วิธีล้างจมูก ทำได้ตั้งแต่วัยทารกและผู้ใหญ่ บรรเทาอาการคัดจมูก หายใจไม่ออก จากฝุ่น น้ำมูก ทำได้กับคนที่มีอาการป่วยภูมิแพ้ หรือรู้สึกไม่สบายตัวจากการรับฝุ่นเข้าไปในโพรงจมูก หลักการวิธีล้างจมูกต้องใช้น้ำเกลือที่สะอาด และมีวิธีการซับที่ถูกต้อง ป้องกันการติดเชื้อในโพรงจมูก มาดูกันว่าวิธีล้างจมูกที่ถูกต้อง ทำอย่างไร

วิธีล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ผู้ใหญ่

การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ เป็นการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันที่ยืนยันความปลอดภัย เพิ่งได้รับความนิยมเป็นวงกว้างในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ การล้างจมูกช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ เริ่มต้นควรเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ดังนี้

วิธีการล้างจมูกผู้ใหญ่ และเด็กโต

1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม

...

เทน้ำเกลือไว้ในภาชนะที่สะอาด หากไม่มั่นใจว่าสะอาดหรือไม่ ล้างน้ำเปล่าก่อน แล้วผึ่งให้แห้ง

2. ดูดน้ำเกลือขึ้นมา 5 cc.

ใช้หลอดฉีดยาดูดน้ำเกลือขึ้นมา เพื่อล้างจมูกข้างละ 5 cc. หรือในปริมาณที่พอเหมาะ

3. ตะแคงหน้า

ตะแคงหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง กลั้นหายใจ ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในรูจมูกข้างหนึ่ง

4. โน้มตัวไปข้างหน้า

ก้มหน้า โน้มตัวไปข้างหน้า เพื่อไม่ให้น้ำเกลือไหลเปรอะเสื้อผ้า ฉีดน้ำเกลือซ้ำจนกว่าจะรู้สึกสบายตัว

5. ใช้ผ้าซับ

ใช้ผ้าสะอาดซับน้ำเกลือออกเบาๆ ไม่ควรถู ป้องกันการเสียดสีแสบจมูก

ปัจจุบันนี้เพื่อความสะดวกของผู้ใช้น้ำเกลือล้างจมูก มีวิธีการล้างจมูกที่ง่ายกว่าด้วยการใช้ขวดบีบน้ำเกลือที่มาพร้อมกับจุกล้างจมูก (ดูขวดล้างจมูกได้ที่นี่) หรือบางคนต้องการอุปกรณ์ล้างจมูกพกพาเดินทางไปต่างประเทศ ขึ้นเครื่องบิน เพื่อลดน้ำหนักการเดินทางจึงแยกเป็นผงเกลือออกมาไว้ผสมกับน้ำสะอาดได้

วิธีล้างจมูกเด็กทารก

1. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม

เตรียมอุปกรณ์สำหรับล้างจมูกเด็กทารกให้พร้อม ได้แก่ น้ำเกลือ, ลูกยางแดง, ผ้าอ้อมสำหรับซับน้ำมูก และผ้าห่อตัวเด็ก

วิธีการล้างจมูกเด็กทารก อายุต่ำกว่า 6 เดือน หรือในเด็กทารกที่มีอาการเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ ควรใช้น้ำเกลือประเภท น้ำเกลือ Normal Saline 0.9% เพียงอย่างเดียว ไม่ควรใช้ผงเกลือแกงมาผสมเอง

น้ำเกลือล้างจมูกสำหรับเด็กทารก 3 ml. แบบใช้แล้วทิ้ง
น้ำเกลือล้างจมูกสำหรับเด็กทารก 3 ml. แบบใช้แล้วทิ้ง

น้ำเกลือล้างจมูกเด็กทารกแบบหลอด บรรจุน้ำเกลือ 3 ml. เป็นทางเลือกให้กับเด็กเล็กอายุหลักวัน ที่มีอาการคัดจมูก หลอดแบบนี้ใช้แล้วทิ้ง ไม่ควรนำกลับมาหยดใช้อีก

2. ห่อตัวเด็ก

วิธีการล้างจมูกเด็กทารก ขั้นตอนแรกต้องห่อตัวด้วยผ้าห่อตัว หรือผ้าขนหนูผืนใหญ่ ห่อให้แน่น ป้องกันเด็กสะบัดหน้า และย่นระยะเวลาล้างจมูก เด็กจะได้ไม่กลัว

...

3. หยดน้ำเกลือ 2 - 3 หยด

หยดน้ำเกลือ 2 - 3 หยด เข้ารูจมูกทีละข้าง แล้วใช้ลูกยางแดงดูดออก ระวังไม่ควรแหย่ลูกยางแดงเข้าไปลึก

4. ทำซ้ำ

ทำซ้ำจนกว่าเสียงหายใจจะหายครืดคราด ยกเว้นเด็กอ่อน ที่ควรใช้ความระมัดระวัง ดูด 1-2 ครั้ง

5. ซับด้วยผ้าอ้อม

ซับน้ำที่เลอะออกมาด้วยผ้าอ้อมเบาๆ ไม่ควรเช็ดแรงๆ เพราะผิวเด็กยังบอบบาง อาจเกิดอาการผิวอักเสบบริเวณที่ถูเสียดสีกับผ้า และไม่ควรใช้ทิชชูแห้ง ป้องกันสารที่มากับกระดาษสัมผัสผิวเด็ก

ปัจจุบันนี้มีอุปกรณ์ดูดน้ำมูกของเด็กเล็ก ที่เอื้อต่อการล้างจมูกเด็กอ่อน ลักษณะหัวดูดน้ำมูกบอบบาง ทำจากซิลิโคนเกรดทำอาหารที่ปลอดภัยต่อผิวเด็ก ช่วยให้คุณแม่ล้างจมูกลูกน้อยวัยทารกได้ง่ายขึ้น

ล้างจมูกบ่อยอันตรายไหม

การล้างจมูกบ่อยๆ ไม่เป็นอันตราย แต่ต้องรู้วิธีล้างจมูกที่ถูกต้อง ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด ใช้น้ำเกลือที่สะอาด ล้างจมูก ภูมิแพ้ทำได้บ่อยๆ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้ฝุ่น หรือทำงานนอกอาคาร วิธีล้างจมูกยังมีประโยชน์ต่อการป้องกันไซนัส และโรคแทรกซ้อนทางเดินหายใจ ถ้าทำก่อนพ่นยา จะช่วยให้การรักษาด้วยยามีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง :

...