นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาเที่ยวไทยลดลงเป็นจำนวนมาก แม้ว่าสถานการณ์จะดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนยังไม่กลับมาเท่าเดิม

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลล่าสุดจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ Alipay+ แสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ที่กลับมาปกติเป็นครั้งแรกหลังการแพร่ระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการท่องเที่ยว Cross-Border ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย

ในช่วงเทศกาลตรุษจีน 2567 ที่ผ่านมา ข้อมูลจาก ททท. แสดงให้เห็นว่ามีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยจํานวน 1,008,899 คน ซึ่งในจํานวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน 211,349 คน ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้น 15% จากปี 2019 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจากประเทศอื่นๆ ในเอเชียเพิ่มขึ้น 14% โดยหมวดหมู่ที่มีการใช้จ่ายสูงสุด ได้แก่

  1. การช็อปปิ้ง
  2. อาหารและเครื่องดื่ม
  3. นวดและสปา
  4. สถานที่ท่องเที่ยว
  5. สถานบันเทิงยามค่ำคืน

ส่วนเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมในประเทศไทย ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ชลบุรี เชียงใหม่ และกระบี่

...

นายฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า “จํานวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่ผ่านมาสูงกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ‘ประเทศไทย’ ยังคงเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวยอดนิยมระดับโลก ในขณะที่เราเข้าสู่ปีใหม่พร้อมฤดูกาลท่องเที่ยวช่วงแรกของปี เป้าหมายของเราคือไม่เพียงแต่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทําให้พวกเขาได้ท่องเที่ยวสะดวกสบายมากขึ้น ด้วยการทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรเช่น Alipay+ นอกจากเราจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนและเอเชียได้มากขึ้นแล้ว เรายังสามารถช่วยให้นักท่องเที่ยวเหล่านี้มีประสบการณ์ดิจิทัลที่ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเติบโตให้กับธุรกิจท้องถิ่นของเรา ททท. มองหาโอกาสในการเสริมสร้างความร่วมมือกับ Alipay+ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมอันดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกในปี 2567 และปีต่อๆ ไป”

ขยายอีโคซิสเต็มของ Alipay+ ในไทยเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว

ททท. และ Alipay+ ได้ร่วมกันเปิดตัวการตลาดแบบ co-marketing เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนและเอเชียให้เดินทางมายังประเทศไทย พร้อมทั้งมอบประสบการณ์การช็อปปิ้งและการเดินทางที่คุ้มค่ายิ่งขึ้นให้กับนักท่องเที่ยวเหล่านี้ รวมถึงการส่งเสริมความเชื่อมั่นและความปลอดภัย การโปรโมตแหล่งท่องเที่ยวหลัก เมืองสําคัญ และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทั่วประเทศไทย ตลอดจนการแนะนําแคมเปญและโปรโมชันพิเศษสําหรับนักท่องเที่ยว

ในช่วงเทศกาลตรุษจีน 2567 ข้อมูลจาก Alipay+ ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางระดับโลกที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับ 4 จากนักท่องเที่ยวชาวจีน โดยมียอดใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 4.5 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2566 นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางอันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของนักท่องเที่ยวจีน

ด้วยการสนับสนุนของ Alipay+ อีวอลเล็ตระหว่างประเทศ และแอปพลิเคชันธนาคาร 13 รายการสามารถใช้งานในประเทศไทยได้แล้ว ประเทศไทยยังเป็นจุดหมายปลายทางระดับโลกยอดนิยมอันดับ 3 ในกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย และการเพิ่มจำนวนอีวอลเล็ตเหล่านี้ก่อนฤดูกาลท่องเที่ยวได้ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับนักท่องเที่ยว พร้อมทั้งสร้างโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจท้องถิ่นด้วย

ภาพจาก iStock
ภาพจาก iStock

Alipay+ ยังคงขยายการรองรับจํานวนร้านค้าอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีการให้บริการในร้านค้ามากกว่า 250,000 แห่งในประเทศไทย นอกเหนือจากร้านค้าปลีกและ F&B แล้ว ยังมีร้านค้าใหม่อื่นๆ ที่ครอบคลุมรูปแบบการใช้จ่ายที่หลากหลายของนักท่องเที่ยว เช่น ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น ห้างบิ๊กซี สถานที่ท่องเที่ยวเช่น พระบรมมหาราชวัง ร้านขายของที่ระลึก และสถานบริการสุขภาพและสปา เช่น Let’s Relax และ Health Land

ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางด้านการช็อปปิ้งที่สําคัญสําหรับนักท่องเที่ยว โดยร้านค้ายอดนิยมรวมถึง คิงเพาเวอร์ ห้างสรรพสินค้าในเครือสยามพิวรรธน์ และ ห้างเครือเซ็นทรัล นอกจากนี้ การขยายตัวของร้านค้าพันธมิตร Alipay+ ในประเทศไทยล่าสุด ยังทําให้การเดินทางในชีวิตประจําวันสะดวกสบายยิ่งขึ้นด้วยร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven และ Big C Supermarket ซึ่งเป็นหนึ่งในร้านค้ายอดนิยมด้วยเช่นกัน

...

