อาการคนท้อง ระยะแรก ใน 3 วัน หรือ 1 สัปดาห์ เป็นอาการที่คุณสังเกตเองได้ หากเริ่มมีอาการเพลีย ง่วงนอน อารมณ์แปรปรวน ก็ควรติดตามประจำเดือนว่าจะมาหรือไม่ พร้อมซื้อที่ตรวจครรภ์เตรียมไว้

อาการคนท้องระยะแรก

อาการคนท้องระยะแรก ประกอบด้วย อาการคัดเต้านม, ปวดท้อง, เมื่อยล้า, ท้องอืด, อารมณ์แปรปรวน, ไม่อยากอาหาร หรืออยากอาหารมากกว่าปกติ, นอนไม่หลับ หรือนอนมากกว่าปกติ, ปวดหัว, ฝันร้าย ฯลฯ อาจไม่เป็นเหมือนกันทุกคน

อาการคนท้อง 3 วัน

ระยะเวลา 3 วัน ยากเกินกว่าจะสังเกตว่าตัวเองตั้งครรภ์หลังมีเพศสัมพันธ์ เพราะบางครั้งไข่เพิ่งตกยังไม่ได้รับการผสม อสุจิมีชีวิตอยู่ในช่องคลอดได้ถึง 5 วัน ดังนั้นช่วงเวลาที่ชัดเจนที่สุดคือ 1 สัปดาห์ขึ้นไปหลังมีเพศสัมพันธ์ จึงจะสังเกตอาการท้องได้

อาการคนท้อง 3 วัน ที่คลุมเครือ คือความกังวลใจ เพราะมาจากการเฝ้าสังเกตตัวเองถี่ๆ จึงเกิดเป็นความเครียด บางคนเก็บไปฝันร้าย หรือฝันเป็นลางว่าได้แหวน ได้สร้อย จึงคิดว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ และหากเป็นช่วงใกล้มีประจำเดือน จะทำให้แยกยากระหว่างอาการคนท้อง กับ อาการก่อนมีประจำเดือน (PMS : Premenstrual Syndrome) มีความคล้ายคลึงกันมาก แต่อาการคนท้องจะเป็นนานกว่าและต่อเนื่อง เช่น อาการคัดเต้านม, รู้สึกเหนื่อยล้า, ง่วงนอน เป็นต้น แต่อาการคนท้องจะเป็นยาวนานกว่า กินยาไม่หาย เพียงแค่บรรเทาลง

อาการคนท้อง 1 สัปดาห์

  • ตกขาวมากกว่าปกติ

คนที่ไม่เคยมีตกขาว อาจพบตกขาวในช่วงนี้ และอาจมีเลือดล้างหน้าเด็กติดมากับกางเกงชั้นใน เพื่อความสะดวกในการสังเกต ก็อาจใส่แผ่นอนามัยระหว่างวัน เลือดล้างหน้าเด็ก คือ เลือดที่ออกทางประจำเดือน มีลักษณะเป็นจุด ไม่เยอะเท่าประจำเดือนในวันแรกๆ เป็นสัญญาณบอกว่าปฏิสนธิแล้ว

...

  • ง่วงนอน

อาการง่วงนอนในช่วงสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ จะเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารแต่ละมื้อ คล้ายกับการง่วงหลังรับประทานยาแก้แพ้ แม้ว่าจะดื่มกาแฟ หรือออกกำลังกายก็ยังมีอาการง่วงอยู่ คุณแม่ที่ขับรถเองต้องระวังการหลับใน

  • เมื่อยล้า

คนท้องระยะแรกมีอาการเมื่อยล้าคู่กับอาการง่วง ล้าในลักษณะอ่อนเพลีย บางคนเป็นตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ ซึ่งควรปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต กินอาหารที่หลากหลาย เลือกออกกำลังกาย เดิน ว่ายน้ำ แต่งดการยกของหนัก

