เทคนิคการใช้โมบายแบงก์กิ้ง (Mobile Banking)ในการทำธุรกรรมออนไลน์ให้ปลอดภัย จากมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์

ความสะดวกสบายของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่มีมากขึ้นในทุกอุตสาหกรรม ทำให้ทำธุรกรรมทางการเงินผ่านโลกออนไลน์ เป็นสิ่งหนึ่งที่ตอบโจทย์ต่อพฤติกรรมมนุษย์ในการใช้จ่าย บริโภค หรือทำสิ่งต่างๆ ได้สะดวกมากขึ้น ด้วยเครื่องมือที่ชื่อว่า ‘โมบายแบงก์กิ้ง’ (Mobile Banking) หรือ ‘อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง’ (Internet Banking) จากธนาคารที่สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ และทำธุรกรรมทางการเงินได้ทุกที่ ทุกเวลา เพียงแค่มีมือถือ และอินเทอร์เน็ต

แม้ความสะดวกสบาย และรวดเร็วจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ยังมีกลุ่มมิจฉาชีพที่สามารถฉกฉวยโอกาส จากช่องว่างเหล่านี้ทำให้เกิดการฉ้อโกง หรือที่เรียกว่า การโจรกรรมทางไซเบอร์ โดยมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ได้เช่นกัน หากผู้ที่ใช้งานโมบายแบงก์กิ้งทำธุรกรรมทางการเงินที่ไม่ระมัดระวัง ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อของบุคคลเหล่านี้ได้

เมื่อยุคนี้ใครๆ ก็ใช้ โมบายแบงก์กิ้ง และอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ที่เป็นบริการที่สร้างขึ้นมาจากธนาคาร แต่จะใช้อย่างไรจึงจะปลอดภัย และไม่โดนโกงจากมิจฉาชีพ ไทยรัฐออนไลน์ได้รวบรวม วิธีการทำธุรกรรมออนไลน์ ด้วยโมบายด์แบงก์กิ้งให้ปลอดภัยมาฝากกัน

วิธีใช้โมบายแบงก์กิ้งให้ปลอดภัย ห่างไกลมิจฉาชีพออนไลน์

  1. ควรตั้งค่า PIN หรือ Password ที่คาดเดาได้ยาก เช่น การใส่อักขระพิเศษ (ตัวอย่างเช่น ! @ $ %) หรือ ตัวเลขที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประวัติส่วนตัว 
  2. ยืนยันตัวตนตนรูปแบบดิจิทัล (National Digital ID - NDID) กับธนาคาร หรือบนแอปพลิเคชัน
  3. หมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านอยู่เสมอ เท่าที่ทำได้ เพื่อความปลอดภัยต่อการใช้งานในครั้งถัดๆ ไป
  4. ควรหลีกเลี่ยงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือ WiFi สาธารณะ เพื่อป้องกันการเจาะข้อมูล และไม่ให้รั่วไหล
  5. ห้ามแชร์ และเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวลงในโซเชียลมีเดีย
  6. ควรเปิดการแจ้งเตือน และตรวจเช็ก SMS หรืออีเมลที่ได้รับจากสถาบันการเงินอยู่เสมอ หรือตั้งค่าแจ้งเตือนธุรกรรมต่างๆ อยู่เสมอ
  7. การซื้อสินค้า หรือบริการบนโลกออนไลน์ ควรตรวจสอบความให้แน่ใจก่อนการทำธุรกรรมต่างๆ 
  8. เช็ก และตรวจสอบยอดเงินคงเหลือทุกครั้งอย่างถี่ถ้วนหลังที่มีการชำระเงิน 
  9. ไม่แนะนำให้ผูกข้อมูลบัตรเครดิต กับทางร้านค้าออนไลน์ที่ไม่น่าไว้วางใจ 
  10. เช็กรายละเอียดอย่างมีสติ และรอบคอบทุกครั้งที่ทำธุรกรรมออนไลน์ 
  11. ล็อกเอาต์บัญชี (Log out) ทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งาน หรือไม่ได้ทำธุรกรรมออนไลน์แล้ว
  12. ห้ามกดลิงก์ที่ไม่น่าไว้วางใจ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่แปลกปลอมลงบนมือถือ

...

หัวใจสำคัญในการทำธุรกรรมออนไลน์ คือ ‘สติ’ และ ‘การตรวจสอบ’ ให้ถี่ถ้วน เพราะยิ่งในปัจจุบันมิจฉาชีพเหล่านี้มาด้วยกลยุทธ์ที่หลากหลาย และปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามเทรนด์ และสถานการณ์ ให้พึงสังเกต อย่าพึ่งรีบร้อน และด่วนสรุปกับธุรกรรมทางการเงิน 

ทุกการทำธุรกรรมทางการเงิน ควรตรวจสอบจนมั่นใจก่อน เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรือหากพบเจอเบาะแสให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป

ข้อมูล : umayplus

ภาพ : istock