ผลการศึกษาล่าสุดชี้ให้เห็นว่าเมื่อ AI ถูกนำมาใช้อย่างเต็มศักยภาพเมื่อใด บุคลากรไทยที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญด้าน AI จะมีโอกาสได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นมากกว่า 41% โดย 2 หมวดงานที่มีโอกาสเพิ่มรายได้สูงที่สุดคือด้าน IT (54%) และด้านการดำเนินธุรกิจ (51%)

แอมะซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) บริษัทในเครือ Amazon.com ร่วมมือกับบริษัท Access Partnership ทำการศึกษาในหัวข้อ “การยกระดับทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) : การเตรียมความพร้อมบุคลากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสู่งานแห่งอนาคต” เพื่อให้เข้าใจถึงแนวโน้มการใช้งาน AI ที่กำลังเกิดขึ้นและทักษะที่เป็นที่ต้องการ โดยสำรวจจากพนักงานกว่า 1,600 คนและนายจ้าง 500 รายในประเทศไทย

การศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เมื่อปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ถูกนำมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ บุคลากรไทยที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญด้าน AI จะมีโอกาสได้ค่าจ้างเพิ่มมากกว่า 41% โดย 2 หมวดที่มีโอกาสสูงที่สุดคือด้าน IT (54%) และด้านการดำเนินธุรกิจ (51%)

...

นอกจากโอกาสในการเพิ่มค่าจ้างแล้ว บุคลากร 98% ยังคาดว่าการเพิ่มทักษะด้าน AI จะส่งผลให้พวกเขามีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การเพิ่มความมั่นคง ขณะที่ความสนใจในการพัฒนาทักษะ AI เพื่อความก้าวหน้ามีอยู่ในทุกกลุ่มอายุ โดยคนในวัยที่ต้องการเรียนรู้ทักษะด้าน AI สูงที่สุดคือกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ ซึ่งเป็นประชากรที่มักอยู่ในวัยเกษียณในสัดส่วน 97% ขณะที่เจน X และ เจน Y อยู่ที่ 95% และเจน Z อยู่ที่ 93% โดยพวกเขาต้องการเรียนหลักสูตรเพื่อยกระดับทักษะด้าน AI หากได้รับโอกาส

ผลการศึกษายังพบว่า บรรดานายจ้างมองว่าหากพนักงานมีทักษะด้าน AI แล้ว คาดว่าประสิทธิภาพขององค์กรจะเพิ่มขึ้น 58% เนื่องจากเทคโนโลยี AI สามารถพัฒนาการสื่อสารได้ 66% ปรับงานซ้ำซ้อนให้เป็นระบบอัตโนมัติได้ 65% และส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆได้ 60%

นอกจากนั้น 98% ของนายจ้าง ยังมองว่าบริษัทของตนจะปรับเปลี่ยนสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย AI ภายในปี 2571 โดยนายจ้างส่วนใหญ่ (97%) เชื่อว่าแผนก IT จะได้รับประโยชน์มากที่สุด รวมไปถึงฝ่ายวิจัยและพัฒนา (95%) ฝ่ายการเงิน (95%) ฝ่ายการดำเนินธุรกิจ (94%) ฝ่ายขายและการตลาด (93%) ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (91%) และฝ่ายกฎหมาย (90%)

อภินิต คาอุล ผู้อำนวยการบริษัท Access Partnership กล่าวว่า คลื่นยุคใหม่แห่ง AI กำลังขยายตัวทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมไปถึงประเทศไทย และกำลังเปลี่ยนวิธีดำเนินธุรกิจและวิธีการทำงานไปอย่างสิ้นเชิง โดย Generative AI เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของ AI ที่สามารถสร้างสรรค์เนื้อหาและไอเดียใหม่ๆได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นบทสนทนา นิยาย รูปภาพ วิดีโอ เพลง และอื่นๆอีกมากมาย ทำให้เป็นที่นิยมและได้รับความสนใจอย่างมากในปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีนี้ได้พลิกโฉมการทำงานขององค์กรต่างๆในประเทศไทย โดย 98% ของนายจ้างและลูกจ้างคาดว่าจะมีการนำเครื่องมือด้าน Generative AI มาใช้ในที่ทำงานภายในห้าปีข้างหน้า

ผลการศึกษานี้ ยังเปิดเผยให้เห็นถึงปัญหาขาดแคลนทักษะด้าน AI ในบุคลากรไทยที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยการจ้างบุคลากรที่มีทักษะด้าน AI เป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆสำหรับนายจ้างชาวไทยกว่า 9 ใน 10 ราย แต่ 64% กลับประสบปัญหาในการสรรหาบุคลากรที่มีทักษะด้าน AI ที่เพียงพอ นอกจากนี้ ผลการศึกษายังเผยให้เห็นถึงช่องว่างด้านการฝึกอบรม โดย 89% ของนายจ้างระบุว่า พวกเขาไม่รู้วิธีการดำเนินโครงการฝึกอบรมบุคลากรด้าน AI.

คลิกอ่านคอลัมน์ "บทความไซเบอร์เน็ต" เพิ่มเติม