  • ตัวรุมๆ แต่ไม่ได้เป็นไข้

อาการคนท้องสัปดาห์แรกอาจรู้สึกร้อนวูบทั้งตัว เป็นช่วงๆ เหมือนใส่เสื้อผ้าที่อบอ้าวเกินไป แต่เกิดจากร่างกายที่กำลังเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นเพียง 1-2 วันก็หายได้เอง ครั่นเนื้อครั่นตัว ลักษณะคล้ายคนเริ่มเป็นไข้

  • อารมณ์แปรปรวน

หญิงตั้งครรภ์จะมีอารมณ์แปรปรวนได้ ทั้งอารมณ์เสีย หงุดหงิด กังวล เศร้า อารมณ์ขึ้นลงเร็ว หากมีอารมณ์ด้านลบที่ส่งผลต่อตัวเองและสุขภาพเกิน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับคำปรึกษา วินิจฉัยเบื้องต้น

อาการคนท้อง 2 สัปดาห์

  • มีเลือดออกจากช่องคลอด

เลือดล้างหน้าเด็ก เกิดจากไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังกับเยื่อบุโพรงมดลูก อาจมีเลือดออกมาเล็กน้อย สีคล้ำคล้ายช็อกโกแลต หากมีเลือดออกลักษณะนี้มาในช่วงที่ไม่ใช่ช่วงที่มีประจำเดือน อาจเป็นสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์ที่ชัดเจน

  • คัดเต้านม

ผู้หญิงที่ผ่านการตั้งครรภ์มาแล้วจะรู้สึกจี๊ดที่บริเวณลานนม และคัดเต้านม ส่วนผู้หญิงที่ไม่เคยผ่านการตั้งครรภ์จะมีอาการตึงทั่วเต้านม อาการนี้สังเกตยาก บางคนเป็นช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย ผู้หญิงบางคนเต้านมขยายเร็วมาก หากไม่เปลี่ยนไซส์บราจะรู้สึกอึดอัด

  • อยากอาหารมากกว่าปกติ หรือไม่อยากอาหาร

สาวๆ ลองสังเกตตัวเองว่าอยากรับประทานอาหารมากกว่าปกติหรือเปล่า เห็นอะไรก็ดูน่าอร่อยไปหมด หรือบางคนกลับกัน ไม่อยากกินอะไรเลย

  • น้ำหนักขึ้นหรือลง

สาวๆ หลายคนน้ำหนักคงที่คงวา ถ้าขึ้นแล้วก็ไม่ลง ถ้าลงแล้วนานกว่าจะขึ้น แต่สำหรับหญิงตั้งครรภ์ส่วนมากจะน้ำหนักขึ้นเพราะต้องรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของทารก ช่วงแรกๆ ของการตั้งครรภ์หากไม่แพ้ท้องก็จะกินอาหารได้เยอะ น้ำหนักขึ้นจนสังเกตได้

อาการคนท้อง 1 เดือน ถึง 3 เดือนแรก

  • จมูกไว

สาวๆ ที่เริ่มตั้งครรภ์จะมีจมูกที่ไวต่อกลิ่น แม้จะเป็นกลิ่นที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวัน แต่หากตั้งครรภ์แล้วก็จะรู้สึกเปลี่ยนไป เช่น กลิ่นน้ำหอมที่เคยใช้ กลิ่นสบู่ บางคนแพ้กลิ่นสามีที่ใช้ผลิตภัณฑ์ For men

  • เวียนศีรษะ

ช่วงนี้ว่าที่คุณแม่ลุกนั่งแล้วอาจจะหน้ามืดเร็วหน่อย เวียนศีรษะ ตาลาย เพราะเลือดกำลังไหลเวียนดี เพราะฉะนั้นจึงควรลุกนั่งเบาๆ ออกกำลังกายที่ไม่หักโหม

  • กระหายน้ำ

ร่างกายของว่าที่คุณแม่ต้องการน้ำเพื่อไปเติมเต็มเซลล์ต่างๆ จึงจะรู้สึกกระหายน้ำมากขึ้น บางคนอยากกินน้ำหวานๆ ตลอดเวลา ให้ระวังน้ำตาลขึ้นด้วย

  • ปวดปัสสาวะบ่อย

อาการคนท้องที่ปวดปัสสาวะบ่อยๆ ส่วนหนึ่งมาจากร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป และการดื่มน้ำมากด้วย ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ และไม่ควรงดน้ำที่ดื่ม เพื่อให้ร่างกายได้สร้างสมดุลอย่างเต็มประสิทธิภาพ

  • ท้องผูก ท้องอืด

ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร และมดลูกขยายตัวไปกดทับลำไส้ใหญ่ ทำให้คุณแม่มีลมในท้อง ปวดท้อง ย่อยยาก ช่วยบรรเทาได้ด้วยอาหารที่มีกากใยสูง และผลไม้ที่มีวิตามินซี บวกกับต้องดื่มน้ำมากๆ

...

วิธีตรวจตั้งครรภ์

การใช้ที่ตรวจตั้งครรภ์เพื่อตรวจสอบการตั้งครรภ์นั้น ซื้อที่ตรวจการตั้งครรภ์จากร้านค้า ร้านขายยาทั่วไป โดยบรรจุภัณฑ์ไม่เสียหาย ไม่หมดอายุ

นำมาใช้ตรวจในช่วงเช้า โดยปัสสาวะทิ้งไปก่อนเล็กน้อย รองปัสสาวะที่เหลือด้วยถ้วยที่มีมาให้ มีวิธีการดังนี้

1. เตรียมพื้นที่ห้องน้ำให้พร้อม
2. อ่านฉลากที่ตรวจตั้งครรภ์ ว่าเป็นที่ตรวจแบบใด ได้แก่ แบบจุ่ม, แบบปากกา และแบบปัสสาวะผ่าน
3. เมื่อจุ่มปัสสาวะแล้ว วางที่ตรวจตั้งครรภ์ทิ้งไว้ตามระยะเวลาที่เขียนไว้บนฉลาก แล้วอ่านผล
4. หากขึ้น 2 ขีดจางๆ ก็แปลว่าตั้งครรภ์ แต่ควรตรวจซ้ำใหม่ ใช้ที่ตรวจอันใหม่ หรือยี่ห้ออื่น เพื่อยืนยัน
5. หากขึ้น 2 ขีดชัด ก็ค่อนข้างชัวร์ว่าตั้งครรภ์
6. หากขึ้นขีดเดียว แปลว่ายังไม่ตั้งครรภ์ แต่ถ้าขีดนั้นไม่ได้ขึ้นตรงตัว C ให้เปลี่ยนที่ตรวจอันใหม่

การฝากครรภ์ หลังตรวจตั้งครรภ์ขึ้นแล้วนั้น ส่วนใหญ่แพทย์จะให้ฝากครรภ์ช่วง 8-10 สัปดาห์ขึ้นไป แต่คุณแม่สามารถไปพบแพทย์เพื่อรับวิตามิน และคำแนะนำสำหรับดูแลตัวเองก่อนได้เลย บางสถานพยาบาลมีแพ็กเกจฝากครรภ์ ควรจ่ายในช่วง 12 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่ค่อนข้างชัวร์แล้วว่าเด็กปลอดภัย

...

อย่างไรก็ดี การจดบันทึกวันประจำเดือนมานั้นเป็นสิ่งสำคัญที่จะแยกช่วงเวลาตั้งครรภ์ได้ดีที่สุด ควรจดบันทึกเพื่อนับวันตกไข่ และบันทึกเป็นข้อมูลสุขภาพ เพื่อใช้ในการติดตามรักษาอาการโรคสตรีอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาการตั้งครรภ์ได้ด้วย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :