ผลสำรวจพนักงานที่ทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และไอทีในญี่ปุ่นและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบ 90% กำลังเผชิญหน้ากับภาวะหมดไฟ เหนื่อยล้า ขยันน้อยลง ด้วยปัจจัยจากแรงกดดัน งานจำเจ รวมทั้งภัยคุกคามใหม่ๆ ที่เพิ่มมากขึ้น
โซฟอส (Sophos) ผู้ให้บริการด้านนวัตกรรมและความปลอดภัยทางไซเบอร์ เปิดเผยรายงาน “อนาคตของความปลอดภัยทาง ไซเบอร์ในเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น” ฉบับที่ 4 ด้วยความร่วมมือกับ Tech Research Asia (TRA) พบว่า 90% ของผู้ตอบแบบ สอบถามในตำแหน่งงานเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์และไอที กำลังได้รับผลกระทบจากภาวะหมดไฟและความเหนื่อยล้า
ผลการศึกษาพบว่า ภาวะหมดไฟเกิดขึ้นในเกือบทุกด้านของการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดย 30% ของผู้ตอบแบบสอบถามให้ข้อมูลว่า ภาวะ “หมดไฟ” ในการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และ41% บอกว่า ภาวะหมดไฟนี้ทำให้ “ขยันน้อยลง” ขณะที่ 17% บอกว่าภาวะหมดไฟและความเหนื่อยล้าดังกล่าว มีผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยบริษัทกว่า 17% ประสบปัญหาเรื่องเวลาการตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ช้าลงกว่าค่าเฉลี่ย
...
รายงานยังประเมินถึงสาเหตุของภาวะหมดไฟและความเหนื่อยล้ามาจาก 5 ประการหลัก ได้แก่
1.การขาดแคลนทรัพยากรสนับสนุนด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
2.ลักษณะงานประจำที่ซ้ำซากจำเจ
3.ความกดดันที่เพิ่มขึ้นจากผู้บริหารองค์กร
4.การแจ้งเตือนจำนวนมากจากเครื่องมือและระบบต่างๆ
5.ภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้น และการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ ทำให้เกิดความท้าทายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ 4 ประเด็นสำคัญที่ภาวะหมดไฟและความเหนื่อยล้าทางไซเบอร์ มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินธุรกิจ ได้แก่
1.กระทบโดยตรงต่อการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดย 17% ยอมรับว่ากระทบประสิทธิภาพการทำงานด้านการรักษาความปลอดภัย
2.เวลาตอบสนองต่อเหตุการณ์ช้าลง โดย 17% ของบริษัทที่ประสบปัญหา ตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ช้าลงกว่าปกติ
3.สูญเสียประสิทธิภาพการทำงานเฉลี่ย 4.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แบ่งเป็นบริษัทในฟิลิปปินส์ 4.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์, สิงคโปร์ 4.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นอัตราที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด ขณะที่อินเดียและญี่ปุ่น อยู่ที่ 3.6 ชั่วโมง/สัปดาห์ ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด 4.การลาออกของพนักงาน ซึ่ง 23% ระบุความเครียดและภาวะหมดไฟ เป็นสาเหตุโดยตรงของการ ลาออกของผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และไอที โดยสิงคโปร์อยู่ที่ 38% และอินเดีย 31%
ผลการศึกษาของโซฟอส ซึ่งครอบคลุมพนักงานด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ทั่วเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น พบอีกว่า 41% รู้สึกว่าพวกเขาไม่ใส่ใจในการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ, 34% รู้สึกว่ามีระดับความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นหากถูกละเมิดหรือถูกโจมตี, 31% รู้สึกห่างเหิน และเฉยเมยต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความรับผิดชอบของพวกเขา, 30% ระบุว่าทำให้อยากลาออกหรือเปลี่ยนอาชีพ โดย 23% ของผู้ตอบแบบสำรวจได้ลาออกแล้ว และ 10% รู้สึกผิดที่ไม่สามารถทำหน้าที่ได้มากกว่านี้.
คลิกอ่านคอลัมน์ “บทความไซเบอร์เน็ต” เพิ่มเติม