สาขา Digital International Corporation of the Year สำหรับองค์กรข้ามชาติ

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด คว้ารางวัล “พีเอ็ม ดิจิทัล อวอร์ด 2020" ประเภท “Digital International Corporation of the Year” นับเป็นเครื่องยืนยันการสนับสนุนอันทรงคุณค่า และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไทยอย่างต่อเนื่องของหัวเว่ย นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทในประเทศไทยเมื่อ 21 ปีก่อน รวมถึงความทุ่มเททำงาน เพื่อร่วมขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในประเทศไทย โดยหัวเว่ย เป็นบริษัทต่างชาติที่ได้รับรางวัลนี้

โดย นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เข้ารับรางวัลจาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความยินดี พร้อมชื่นชมคนรุ่นใหม่ที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในเชิงสร้างสรรค์ ต่อยอด และสร้างธุรกิจใหม่ๆ ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้ เพื่อก้าวหน้าไปพร้อมกัน ก่อนเสริมว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบ 5G และ AI เพื่อนำมาขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคต และหวังให้ความสำเร็จในวันนี้เป็นแรงบันดาลใจส่งต่อไปยังนิสิต นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์ และเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างอนาคตใหม่ให้กับประเทศ และขอให้ช่วยกันขับเคลื่อนประเทศไทยต่อไป

สำหรับรางวัล PM’s Digital Awards เป็นรางวัลที่มอบให้สำหรับผู้ที่มีผลงานโดดเด่นด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล โดยประเภทรางวัล PM’s Special Award: Digital International Corporation of the Year นั้น มีการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกองค์กรที่จะได้รับรางวัลนี้ไว้ในหลายด้าน ได้แก่ มีการวิจัยพัฒนาดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมทั้งภาคธุรกิจหรือบริการและสังคม มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม 

รวมถึงความมั่นคงปลอดภัยสำหรับประชาชน มีการลงทุนในประเทศไทยจนก่อให้เกิดการสร้างงาน การพัฒนาทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ช่วยต่อยอดสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติ โดยหัวเว่ยมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์การคัดเลือก และได้รับคะแนนสูงสุดจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มาร่วมพิจารณาผลงานของผู้เข้าประกวดในครั้งนี้” 

นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวว่า เทคโนโลยีดิจิทัลของหัวเว่ยมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมที่ทำให้เกิดประโยชน์ในภาพสังคม อาทิ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การดูแลความปลอดภัยของระบบ วิกฤติด้านสาธารณสุข และอื่นๆ รวมถึง โซลูชัน AI และเทคโนโลยี 5G มาใช้ในโรงพยาบาลเพื่อสนับสนุนทีมแพทย์ได้อย่างทันท่วงที เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และดีป้า เพื่อเปิดศูนย์ “Thailand 5G Ecosystem Innovation Center (5G EIC)” เร่งผลักดันการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี 5G และผสานความร่วมมือของทั้งระบบนิเวศ อันจะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านธุรกิจของประเทศต่อไป ทั้งนี้ขอแสดงความยินดีกับหัวเว่ยกับรางวัลที่ได้รับในครั้งนี้ และขอบคุณสำหรับความตั้งใจในการร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยอย่างดีมาโดยตลอด 

“รางวัลในปีนี้เป็นอีกหนึ่งเครื่องยืนยันถึงความเป็นผู้นำของหัวเว่ยในอุตสาหกรรมดิจิทัลของไทย และยังเป็นการตอกย้ำพันธกิจของหัวเว่ยในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่ทุกคน ทุกบ้าน และทุกองค์กร”  

ส่วนปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ทำให้บริษัทได้รับรางวัลพิเศษในปีนี้ ได้แก่   

การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

ศูนย์โอเพ่น แล็บ กรุงเทพ ศูนย์สนับสนุนแบบวัน-สต็อป ในการจัดหาโซลูชันอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์, บิ๊กดาต้า และคลาวด์คอมพิวติ้ง แพลตฟอร์มการตรวจสอบ และบริการฝึกอบรมด้านไอซีทีสำหรับลูกค้าและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไอซีทีในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การทดสอบ 5G ในอีอีซี จัดการทดสอบเทคโนโลยี 5G (5G Test Bed) ในรูปแบบการใช้งานจริง ครั้งแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา (เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก)

ศูนย์ 5G EIC (Thailand 5G Ecosystem Innovation Center) ก่อตั้งขึ้นร่วมกับสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยศูนย์นี้จะทำหน้าที่เป็น Sandbox สำหรับธุรกิจเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ นักพัฒนา สถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลสำหรับแอปพลิเคชันและบริการ 5G เร่งบ่มเพาะบุคลากรดิจิทัลคนรุ่นใหม่ของประเทศ และยกระดับทักษะด้านดิจิทัล

การพัฒนาเพื่อความก้าวหน้าทางสังคม

โซลูชั่น AI สำหรับโรงพยาบาลรัฐ ซอฟต์แวร์ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI และ 5G ที่มอบให้แก่โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลศิริราช เพื่อช่วยให้การวินิจฉัยโรคโควิด-19 เป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โซลูชันวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เพื่อการแพทย์ทางไกลของหัวเว่ย สำหรับกระทรวงสาธารณสุข ระบบประชุมทางไกลแบบเรียลไทม์ที่ครอบคลุมฟังก์ชันหลากหลาย ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ แพทย์สามารถให้คำปรึกษาผ่านออนไลน์ทางไกลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ผู้ป่วยก็จะได้รับการวินิจฉัย รักษา และติดตามผลผ่านอุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์ของตนเองได้

รถอัจฉริยะไร้คนขับ ด้วยเทคโนโลยี 5G ทำหน้าที่ขนส่งเวชภัณฑ์และครุภัณฑ์ทางการแพทย์ภายในโรงพยาบาล เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อของบุคลากรแนวหน้า

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

หัวเว่ย อาเซียน อะคาเดมี จับมือเป็นพันธมิตรมหาวิทยาลัยด้านธุรกิจ วิศวกรรม และเทคโนโลยี เพื่อสร้างบุคลากรด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลให้ได้ 100,000 คน ภายใน 5 ปี

คอร์ส 5G อบรมโดยผู้เชี่ยวชาญระดับโลกและทีมนักวิทยาศาสตร์จากหัวเว่ย หัวข้อการอบรม ได้แก่ เทรนด์ 5G แผนการให้บริการเชิงพาณิชย์ มาตรฐาน 5G กรณีการใช้งานโมเดลธุรกิจจาก 5G เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการคิดแบบหลากมิติ