• โรคติดเชื้อไวรัส RSV ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ เป็นการรักษาตามอาการ หากเกิดกับผู้สูงอายุจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าในเด็ก เนื่องจากผู้สูงอายุมักจะมีโรคประจำตัวร่วม
  • พบอัตราเสียชีวิตจากโรค RSV ในผู้ใหญ่ ประมาณ 12% ซึ่งมากกว่าเมื่อเทียบกับอัตราการตายในเด็กที่มีเพียง 0.12% เท่านั้น
  • ปัจจุบัน มีวัคซีนป้องกันไวรัส RSV ใช้สำหรับกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อ RSV ในผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีอายุ 50 ถึง 59 ปี ที่มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส RSV

โรคติดเชื้อไวรัส RSV คือโรคติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) ในระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบน (หลอดลม) และส่วนล่าง (ปอด) เป็นโรคติดต่อผ่านการหายใจเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ RSV1 เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง เช่น โต๊ะ เก้าอี้  

ทำไมโรคติดเชื้อ RSV มักเป็นที่รู้จักในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่

  • เพราะเด็กมักมีการแพร่เชื้อจากการสัมผัสในโรงเรียน และนำเชื้อมาสู่คนในบ้าน รวมถึงผู้สูงอายุและผู้ปกครอง
  • ผู้ใหญ่มีโอกาสติดเชื้อ RSV ที่มากกว่า แต่มักไม่ได้รับการวินิจฉัยโรค โดยส่วนใหญ่จะตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่ หรือ เชื้อโควิด-19 แทน
  • โรค RSV ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ เป็นการรักษาตามอาการ หากเกิดกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุมีอันตรายและมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าในเด็กเนื่องจากผู้สูงอายุมักจะมีโรคประจำตัวร่วม
  • พบอัตราการเสียชีวิตจากโรค RSV ในผู้ใหญ่ ประมาณ 12% ซึ่งมากกว่าเมื่อเทียบกับอัตราการเสียชีวิตในเด็ก ซึ่งอยู่ที่ 0.12% เท่านั้น

...

RSV เป็นโรคติดเชื้อที่สามารถติดต่อได้ทั่วไป จึงควรป้องกันอย่างเหมาะสม และฉีดวัคซีนในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง สามารถป้องกันได้โดยการหมั่นล้างมือบ่อย ๆ สวมหน้ากากอนามัย ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และรับการฉีดวัคซีน RSV

อาการของโรคติดเชื้อ RSV ในผู้สูงอายุ

อาการ จะเริ่มปรากฏให้เห็นภายใน 4-6 วัน โดยอาการต่างๆ อาจปรากฏเป็นระยะๆ แทนที่จะปรากฏพร้อมกันทั้งหมด เมื่อมีอาการแล้ว อาการต่างๆ จะคงอยู่ประมาณ 2-8 วัน โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะหายเป็นปกติภายใน 1-2 สัปดาห์ เว้นแต่จะมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น

เนื่องจากการติดเชื้อ RSV มักมีอาการคล้ายไข้หวัด ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุจำนวนมากจึงไม่ได้เข้ารับการตรวจหรือไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ อาการที่พบได้ คือ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะเล็กน้อย โดยมักจะมีอาการรุนแรงในผู้สูงอายุมากกว่าในเด็ก

อาการติดเชื้อไวรัส RSV รุนแรงในผู้ใหญ่และผู้สูงวัย

เมื่อผู้ใหญ่และผู้สูงวัยติดเชื้อ RSV อาจมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • เหนื่อยล้าหรืออ่อนแรงอย่างมาก
  • ความอยากอาหารลดลง
  • ไอเรื้อรัง
  • หายใจมีเสียงหวีด หายใจถี่
  • ผิว ริมฝีปากหรือเล็บเป็นสีน้ำเงิน
  • มีการเปลี่ยนแปลงสภาพจิตใจกะทันหัน เช่น เพ้อ สับสน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคติดเชื้อไวรัส RSV ในผู้สูงอายุ

  • โรคปอดอักเสบ หรือโรคปอดบวม
  • โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
  • หลอดลมฝอยอักเสบ
  • อาการป่วยที่เป็นอยู่แย่ลง เช่น หอบหืด หัวใจล้มเหลว หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
  • ภาวะหายใจล้มเหลว

ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น

  • ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด
  • ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือ โรคหัวใจบางประเภท

...

การรักษาโรคติดเชื้อไวรัส RSV ในผู้สูงอายุ

ปัจจุบันโรคติดเชื้อไวรัส RSV ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ยังไม่มีการรักษาเฉพาะ หากติดเชื้อ RSV แพทย์จะรักษาตามอาการ ซึ่งหากมีอาการไม่รุนแรงแนะนำให้พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก อาจต้องได้รับยาพ่นเพื่อละลายเสมหะ รับประทานยาตามแพทย์สั่ง หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคหอบหืด ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์

แนวทางการป้องกันโรค RSV ด้วยวัคซีนในผู้ที่มี อายุ 50 ปีขึ้นไป

สำหรับวัคซีนป้องกันไวรัส RSV ในผู้ใหญ่ จะช่วยให้อาการรุนแรงของโรคลดลง และไม่ให้เกิดการติดเชื้อ RSV ที่รุนแรง และเนื่องด้วยยังไม่มียารักษาเฉพาะโรค การป้องกันด้วยวัคซีนจึงมีความสำคัญและลดความเสี่ยงให้ผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มที่มีโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต

วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV ในปัจจุบัน

วัคซีนป้องกันไวรัส RSV ในปัจจุบันที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย คือ Adjuvanted RSV vaccine ใช้สำหรับกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อ RSV สำหรับ

  • ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีอายุ 50 ถึง 59 ปี ที่มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส RSV เช่น หอบหืด โรคถุงลมโป่งพอง COPD (Chronic obstructive pulmonary disease) โรคเบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ

โดยวัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง 94.6% ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ RSV รุนแรง 

...

ขอบคุณข้อมูล : พญ. พเยีย ฉันทาดิศัย อายุรแพทย์ด้านโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท