3 แนวทางที่สามารถปรับเปลี่ยนการปล่อยคาร์บอนให้ลดลงจนเหลือศูนย์ และลดสภาพอากาศของโลกที่แปรปรวนให้ดีขึ้นได้อีกครั้ง
ปัญหาของภาวะโลกร้อน ที่มีผลมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ จากกิจกรรมต่างๆ สามารถส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อโลกของเราจนเกิดภาวะโลกรวนอย่างในปัจจุบัน ซึ่งนอกเหนือจากสภาพอากาศแล้ว ยังส่งผลเสียในทุกๆ ภาคส่วนของอุตสาหกรรม ที่ทำให้เศรษฐกิจประเทศ และเศรษฐกิจโลกตกต่ำได้
เหตุนี้ทำให้องค์กรต่างๆ รับรู้ถึงผลกระทบจากห่วงโซ่ของสภาพแวดล้อม จึงริเริ่มโครงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ที่มาจากข้อตกลงปารีส ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change - UNFCCC) โดยมีสมาชิกองค์การสหประชาชาติทั้ง 197 ประเทศ ในปี พ.ศ. 2537 โดยเป็นการร่วมมือของทุกประเทศ เพื่อทำข้อตกลงในการแก้ปัญหาการด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ภายในปี 2050
โดยรายงานฉบับนี้จาก World Economic Forum ได้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพื่อค้นคว้า ศึกษา และวิจัย ที่จะทำงานเพื่อทำให้เกิดทางเลือกในการปล่อยคาร์บอนต่ำ และเป็นตัวเลือกปรับตัวที่เหมาะสมที่สุด เข้าถึงได้ และน่าดึงดูดในแต่ละภาค ส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเน้นย้ำถึง "จุดยกระดับพิเศษ" สามจุดที่อาจกระตุ้นให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั่วทั้งภาคส่วน ซึ่งครอบคลุม 70% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก
เมื่อหมดเวลาในการจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5°C รายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า บางส่วนของเศรษฐกิจโลกสามารถเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ได้อย่างไร เพื่อสร้างจุดเปลี่ยนที่ไม่เพียงแต่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนหลักเพียงภาคเดียว แต่ยังสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจได้อีกด้วย
...
3 จุดเปลี่ยน ที่สามารถทำให้สภาพอากาศโลกกลับมาคงที่ได้
- การใช้พลังงานทดแทน
กระแสพลังงานทดแทนเป็นหนึ่งหนทางที่น่าสนใจ เช่น การผลิตไฟฟ้าหมุนเวียนที่มาจากพลังงานธรรมชาติ เช่น แสงอาทิตย์ หรือ ลม เป็นรูปแบบการนำพลังงานมาใช้ที่ถูกที่สุด และกำลังการผลิต หรือการรบกวนจากธรรมชาติน้อยที่สุด
ตัวอย่างเช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้า แทนรถยนต์สันดาป ปัญหาสภาพอากาศโลก ทำให้คนหันมาสนใจรถยนต์ไฟฟ้า (รถยนต์ EV) เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2020-2023 ซึ่งเติบโตขึ้นในทุกปี แน่นอนว่าหากเปอร์เซ็นต์ดังกล่าวมีมากเพิ่มขึ้นจาก 20% ไป 40% และมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มขึ้นจนถึง 100% ภายในปี 2030 ได้เช่นกัน
จุดพลิกผันนี้เกิดจากการที่รถยนต์ไฟฟ้า เริ่มจะมีราคาใกล้เคียง และประสิทธิภาพรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป และสามารถช่วยขับเคลื่อนในการลดคาร์บอนที่ถูกปล่อยออกสู่อากาศ เพราะการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ EV ทำให้แบตเตอรี่ในตลาดมีราคาถูกลง ส่งผลถึงการประหยัดที่มากกว่า และเป็นตัวเร่งในการเปลี่ยนไปสู่พลังงานหมุนเวียนได้ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จเป็นกุญแจสำคัญในการเอาชนะความวิตกกังวลในเรื่องของสภาพอากาศได้ในอนาคต
- แอมโมเนียสีเขียว (Green Ammonia)
