อย่างที่ทราบกันว่า กฎหมายคาร์ซีต เริ่มบังคับใช้แล้วตั้งแต่ปี 2565 ที่ผ่านมา เพื่อความปลอดภัยของเด็กเล็กที่ต้องโดยสารรถยนต์ แต่โทษของการไม่ปฏิบัติตาม คือ ปรับสูงสุดเพียง 2,000 บาทเท่านั้น
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล ได้จัดแถลงข่าวแก่สื่อมวลชนเรื่องความสำคัญของการใช้คาร์ซีตอีกครั้ง เนื่องจากมีข่าวเด็กกระเด็นออกมาจากตัวรถยนต์ ตกสะพานสูงกว่า 30 เมตร จนเสียชีวิต เร่งรัฐควรประชาสัมพันธ์ความรู้การใช้คาร์ซีต และเตรียมออกกฎหมายลูกเพื่อให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น
...
เด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี ควรนั่งที่นั่งนิรภัย กฎหมาย
ทั่วโลกมีการใช้คาร์ซีต ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก โดยสองสิ่งนี้ไม่ว่าจะมีชื่อเรียกว่าอย่างไร ก็ควรเป็นอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ค่ายรถยนต์นำมาแนะนำให้กับผู้ใช้ โดย รศ.นพ.อดิศักดิ์ ได้กล่าวว่า “ไม่ควรโฆษณาว่าเป็นรถครอบครัว แต่ควรแนะนำว่าถ้าจะมีเด็กโดยสารไปด้วยต้องใช้ที่นั่งพิเศษเพิ่มความปลอดภัย”
ความรู้ความเข้าใจของการใช้ที่นั่งนิรภัยก็สำคัญ ประชาชนส่วนใหญ่ยังติดภาพของการนั่งรถยนต์ ไปพร้อมกันทั้งครอบครัวในลักษณะแม่ให้ลูกนั่งตัก ซึ่งหากถุงลมนิรภัยทำงานขณะเกิดอุบัติเหตุ จะไม่ปลอดภัย
ควรติดตั้งคาร์ซีตให้ถูกต้อง ถูกตำแหน่ง
- เด็กแรกเกิดถึง 2 ขวบ หันหน้าเข้าเบาะหลัง
- เลือกคาร์ซีตที่มีระบบมาตรฐาน isofix มีตัวยึดติดกับเบาะรถได้อย่างปลอดภัย
- การติดตั้งคาร์ซีตไว้ด้านข้างคนขับ ต้องตรวจสอบการทำงานของถุงลมนิรภัย ทำได้เมื่อระบบถุงลมนิรภัยของรถยนต์ปิดการใช้งานได้
- หากปิดการใช้งานถุงลมนิรภัยไม่ได้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ตัวถุงลมนั้นจะดีดกระทบเด็กที่นั่งบนอ้อมกอดแม่ จนเกิดอันตราย
- เด็กอายุเกิน 2 ปี นั่งที่นั่งพิเศษ เสริมจากเบาะรถยนต์ เพื่อคาดเข็มขัดนิรภัย ให้ปลอดภัยได้
แม่อุ้มลูก + ถุงลมนิรภัย = ไม่ปลอดภัย
โดยปกติแล้วตัวถุงลมนิรภัยจะออกแบบมาให้ป้องกันการกระแทกของศีรษะ มีระยะห่างจากการคาดเข็มขัดนิรภัยประมาณ 25 เซนติเมตร เคยมีกรณีอุบัติเหตุที่ถุงลมนิรภัยดีดเด็กกระเด็นออกจากตัวแม่ ทำให้เด็กเสียชีวิตนอกรถ และส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ปี
ทางสถาบันฯ ได้ยกตัวอย่างกรณีการโดยสารรถยนต์ เมื่อเกิดอุบัติเหตุมีเด็กเสียชีวิตขณะโดยสาร 8 เหตุการณ์สูญเสีย ดังนี้
เหตุการณ์อุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิต
- กระบะพลิกคว่ำ พ่อแม่รอด ลูกสาว 7 ขวบ พุ่งออกนอกรถ ศีรษะฟาดกระจก เสียชีวิต
- ป้าก้มเปลี่ยนแผ่นซีดี ขับกระบะขึ้นเนิน พาเด็กๆ ขึ้นท้ายไปเล่นน้ำสงกรานต์ หลาน 6 ขวบกระเด็นออกจากท้ายรถ ศีรษะกระแทกพื้น หลาน 8 ขวบ เสียชีวิตคาที่
- พ่อขับกระบะตอนเดียว คาดเข็มขัดร่วมกับลูกชายอีก 2 คน รถพุ่งมาชน ลูก 8 ขวบ ตัวหลุดออกจากเข็มขัดนิรภัย ลูก 6 ขวบ ตัวกระเด็นกระแทกกระจกด้านหลัง ศีรษะเกิดแผลขนาดใหญ่เสียชีวิต
- ครอบครัวลูก 4 คน 18 ล้อ เลี้ยวชนกะทันหัน ลูก 3 ขวบเสียชีวิต ลูก 2 ขวบ เสียชีวิต สมองไหล
- พ่อแม่ลูก ขับรถยนต์ 5 ประตู ไปซื้อกับข้าว แม่กะโหลกศีรษะแตกเสียชีวิต ลูกไขสันหลังบาดเจ็บ เสียชีวิต
- รถสองแถวรับส่งนักเรียน คนขับอยู่ในสภาพไม่พร้อม รถเสียหลัก เด็กเสียชีวิตหลายคน รถตู้รับส่งนักเรียน คนขับเสพยาบ้า รถเสียหลัก เด็กเสียชีวิตหลายคน
- พ่อแม่ลูก ขึ้นทางด่วน พวงมาลัยล็อกกะทันหัน เด็ก 6 ขวบ กระเด็นออกจากรถ ตกสะพานเสียชีวิต
...
