ในแต่ละปีผู้ยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะต้องศึกษาเงื่อนไขของกองทุนระยะสั้น และกองทุนระยะยาวต่างๆ เพื่อเป็นการลงทุน และมีผลลดหย่อนภาษีด้วย โดยปี 2563 นี้ กองทุน SSF เริ่มเปิดขายเป็นครั้งแรก ดังนั้นผู้ที่จะซื้อกองทุนระยะสั้นเพื่อลงทุนออม หรือลดหย่อนภาษีของปีภาษี 2563 (1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2563) จะต้องศึกษาเงื่อนไขของกองทุน SSF (Super Savings Fund)
กองทุน SSF คืออะไร
กองทุน SSF มีชื่อเรียกว่า “กองทุนรวมชนิดเพื่อการออม” เป็นกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว โดยกองทุนนี้จะนำเงินลงทุนไปซื้อกองทุนรวมได้ทุกประเภท ผู้ลงทุนไม่ต้องซื้อต่อเนื่องกันทุกปี และไม่มีขั้นต่ำในการซื้อขาย
แต่เงื่อนไขการใช้กองทุน SSF ลดหย่อนภาษีนั้น ใช้ลดหย่อนได้เพียง 5 ปี (ซื้อได้ในปีภาษี 2563 - 2567 เท่านั้น) ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อปี และซื้อได้ไม่เกิน 200,000 บาท
กองทุน SSF เปิดขายแล้ว ตั้งแต่ 1 เมษายน 2563
...
ผู้ลงทุนสามารถซื้อกองทุน SSF ได้แล้ว โดยเริ่มเปิดขายตั้งแต่ 1 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา แต่ละ บลจ. จะกำหนดช่วงเวลาซื้อขายและปิดการซื้อขายไว้อย่างชัดเจน รายละเอียดกองทุน SSF นี้มีระยะเวลาถือครอง 10 ปี บริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ เปิดเสนอขายกองทุนรวมชนิดเพื่อการออมนี้หลายแบบ ทั้งจาก บลจ. ในเครือธนาคารต่างๆ และจาก บลจ. อื่นๆ ก็มีให้เลือกอยู่มาก เมื่อพิจารณาว่าจะซื้อกองทุน SSF ตัวไหนดี ต้องดูถึงความต้องการของตัวเอง อาทิ
- ผู้ลงทุนติดเงื่อนไขการลงทุนอยู่กับกองทุนอื่นที่ต้องจ่ายทุกปีอยู่หรือไม่? และหากต้องการลงทุนกับ กองทุน SSF แล้ว มีงบประมาณแบ่งมาลงทุนเพียงพอหรือไม่ เพราะหากต้องขายกองทุน SSF คืนก่อนครบกำหนด 10 ปี จะต้องคืนภาษีแก่รัฐด้วย
- มีแผนการใช้เงินในอนาคตอย่างไร เพราะ SSF กำหนดว่าจะต้องถือหน่วยลงทุนอย่างน้อย 10 ปี
รับความเสี่ยงได้แค่ไหน กองทุน SSF มีความผันผวนน้อยกว่า SSFX ตรงที่ไม่ต้องลงทุนในหุ้นไทยถึง 65% - มีฐานภาษีถึงเกณฑ์ที่ได้รับสิทธิ์ลดหย่อนจากกองทุน SSF หรือไม่
- ต้องการซื้อทีเดียว หรือทยอยซื้อ โดยต้องเข้าไปดูเงื่อนไขนโยบายการลงทุนให้ดีก่อน เพื่อจะได้ไม่พลาดสิทธิประโยชน์ต่างๆ หลังการซื้อขาย
เงื่อนไขกองทุน SSF มีอะไรบ้าง
- ระยะเวลาลงทุน : ถือครอง 10 ปีขึ้นไป
- ความต่อเนื่องในการลงทุน : ไม่ต้องลงทุนทุกปี
- ลดหย่อนภาษี : ลงทุนปีไหน ลดหย่อนภาษีในปีนั้น (ระยะเวลาลดหย่อนภาษี ปีภาษี 2563 - 2567)
- ขั้นต่ำลงทุน : ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของ บลจ.
- จำนวนเงินลงทุนสูงสุดต่อปี : ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียต่อปี และไม่เกิน 200,000 บาท
- กรณีผิดเงื่อนไข : ขายคืนก่อนครบ 10 ปี จะต้องคืนภาษีทั้งหมดที่ได้รับการยกเว้น และต้องจ่ายเงินเพิ่ม 1.50% ต่อปีคืนให้รัฐ โดยนับย้อนหลังตั้งเดือนเมษายนของปีที่เสียภาษี และอาจมีเงื่อนไขอื่นๆ ตามข้อกำหนดของ บลจ.
นอกจากนี้ยังมีกองทุน SSF พิเศษ ซึ่งปิดการซื้อขายไปแล้วในวันที่ 30 มิ.ย. 2563 ที่ผ่านมา โดยมีเงื่อนไขต่างกันกับกองทุน SSF ปกติเพียงเล็กน้อยในส่วนที่ลงทุนเฉพาะหุ้นไทยไม่เกิน 65% สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการซื้อขายกองทุน SSF หรือ SSF พิเศษ ติดตามได้จากข่าวสารของ บลจ. ต่างๆ อีกครั้ง