"FOMO" ในวงการคริปโตเคอร์เรนซีกำลังถูกพูดถึงอีกครั้ง หลังราคาบิตคอยน์พุ่งทะลุ 2 ล้านบาท ทำให้กระแสการลงทุนเหรียญดิจิทัลเริ่มกลับมาคึกคัก แต่ขณะเดียวกันก็มีคำศัพท์ FOMO ที่อธิบายถึงอาการ และพฤติกรรมของนักลงทุนในตลาดได้ดี

"FOMO" คืออะไร เช็กโรคกลัวตกกระแส พร้อมความหมายในวงการคริปโตฯ

บทความนี้ ไทยรัฐออนไลน์จะพามาทำความรู้จักว่า FOMO คืออะไร และมีความหมายอย่างไรเมื่อถูกนำไปใช้ในวงการคริปโตฯ

...

ทำความรู้จัก "FOMO" คืออะไร ย่อมาจากอะไร?

FOMO คือ อาการกลัวตกกระแส ย่อมาจากคำว่า Fear of Missing Out สื่อถึงอาการที่ไม่อยากพลาดกระแสสำคัญบนโลกออนไลน์ กลัวว่าจะพลาดประเด็นสำคัญ ทำให้ตัวเองตกกระแส จึงมีพฤติกรรมติดตามเทรนด์ตลอดเวลา เช่น อาจกลายเป็นคนที่ติดมือถือ ใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อติดตามอ่านข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางสังคมตลอดเวลา ทั้งนี้คำว่า FOMO ถูกนำมาใช้ในหลายวงการธุรกิจ โดยเฉพาะวงการนักเทรด และนักลงทุน

ความหมายของกระแส FOMO ในวงการคริปโตฯ คืออะไร?

คำศัพท์ "FOMO" ในวงการคริปโตฯ คือ อาการที่บรรดานักลงทุนใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล ในการพุ่งเข้าซื้อหุ้น หรือเหรียญดิจิทัลบางตัวที่กำลังมีราคาพุ่งสูงขึ้น เพราะกลัวจะเข้าสู่กระแสขาขึ้นไม่ทันนักลงทุนคนอื่น โดยไม่คำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ ที่ทำให้หุ้น หรือเหรียญดิจิทัลนั้นพุ่งสูงขึ้น รวมไปถึงบางคนไม่ได้รู้จักเหรียญนั้นเลยด้วยซ้ำ แต่รีบซื้อเพราะกลัวตกกระแสนั่นเอง จึงทำให้อาการ FOMO จะเน้นไปที่การใช้อารมณ์ และความโลภในการลงทุนเสียมากกว่า

นอกจากนี้ กระแส FOMO ทางคริปโตฯ ก็จะมีคำศัพท์เรียกกันว่า "อาการกลัวตกรถ" มีความหมายเปรียบเทียบว่า รถกำลังจะเริ่มออกเดินทางแล้ว แต่เรากลับพลาด ไม่ได้ขึ้นรถคันนั้นไปด้วย ซึ่งหมายถึงเหรียญที่ราคากำลังพุ่ง กราฟพุ่งขึ้นสูง แต่เราไม่ได้รีบซื้อไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ทำให้พอจะเข้าซื้อหุ้น หรือเหรียญดิจิทัลนั้นมีราคาสูงแล้ว

...

ทั้งนี้ หากเรากำลังถูกขับเคลื่อนไปตามกระแส FOMO โดยเน้นใช้อารมณ์ และความโลภเป็นตัวนำมากกว่าเหตุผลและแผนการลงทุน ก็อาจส่งผลให้นักลงทุนรายใหม่จำนวนมากต้องซื้อสินทรัพย์ในราคาสูง แต่กลับขายได้ในราคาต่ำนั่นเอง

นักลงทุนรายใหม่ควรรู้ รับมือกับ "FOMO" แบบไม่ต้องกลัวตกกระแส

  • อย่าเพิ่งรีบเข้าซื้อสินทรัพย์ดิจิทัลตามกระแส หากทราบข่าวว่าสินทรัพย์นั้นกำลังได้รับความนิยม หรือทำกำไรสูงมาก เพราะราคาเข้าซื้อ-ราคาขายของนักลงทุนแต่ละรายย่อมมีความแตกต่างกัน
  • เน้นการลงทุนตามความเสี่ยงที่ตนเองรับได้ หากจะตัดสินใจลงทุนโดยไม่ใช้เหตุผล ต้องแน่ใจว่าสามารถพร้อมรับความเสี่ยงนั้นได้
  • หลีกเลี่ยงการซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิทัลตามกระแส หรือตามบุคคลมีชื่อเสียง โดยขาดความรู้ความเข้าใจในสินทรัพย์นั้น
  • ติดตามข่าวสารและเทรนด์บนโซเชียลมีเดียจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ และอย่าลืมตรวจสอบที่มาของข้อมูลให้รอบคอบ
  • ลงทุนตามแผนที่ตัวเองวางไว้ และบันทึกการซื้อ-ขายเพื่อสะสมประสบการณ์ลงทุน หากแนวทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม