8 สิ่งที่คน Gen Z จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงองค์กร ค่านิยม และแนวทางของบุคลากรในการทำงานที่เปลี่ยนไป และความคาดหวังจากพวกเขาเหล่านี้ ที่จะเข้ามากำหนดอนาคต และทิศทางของการทำงานในอนาคต
คนกลุ่ม Gen Z (เกิดระหว่างปี 1996 ถึง 2010) มีอิทธิพลอย่างมาก และกำลังเติบโตขึ้นเข้าสู่วัยทำงานกันบ้างแล้วในปี 2024 และมีการคาดการณ์ว่าจะเข้ามาแทนที่ Baby Boomers ในด้านแรงงานในอีกไม่ช้า
พฤติกรรมของคน Gen Z ที่เปลี่ยนไป เหตุมาจากเทคโนโลยีที่ช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้น สังคม และเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดการปรับตัวอย่างหลากหลาย ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ ความคิดที่น่าสนใจที่จะได้จากคนกลุ่มนี้ โดยตลาดอุตสาหกรรมกำลังมีความเชื่อว่าคนกลุ่ม Gen Z จะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และองค์กรยุคใหม่ในอนาคต
ข้อมูลของ Glassdoor (เว็บไซต์หางาน) ซึ่งเป็นการวิจัยของ Roberta Katz อดีตนักวิชาการวิจัยอาวุโสจากศูนย์การศึกษาขั้นสูงด้านพฤติกรรมศาสตร์ (CASBS) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) ได้กล่าวถึงค่านิยม พฤติกรรม และความคาดหวังของคน Gen Z ในองค์กรที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อนๆ
...
8 พฤติกรรมของคน Gen Z ที่ขับเคลื่อนองค์กรเข้าสู่การทำงานยุคใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ
- Gen Z ผู้มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง
โลกที่คน Gen Z เติบโตมานั้นแตกต่าง กับคนยุคเจเนอเรชันของพ่อแม่ หรือแม้แต่คนรุ่นมิลเลนเนียลอย่างสิ้นเชิง ซึ่งโลกของคน Gen Z นั้นเติบโตมาในสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว และประสบการณ์ทางสังคมที่เปลี่ยนไป
พร้อมทั้งการหยุดชะงัก และความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจ โรคระบาด ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่ Gen Z ต้องเผชิญมาโดยตลอด ทำให้เกิดเป็นบรรทัดฐานที่พวกเขาพึงประสงค์ในเรื่องของ “ความคาดหวัง การพัฒนา และการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง”
แคทซ์ (Roberta Katz) กล่าวว่า การเติบโตท่ามกลางความไม่แน่นอนทำให้คน Gen Z มีคุณลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ แถมยังมีความอิสระ และความยืดหยุ่น ทำให้พวกเขามีวิธีรับมือสิ่งต่างๆ ด้วยค่าความคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับอนาคต การทำงาน และการตั้งคำถามถึงวิธีการต่างๆ ที่ทำนำไปสู่ผลสำเร็จ ซึ่งนำไปสู่คุณลักษณะยอดเยี่ยมของคน Gen Z ที่จะนำติดตัวไปด้วยเพื่อใช้ในการทำงาน และเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์กร
- Gen Z เป็นคนเน้นการปฏิบัติ เพื่อผลรับ มากกว่าการบอกเล่า
Gen Z เกิดมาในยุคที่ต้องการคำตอบ และผลตอบรับของสิ่งที่ต้องการรับรู้ ด้วยพฤติกรรมของการใช้เทคโนโลยีที่ทำให้พวกเขาได้วิเคราะห์ และหาคำตอบอยู่ตลอดเวลา พวกเขามักจะตั้งคำถามกับทุกสิ่ง ทุกอย่าง และทุกคน ตั้งแต่เพื่อนฝูง พ่อแม่ หรือผู้คนในที่ทำงาน
“พวกเขาไม่แคร์ว่า คนมีอายุ มักจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเสมอไป” แคทซ์ กล่าว “พวกเขาต้องแค่ว่าเหตุและผล หรือการกระทำแบบใดที่สามารถตอบโจทย์สำหรับพวกเขาได้มากที่สุด” นอกจากนี้คนกลุ่มนี้ไม่กลัวที่จะท้าทายว่าทำไมสิ่งต่างๆ ถึงเป็นแบบนั้น ทำไมตองเป็นแบบนี้ เมื่อผู้สูงวัย หรือผู้มีประสบการณ์ พูดกับพวกเขาว่า 'นี่คือวิธีที่คุณควรทำ' แต่คน Gen Z มักต้องการตรวจสอบ และปฏิบัติด้วยตนเองก่อน โดยการตั้งประเด็นก่อนลงมือทำทุกครั้ง และพวกเขาไม่เชื่อว่าสิ่งเหล่านั้นถูกต้องเสมอไป มันเป็นวิธีทำความเข้าใจที่แตกต่าง” แคทซ์อธิบาย
- Gen Z เป็นผู้สร้างความแตกต่าง
คน Gen Z ไม่เพียงแต่จะคาดหวังในการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่ยังมีศรัทธาที่แรงกล้าในการเรียกร้องถึงการเปลี่ยนแปลงด้วย เพื่อที่จะแก้ปัญหาที่ซับซ้อนที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันให้ดีขึ้น
ปัจจุบันเราเห็นสิ่งที่เรียกร้องจากกลุ่ม Gen Z มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ ไปจนถึงความอยุติธรรมทางเชื้อชาติ และอื่นๆ และต้องการแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นทั้งหมดนี้อาจจะส่งผลไปถึงองค์กรการทำงานเช่นกัน เรื่องเล็กๆ ที่สื่อถึงการเปลี่ยนแปลง หรือการมีคนกลุ่มนี้เพื่อเปลี่ยนแปลงจึงจำเป็นอย่างมาก
- Gen Z ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นทีม
Gen Z บางกลุ่มใช้โลกออนไลน์และดิจิทัล เป็นตัวช่วยในการกำหนดแนวคิด และเอกลักษณ์ของพวกเขา เพราะคนกลุ่มนี้เติบโตมากับโลกออนไลน์ และชุมชนสาธารณะทำให้พวกเขาส่วนใหญ่มักจะพบวัฒนธรรมย่อย เพื่อเชื่อมต่อ และโต้ตอบกันและกัน
ยกตัวอย่าง ‘กลุ่มแฟนคลับ’ เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คนกลุ่มนี้เป็นชุมชนที่มีความชอบเดียวกัน เวลามีกิจกรรม หรือต้องทำงานร่วมกัน พวกเขาจะมีความกระตือรือร้นเพิ่มเป็นเท่าตัว เช่น ศิลปินเคป๊อปชื่อดังอย่าง BTS มีกองทัพ Beyonce หรือ Taylor Swift มีกลุ่ม Swifties สุดเข้มแข็ง
...
แนวทางนี้สื่อให้เห็นว่า พวกเขามีพฤติกรรมที่จะให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกัน เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด” แคทซ์ กล่าว
- Gen Z ต้องการผู้นำที่มีประสิทธิภาพ สามารถชี้นำได้ โดยทุกคนในทีมต้องมีความเห็นพ้องต้องกัน
การลำดับขั้นของคนที่มีอายุงานมากกว่า หรือ คนที่มีอายุมาก อาจไม่มีผลกับคน Gen Z “พวกเขาไม่เชื่อเรื่องนี้ จนกว่าจะเห็นความสามารถ ความคิด และประสิทธิภาพ” ผู้วิจัยกล่าวเสริมว่า “คนกลุ่มนี้เชื่อในลำดับขั้น ที่มีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์ต่อการทำงาน โดยทุกคนในทีมมีความเห็นเดียวกัน”
Gen Z ไม่ชอบให้คนใดคนหนึ่งเป็นผู้นำอยู่ตลอดเวลา แต่จะชอบผู้นำที่มีความสามารถเฉพาะเรื่อง หรือความเชี่ยวชาญ ที่ให้คำแนะนำได้ โดยขึ้นอยู่ที่ชิ้นงานที่ได้รับมอบหมาย
บางครั้งสมาชิกในทีมอาจผลัดกันเป็นผู้นำกลุ่ม (ความเป็นผู้นำแบบหมุนเวียน) อีกรูปแบบหนึ่งที่พวกเขาอาจชอบ คือ “ความเป็นผู้นำในการทำงานร่วมกัน” ซึ่งผู้คนจากทั่วทั้งองค์กรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และการแก้ปัญหา ความโปร่งใส ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เพราะคน Gen Z ให้คุณค่า และเคารพเสียงส่วนมากที่มีความเห็นพ้องต้องกัน
...