กฎหมายคาร์ซีต ใช้กับใคร
กฎหมายคาร์ซีต บังคับใช้กับรถที่ต้องมีผู้โดยสารเป็น เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี หรือสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ควรได้นั่งที่นั่งพิเศษ ดังนั้นถึงรวมเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี ที่สูงไม่เกิน 135 เซนติเมตรเข้าไปด้วย ทำให้เราเห็นว่าสังคมบ้านเรา ยังมีจุดอ่อนที่ยังไม่สามารถใช้กฎหมายคาร์ซีตได้ 100% เนื่องจาก
1. ความรู้ความเข้าใจของประชาชนว่าจะใช้คาร์ซีตทำไม
2. ความคิดเดิมที่คิดว่าคาร์ซีตราคาแพง ปัจจุบันมีผู้ผลิตนำมาจำหน่าย ได้มาตรฐาน ราคาจับต้องได้ในหลักพัน
3. ผู้ใช้ถนน คนขับรถบ้านเรา ขับขี่ไม่ปลอดภัย
4. กฎหมายออกใบขับขี่ การตัดคะแนนความประพฤติที่ไม่ได้จริงจัง ไม่คัดกรองผู้มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม
รศ.นพ.อดิศักดิ์เผย "รถยนต์แต่ละประเภทไม่เหมาะกับเด็ก ต่ำกว่า 9 ขวบ 100% การโฆษณาว่าเป็น รถครอบครัว ผิด ต้องแนะนำให้ใช้อุปกรณ์เสริม"
ประเภทของที่นั่งนิรภัย
ที่นั่งนิรภัยจะมีหลายชื่อ ตามมาตรฐานสากลแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. คาร์ซีตแบบกระเช้า : สำหรับเด็กแรกเกิด-2 ปี ที่นั่งหันหน้าไปทางหลังรถ มีระบบที่นั่งในมาตรฐานใหม่ เรียก isofix รถทุกรุ่น มีระบบมาตรฐาน
2. คาร์ซีตสำหรับเด็กโต : ลักษณะเป็นเก้าอี้ที่ใช้ติดตั้งกับเบาะที่นั่งผู้ใหญ่ ติดตั้งโดยวิธีหันหน้าออกมองถนน เรียก Combination Seat สำหรับเด็กอายุ 4-12 ปี
3. Booster Seat : ที่นั่งเสริม สำหรับเด็กโต เป็นที่นั่งเสริมช่วยให้เข็มขัดพอดี ไหล่ ปุ่มกระดูกสะโพก ดังนั้นเวลาเกิดการกระชากจะยึดตัวเด็กไว้กับรถยนต์พอดี กฎหมาย พ.ร.บ. เรียกที่นั่งพิเศษ หรือเรียกว่าที่นั่งนิรภัย ถือว่าใช้ได้ ถือว่ามีความจำเป็น ไม่ต้องแยกคำศัพท์ตามกฎหมาย แสดงให้เห็นชัดเจนว่าเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี ตามกฎหมายจราจร ต้องใช้ตัวที่นั่งนิรภัย
...
รถยนต์รุ่นใหม่ทุกรุ่น จะมีปากตะขอ ยึดกับรถยนต์ ในระบบ isofix ปัจจุบันราคาที่นั่งเสริม หรือที่นั่งเด็กโต ที่มีพนักพิง ราคาประหยัด
รถปิกอัพ 4 ประตู รถปิกอัพที่มีที่นั่งตอนหลัง สามารถใช้ที่นั่งนิรภัยได้ทั้งหมด ยกเว้น Spacecab
ระยะห่างถุงลม กับเข็มขัดนิรภัยที่ปลอดภัย คือ 25 เซนติเมตร
เพราะฉะนั้นห้ามเด็กนั่งด้านหน้า หรือนั่งตัก
สังเวยกฎหมายคาร์ซีตเคสแรก 2566 เตรียมร่างกฎหมายลูก
จากข่าวกรณีที่ประชาชนส่วนมากไม่ได้หาคาร์ซีตมาติดตั้ง เนื่องจากความไม่พร้อมของรถยนต์ ทางทีมงานผู้ทำงานเกี่ยวกับความปลอดภัยของเด็กได้พิจารณาร่างกฎหมายลูก เพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชนส่วนรวม
แม้ว่ากฎหมายนี้จะฟังดูละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แต่เรื่องความปลอดภัย เป็นเรื่องของคนหมู่มาก ตามมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญ สามารถออกกฎหมายละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ ในเงื่อนไขที่รัฐต้องไม่สร้างภาระเกินควร
ดังนั้น รูปแบบการออกกฎหมายลูกในอนาคต คือ ผู้ที่ไม่พร้อม หรือไม่สามารถติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กได้ ก็จะใช้การบังคับการขับขี่ด้วยวิธีอื่น เช่น ขับชิดด้านซ้าย หรือใช้ความเร็วที่กำหนด
รศ.นพ.อดิศักดิ์ แนะนำทิ้งท้ายว่า “ปัจจุบันนี้ผู้ผลิตที่นั่งนิรภัย ทำให้ลดราคาลงต่ำมาก ในราคาที่พอใช้ได้ 1,000 กว่าบาท เทียบกับราคารถยนต์ ต่ำกว่ามาก ควรหามาใช้กันอย่างถูกต้อง ถูกวิธี คำนึงถึงความปลอดภัยของเด็ก”
...
Q : กฎหมายคาร์ซีต เริ่มใช้เมื่อไหร่
A : 5 กันยายน 2566
Q : กฎหมายคาร์ซีต โทษปรับเท่าไร
A : 2,000 บาท
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง