิเชล โฮ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท Klook ประจำประเทศไทย และฟิลิปปินส์ กล่าว
ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจาก วาสิต ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.เมืองไทยประกันภัย ที่เผยว่า “ที่นักท่องเที่ยวไทยยังคงนิยมเดินทางท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่นเป็นอันดับ 1 เนื่องจาก อากาศที่ดี การเดินทางที่สะดวกสบาย และสถานที่ท่องเที่ยวมีความหลากหลาย โดยหลังโควิด-19 พบว่านักท่องเที่ยวไทยหันมาให้ความสำคัญกับการซื้อประกันเดินทางมากขึ้น ซึ่งนอกจากการคุ้มครองจากประกันพื้นฐาน ยังมีการเพิ่มเรื่องของการประกันของสูญหาย การยกเลิกเที่ยวบิน หรือกรณีเที่ยวบินล่าช้า รวมถึงภัยธรรมชาติ”
รวมถึงพฤติกรรมการเดินทางที่เปลี่ยนไป โดยคนไทยเริ่มกลับมาเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยลักษณะการเดินทางท่องเที่ยวเปลี่ยนไปเป็นแบบ FIT (Free Independent Travelers) ซึ่งเป็นการจองตั๋วเพื่อเดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเองมากกว่าเดิม ซึ่งจากที่ก่อนหน้านี้นิยมใช้บริการจากบริษัททัวร์ ภิรมย์ทิศ ทองแถม ณ อยุธยา หัวหน้ากลุ่มงานการตลาดผลิตภัณฑ์ บมจ. การบินไทย กล่าว
ประการที่สอง : เทคโนโลยีทำให้เกิดความสะดวกสบายในการใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งจุดหมายปลายทางหลักในระยะสั้นและระยะกลางยังคงเป็นประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ไลฟ์สไตล์ของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้เกิด “เทรนด์ช็อปหรู กินอยู่ประหยัด เป็นสิ่งที่พบเห็นมากขึ้น และหลังโควิดระบาดที่ผ่านพ้นไปทำให้เกิดเทรนด์ ‘การเที่ยวล้างแค้นขึ้น’ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะยังคงดำเนินต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง” จุฑาศรี ผู้ร่วมก่อตั้ง YouTrip กล่าว
...
การเข้ามาของเทคโนโลยีจะช่วยตอบโจทย์เรื่องการเดินทางให้นักท่องเที่ยวมีความสะดวกสบายในหลากหลายด้าน ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้คนหันมาเลือกเดินทางด้วยตัวเองมากขึ้น แทนการเที่ยวแบบกลุ่มทัวร์ เช่น Google Map ที่ช่วยให้คนเดินทางได้ง่ายขึ้น ตั้งแต่การจองตั๋วเครื่องบิน และการจองที่พัก รวมถึงการใช้จ่ายก็ไม่จำเป็นต้องพกเงินสด เพราะมีบริการดิจิทัลวอลเล็ตรองรับเงินหลายสกุล นอกจากนี้นักท่องเที่ยวยังมีการคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น ทำให้เห็นความสำคัญในการซื้อประกันออนไลน์ก่อนการเดินทางเพิ่มขึ้นตาม
มิเชล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท Klook ประจำประเทศไทย และฟิลิปปินส์ ได้กล่าวถึงแนวโน้มการท่องเที่ยวหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ “กลุ่มนักท่องเที่ยวมีอายุน้อยลง โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z และ Gen Y ที่นิยมออกเดินทางท่องเที่ยวไปต่างประเทศ เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ รวมทั้งยังเปิดรับจุดหมายปลายทางในประเทศใหม่ๆ เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากญี่ปุ่นและจีน”.
ภาพ : istock