ภาพจาก iStock
ภาพจาก iStock

นายสิทธิพงษ์ กิตติประภาพงศ์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่าย Global Merchant Partnership ประจำประเทศไทย Ant International กล่าวว่า “ความร่วมมือใกล้ชิดอย่างต่อเนื่องของเรากับ ททท. ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากจีนและเอเชียให้เดินทางเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น พร้อมทั้งมอบความสะดวกสบายให้แก่นักท่องเที่ยวในการจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าได้ทั่วประเทศ ปัจจุบันประสบการณ์ดิจิทัลแบบไร้รอยต่อถือเป็นเรื่องธรรมดาสําหรับนักท่องเที่ยว และด้วยการรองรับแอปชําระเงินที่เป็นพันธมิตร Alipay+ ที่มากขึ้นในประเทศไทย ส่งผลให้การทำธุรกรรมโดยใช้อีวอลเล็ตในประเทศของนักท่องเที่ยวมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น เป้าหมายของเราคือการขยายเครือข่ายร้านค้าที่รองรับ Alipay+ เพื่อให้ธุรกิจท้องถิ่นได้รับประโยชน์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปีต่อๆ ไป เรามองหาโอกาสที่จะเสริมสร้างความร่วมมือกับ ททท. และร้านค้าในท้องถิ่นอย่างจริงจัง ทั้งในเรื่องของการให้ความรู้ การโปรโมตร้านค้า และการรับชําระเงินระหว่างประเทศ”

...

นอกจากนี้ยังพบว่าประเทศไทย เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเก๊า มาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และแคนาดา เป็น 10 อันดับแรกของจุดหมายปลายทางที่นักท่องเที่ยวจีนใช้จ่ายผ่าน Alipay มากที่สุด โดย ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ มียอดใช้จ่ายรวมกันเพิ่มขึ้น 7.5% เมื่อเทียบกับปี 2562 และเพิ่มขึ้นถึง 580% เมื่อเทียบกับปี 2566 ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้นําด้านปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมสูงที่สุด ในขณะที่มาเลเซียมีอัตราการเติบโตสูงที่สุด

ภาพจาก iStock
ภาพจาก iStock

ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมอันใกล้ชิดระหว่างเขตบริหารพิเศษฮ่องกง มาเก๊า และจีนแผ่นดินใหญ่ นโยบายยกเว้นวีซ่าในประเทศหลักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย และการฟื้นตัวของเที่ยวบินระหว่างประเทศ เป็นปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตของการท่องเที่ยวข้ามพรมแดน ขณะที่แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในเอเชียยังคงได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง จุดหมายปลายทางที่อยู่ไกลออกไปในยุโรป, ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ANZ), ตะวันออกกลาง และอเมริกาเหนือ ก็เริ่มได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวจีนเช่นกัน

...

แคมเปญระดับโลกดำเนินไปอย่างเต็มรูปแบบผ่านเครือข่ายผู้ค้า Alipay+ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีน ในช่วงวันหยุดเทศกาลตรุษจีน ระหว่างวันที่ 9 ถึง 12 กุมภาพันธ์ จำนวนธุรกรรมที่ทำโดยผู้ใช้ Alipay ในต่างประเทศ แซงหน้าปี 2562 ถึง 7% ขณะที่ยอดใช้จ่ายของผู้บริโภคฟื้นตัวกลับมาอยู่ที่ 82% ของยอดใช้จ่ายในปี 2562 หรือเพิ่มขึ้นถึง 2.4 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2566

นอกจากการเดินทางที่ขยายขอบเขตมากขึ้น นักท่องเที่ยวจีนยังขยายความสนใจจากกิจกรรมเดิมๆ เช่น การช็อปปิ้งและเยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวหลักๆ ไปสู่ประสบการณ์ท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมและมีเอกลักษณ์มากขึ้น ในสัปดาห์วันหยุดตรุษจีนทั่วโลก นักท่องเที่ยวจีนใช้จ่ายไปกับอาหารและเครื่องดื่มมากกว่าปี 2562 ถึง 70% โดยขยายจากจุดหมายยอดนิยมในเมืองไปสู่สถานที่ท้องถิ่นที่น่าสนใจ