- Gen Z สุขภาพกาย และจิตต้องมาก่อน เพื่อความสมดุลในชีวิต และการทำงาน
คนยุค Gen Z เติบโตขึ้นมาในช่วงเวลาที่มีตารางการทำงานที่ยืดหยุ่นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมาจากพฤติกรรมที่ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย และสังคม การทำงานในรูปแบบนี้ อาจทำให้คนรุ่นเก่ารู้สึกอึดอัดใจ และกดดันที่จะต้องเปิดใจ ยอมรับอยู่เสมอ
‘ชีวิตในการทำงาน และการใช้ชีวิต้องผสมผสานกันอย่างลงตัว’ “ฉันคิดว่า คน Gen Z มีความอ่อนไหว และค่อนข้างใส่ใจในเรื่องนี้” แคทซ์กล่าว พวกเขาเชื่อว่าการมีสมดุลระหว่างชีวิต และการทำงาน จะเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถเยียวยารักษาสุขภาพจิต และสุขภาพกายที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับ Gen Z พวกเขากำลังให้ความสำคัญ กับประสบการณ์การใช้ชีวิตของมนุษย์ และตระหนักว่าชีวิตนั้นเป็นมากกว่าการทำงาน
- Gen Z คิดต่างเกี่ยวกับความภักดีในองค์กร
เนื่องจากคน Gen Z เติบโตท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทำให้พวกเขามีมุมมองด้านความภักดีในองค์กรที่แตกต่างออกไป
แคทซ์ ยกตัวอย่างว่า “คนกลุ่มนี้เติบโตมากับสถานที่ทำงานที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อพนักงานมากนัก” เพราะคนกลุ่มนี้เติบโตมาในช่วงวิกฤติการเงินโลกในปี 2008 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบระยะยาวต่อการจ้างงาน และลักษณะงาน”
ในอดีตผู้คนมักนิยมไปทำงานให้กับบริษัทใหญ่ๆ โดยคิดว่าบริษัทที่พวกเขาอยู่นั้นจะคอยดูแลพวกเขาไปตลอดชีวิตการทำงาน แต่หลังจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2008 และยิ่งไปกว่านั้นช่วงภายหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 บริษัทต่างๆ ก็ได้ลดต้นทุนค่าแรง และได้ดำเนินมาตรการประหยัดต้นทุนอื่นๆ เช่น การลดสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการ ในขณะเดียวกัน การเลิกจ้างจำนวนมากก็มีมากขึ้นเช่นกัน
...
“เหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ทำให้คน Gen Z ไม่รู้สึกถึงว่าทำไมคนที่ทำงานประจำต้องมีความภักดีในองค์กรกันมากนัก เพราะทุกอย่างล้วนแต่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันก็เท่านั้น” แคทซ์ กล่าว
- Gen Z มองหาความไว้วางใจ และความน่าเชื่อถือ
“สิ่งที่ถูกต้องที่สุดของคนกลุ่ม Gen Z คือ เรื่องของความไว้วางใจ" แคทซ์ กล่าว
ทุกคำพูด คำสัญญา และการกระทำ จะต้องตรงกันอย่างมีความซื่อสัตย์เป็นสิ่งสำคัญ นี่คือการสื่อสารของคน Gen Z ที่สื่อได้เห็นอย่างตรงไปตรงมาที่สุด และถือว่าเป็นการเคารพซึ่งกันและกัน
แน่นอนว่าหากองค์กรจะต้องการมัดใจกลุ่มคนทำงาน Gen Z จะต้องมีเงื่อนไขที่ตรงไปตรงมา ชัดเจน ไม่คลุมเครือ และห้ามผิดสัญญา เพราะอาจจะทำให้พวกเขาผิดหวัง และเขาจะจดจำได้เสมอว่าใครที่ไม่ให้เกียรติพวกเขา และผิดสัญญา ถ้าไม่อยากให้องค์กร หรือชื่อของคุณถูกจดจำไปตลอดชีวิต
ข้อมูล : stanford
ภาพ : istock