แอมโมเนีย แม้จะเป็นแค่วัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมเคมี และอุตสาหกรรมเกษตร แต่ในอนาคตแอมโมเนียอาจกลายเป็นกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้พลังงานเชื้อเพลิงในรูปแบบใหม่ที่ลดปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อโลก และสภาพอากาศได้
ปัจจุบันเริ่มมีการลงทุนให้เห็นอยู่บ้างแล้วอย่างบริษัท Uniper ที่ปรับเปลี่ยนมาเป็นโรงงานผลิตแอมโมเนียสีเขียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในเมือง Wilhelmshaven ประเทศเยอรมนี โดยเชื่อว่าในอนาคตแอมโมเนียสีเขียว จะมีความสำคัญในการเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานของประเทศ
เว็บไซต์กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (ประเทศไทย) ให้ข้อมูลว่า แอมโมเนียจะเป็นกุญแจสำคัญในการผลิตพลังงานสะอาด เพราะในขณะนี้แอมโมเนียเป็นตัวกลางในการขนส่งไฮโดรเจนสีเขียวที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยในอุตสาหกรรมเหล็ก ซีเมนต์ และเคมี ต่างก็ต้องพึ่งพาไฮโดรเจนสีเขียวเพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงจากฟอสซิล (น้ำมัน แก๊ส และถ่านหิน) ซึ่งนับว่ากลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ไฮโดรเจนสีเขียวเป็นจำนวนมหาศาล
ทำให้กระบวนการขนส่งไฮโดรเจนนั้นค่อนข้างยุ่งยาก จำเป็นต้องใช้แอมโมเนียเป็นตัวกลางในการขนส่ง เพราะตอนที่ไฮโดรเจนจะกลายเป็นของเหลวได้ ต้องใช้อุณหภูมิต่ำกว่า -253 องศาเซลเซียส ในขณะที่แอมโมเนียเป็นของเหลวได้ต้องใช้อุณหภูมิต่ำ -33 องศาเซลเซียสเท่านั้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ในทางปฏิบัติแล้วการขนส่งแอมโมเนียง่ายและมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการขนส่งไฮโดรเจนในปัจจุบัน
- โปรตีนทางเลือก
จุดเปลี่ยนของโอกาสนี้อาจเกิดขึ้นได้ หากโปรตีนทางเลือกที่ทำจากพืชมีราคาที่เท่าเทียม หรือถูกกว่าโปรตีนจากสัตว์ (ปัจจุบันมีราคาที่สูงกว่า) จึงเป็นความน่าดึงดูดหนึ่งที่น่าสนใจ นอกจากนี้ความเท่าเทียมกันของรสชาติ เนื้อสัมผัส โภชนาการ ที่ถูกพัฒนามาเรื่อยๆ ใกล้จะถูกปรับเปลี่ยน ตามบรรทัดฐานทางสังคม และวัฒนธรรมในอีกอนาคตข้างหน้าในไม่ช้า
โปรตีนทางเลือก กลายเป็นเรื่องจำเป็นที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงบวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สูงของการผลิตโปรตีนจากสัตว์ โดยบางส่วนมียอดขายอาจชะลอตัว
อนาคตอาจเป็นไปได้ว่า โปรตีนทางเลือกอาจเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ปัจจัยด้านราคา การเข้าถึง ความหลากหลายคุณภาพสินค้า เป็นสัญญาณสำคัญที่ทำให้คนเห็นถึงประโยชน์ และโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ของโปรตีนทางเลือก ที่สอดคล้องกับนโยบายที่สนับสนุน และส่งเสริมความยั่งยืนของโลกมากขึ้น
...
ทั้ง 3 จุดเปลี่ยนนี้ได้ถูกกล่าวถึงโดย Tim Lenton (ทิม เลนตัน) นักวิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และระบบการทำงานของโลก จากมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ ประเทศอังกฤษ ได้ทำการค้นคว้าสิ่งกระตุ้นที่เรียกว่า “จุดเลเวอเรจขั้นสูง จุดยกระดับพิเศษ หรือจุดสูงสุดที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลก” (Super Leverage Point) ที่สามารถช่วยเร่งในการปรับเปลี่ยนไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน และปล่อยอากาศเป็นศูนย์ได้
ข้อมูล : Worldeconomicforum, University of Exeter, กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ภาพ : iStock