Huawei Connect 2023 (หัวเว่ย คอนเน็กต์) มหกรรมเทคโนโลยีประจำปีครั้งใหญ่ของแบรนด์หัวเว่ย ได้เผย การดำเนินกลยุทธ์ของ All Intelligent ที่กำลังจะเกิดขึ้น ภายในเวลาอันใกล้นี้ เพื่อร่วมเป็นหนึ่งในการผลักดัน ส่งเสริม และพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก

Huawei Connect 2023 (หัวเว่ย คอนเน็กต์) จัดขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ในวันที่ 20 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา งานมหกรรมเทคโนโลยีครั้งใหญ่ของหัวเว่ยที่ได้เชิญชวนเหล่าผู้นำทางธุรกิจ เศรษฐกิจ พันธมิตร นักพัฒนา และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ในหลากหลายอุตสาหกรรมทั่วโลกมารวมตัวกัน เพื่อร่วมมองหาโอกาสใหม่ๆ สำหรับอนาคตโลกที่กำลังก้าวสู่สังคมยุคใหม่ เจาะลึกทางด้าน AI และพรีเซนต์นวัตกรรมที่จะมาส่งเสริมศักยภาพให้แก่อุตสาหกรรมต่างๆ ภายในงานนี้

ซาบริน่า เมิ่ง (Sabrina Meng) ประธานกรรมการบริษัทหมุนเวียนตามวาระ และผู้บริหารสูงสุดด้านการเงินของหัวเว่ย เปิดเผยกลยุทธ์ของ All Intelligence ว่า เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องจากทางหัวเว่ยในด้าน AI พื้นฐาน เพื่อสร้างระบบการประมวลผลที่แข็งแกร่งสำหรับเทคโนโลยีของจีน และก้าวมาเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีทางเลือกหนึ่งของโลก ที่รองรับโมเดล AI และแอปพลิเคชันที่หลากหลายกับทุกอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

...

ซาบริน่า เมิ่ง (Sabrina Meng) ประธานกรรมการบริษัทหมุนเวียนตามวาระ และผู้บริหารสูงสุดด้านการเงินของหัวเว่ย
ซาบริน่า เมิ่ง (Sabrina Meng) ประธานกรรมการบริษัทหมุนเวียนตามวาระ และผู้บริหารสูงสุดด้านการเงินของหัวเว่ย

จุดประสงค์หลักของงาน คือ ความมุ่งมั่นของ หัวเว่ย ที่เป็นกระดูกสันหลังด้าน AI ที่แข็งแกร่งสำหรับประเทศจีน และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้แก่เทคโนโลยีโลกให้แก่คู่ค้าในธุรกิตต่างๆ ซาบริน่า เมิง กล่าวว่า “เราจะเสริมสร้างการทำงานร่วมกันระหว่างฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ชิป เอดจ์ อุปกรณ์ และคลาวด์ เพื่อช่วยตอบสนองความต้องการการประมวลผล AI ที่หลากหลายของอุตสาหกรรมต่างๆ โดยมีความสมบูรณ์ในการใช้งานมากที่สุด" 

เมิ่ง กล่าวเสริมว่า หัวเว่ยมีประสบการณ์ในการร่วมมือกับอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อผลักดันเทคโนโลยี และการสื่อสาร โดยเริ่มต้นด้วย All IP ในการสนับสนุนงานเทคโนโลยีสารสนเทศ และ All Cloud ที่รองรับการเปลี่ยนผ่านข้อมูลบนโลกดิจิทัล ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์เริ่มได้รับความนิยม โดยเข้ามามีผลกระทบต่ออุตสาหกรรม และเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีกลยุทธ์ที่ชื่อว่า All Intelligence ของหัวเว่ย ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ทุกอุตสาหกรรมใช้ประโยชน์จากโอกาสเชิงกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่นำเสนอโดย AI ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

“Accelerating Intelligent Transformation” คือ หนึ่งในไฮไลต์ที่ทางหัวเว่ยได้พรีเซนต์ ซึ่งเปรียบเสมือนสมุดบันทึกข้อมูลที่ได้รวบรวมกรณีศึกษาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ทางออกในการแก้ปัญหา วิธีใช้งานที่ทำให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด เพื่อช่วยผลักดันให้ทุกอุตสาหกรรม ได้คำแนะนำ และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อช่วยให้สามารถประยุกต์ใช้  AI ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเข้าถึงความเป็นอัจฉริยะของเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็วตามคอนเซปต์

...

หัวเว่ย ได้เน้นย้ำถึงการผลักดัน AI ใน 9 อุตสาหกรรม ด้วยแนวทางต่างๆ ของหัวเว่ย ที่ได้เคยทำงานร่วมกับคู่ค้ามาแล้ว และสามารถตอบสนองความต้องการเฉพาะของอุตสาหกรรมต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างดี ประกอบไปด้วย

  • การเงิน
  • หน่วยงานรัฐบาล
  • การผลิต 
  • การขุดเจาะ 
  • ระบบพลังงาน
  • พลังงานไฟฟ้า 
  • การคมนาคม 
  • การรถไฟ
  • กรมอุตุนิยมวิทยา

กรณีตัวอย่างในอุตสาหรกรรมคมนาคม China West Airport Group (CWAG) ที่ได้รวมถึงอัลกอริธึมขั้นสูงในอุตสาหกรรมจากหัวเว่ย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวทางการจัดการภาคพื้นดินอัจฉริยะ ที่สามารถคาดการณ์ และแจ้งเตือนตามสถานะเที่ยวบิน ผู้โดยสาร และทรัพยากรแบบเรียลไทม์ ช่วยให้บริษัทจัดส่งพนักงาน และกำหนดเวลาเที่ยวบินได้อย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้น โซลูชันนี้ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการภาคพื้นดินขึ้น 20% ลดเวลาตอบสนองลง 17% แนวทางอัจฉริยะที่สนามบินใช้ ยังเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนเที่ยวบิน เพื่อค้นหาความเหมาะสมที่สูงสุดให้แก่ผู้เดินทาง ด้วย AI ที่เข้ามาช่วยเหลือในการปฏิบัติการนี้

...

ภายในงานยังมีการเปิดตัว Atlas 900 SuperCluster คลัสเตอร์การประมวลผล AI ตัวใหม่ล่าสุดในผลิตภัณฑ์ประมวลผลซีรีส์ Ascend ของหัวเว่ย ที่ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสมสำหรับการฝึกโมเดลพื้นฐาน AI ขนาดใหญ่ที่มีพารามิเตอร์มากกว่าหนึ่งล้านล้านพารามิเตอร์ สามารถเชื่อมต่อได้มากถึง 2,250 โหนดต่อคลัสเตอร์ เทียบเท่ากับ 18,000 NPU ที่จะมายกระดับความเร็ว และประสิทธิภาพ ของ AI ในแต่ละอุตสาหกรรมให้มากกว่าเดิม