รู้จัก ‘แร่ลิเทียม’ แร่พลังงานสำคัญที่ประเทศไทยพบเจอเป็นอันดับ 3 ของโลก มีความสำคัญอย่างไร ทำไมถึงเป็นพลังงานที่เป็นที่ต้องการในอนาคต

ข้อมูลของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ เผยว่า ไทยสำรวจพบ แร่ลิเทียมกว่า 14,800,000 ล้านตัน ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศที่ค้นพบแร่ดังกล่าวมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากโบลิเวีย และอาร์เจนตินา

ปัจจุบันไทยค้นพบแหล่งแร่ลิเทียมที่มีศักยภาพทั้งหมด 2 แหล่ง ได้แก่ แหล่งเรืองเกียรติ และแหล่งบางอีตุ้ม แร่ลิเทียม จึงกลายเป็นแร่หลักสำคัญ ในการทำแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ทำให้ประเทศไทยจึงมีโอกาสสำคัญในการเป็นศูนย์กลาง และฐานการผลิตแบตเตอรี่ EV ของภูมิภาคในอนาคต 

ล่าสุดยังค้นพบแหล่งแร่โซเดียม ในพื้นที่ภาคอีสานปริมาณสำรองอีกจำนวนมาก ซึ่งแร่ทั้งสองชนิด (แร่ลิเทียม และแร่โซเดียม) ถือเป็น แร่หลักหรือวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) 100% ทำให้ไทยมีการเตรียมความพร้อมในการเดินหน้าสู่การเป็นศูนย์กลาง และฐานการผลิตแบตเตอรี่ EV ในภูมิภาค

ประวัติของแร่ลิเทียม

...

สารเพทาไลต์ (Petalite) เป็นสารที่มีลิเทียมเป็นส่วนประกอบ ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวบราซิล โฮเซ โบนิฟาเชียว เด อันดราดา เอ ซิลวา (José Bonifácio de Andrada e Silva) และ ‘ลิเทียม’ ถูกค้นพบ โยฮันน์ อาร์ฟเวดสัน (Johann Arfvedson) ในปี 1817 ในขณะที่กำลังวิเคราะห์แร่ธาตุชนิดใหม่บนเกาะอูโท (Uto) ในประเทศสวีเดน ประกอบไปด้วย สปอดูมีน (spodumene) และเลปิโดไลต์ (lepidolite) ในสินแร่เพทาไลต์ (petalite) แต่ไม่สามารถแยกลิเทียมออกมาได้

โทมัส เบรนด์ (William Thomas Brande) และเซอร์ฮัมฟรีย์ เดวี (Humphrey Davy) นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 ได้ค้นพบวิธีการแยกสลาย ‘เกลือลิเทียม’ ด้วยไฟฟ้ากับลิเทียมออกไซด์ในปี ค.ศ. 1818 และในปี ค.ศ. 1855 ได้มีการค้นพบการแยกโลหะส่วนใหญ่ด้วยการแยกสลายลิเทียมคลอไรด์ด้วยไฟฟ้า 

การผลิตโลหะลิเทียมเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ประสบความสำเร็จ เมื่อ ค.ศ. 1923 โดยบริษัทเมทัลเกเซลชาฟท์ (Metallgesellschaft)  ประเทศเยอรมนี ด้วยการใช้วิธีแยกสลายด้วยไฟฟ้าดังกล่าว แต่ใช้สารตั้งต้นเป็นลิเทียมคลอไรด์ และโพแทสเซียมคลอไรด์ที่หลอมละลาย เมื่อได้ธาตุบริสุทธิ์ออกมา ก็ได้ตั้งชื่อว่า “ลิเทียม”

ลิเทียม (Lithium) สามารถพบได้ในแร่หลายชนิด ส่วนใหญ่จะพบได้ในแถบทะเลสาบน้ำเค็ม ลิเทียมสามารถนำไปผลิตแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ (Rechargeable Battery) ซึ่งแบตเตอรี่เหล่านี้ถูกนำไปใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า จักรยานไฟฟ้า และสมาร์ทโฟน นอกจากนี้ยังถูกนำไปใช้ในการผลิตแก้ว เซรามิก และจาระบี

แร่ลิเทียม คืออะไร

ลิเทียม คือธาตุที่ 3 ที่ถูกค้นพบต่อจากไฮโดรเจน และฮีเลียม โดยลิเทียม เป็นโลหะที่มีความอ่อนนุ่ม และน้ำหนักเบาที่สุดในธาตุทั้งหมด มีสีขาวเงินปนประกอบกัน ติดไฟได้ง่าย และไม่สามารถดับได้ด้วยน้ำ

ถึงแม้ลิเทียมจะมีลักษณะเบา และเปราะบาง แต่เป็นหนึ่งในกลุ่มโลหะอัลคาไลที่สามารถช่วยกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ในยานอวกาศ และเรือดำน้ำได้ ซึ่งลิเทียมเป็นโลหะไม่กี่ชนิดที่สามารถรับ และปล่อยพลังงานไฟฟ้าได้ด้วยตนเอง ซึ่งนิยมนำไปใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า จักรยานไฟฟ้า และสมาร์ทโฟน รวมทั้งในสิ่งของต่างๆ ตั้งแต่เซรามิกไปจนถึงอาวุธนิวเคลียร์ 

จากการเติบโตของรถยนต์ EV และวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่มีเพิ่มขึ้น ลิเทียม จึงเป็นทรัพยากรสำคัญในอนาคต ที่มีความต้องการเป็นอย่างมากในตลาดโลกในปัจจุบัน

การค้นพบแร่ศักยภาพอย่างลิเทียม-โซเดียม ดังกล่าวนี้ ทำให้ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ครอบครองแร่ลิเทียมมากที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง ทำให้ส่งผลในเรื่องของเศรษฐกิจประเทศ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และดึงดูดนักลงทุนเพิ่มมากขึ้น 

...

มีการคาดการณ์ว่า ความต้องการลิเทียมทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าภายในปีพ.ศ. 2568 และจะต้องการมากกว่า 2 ล้านตันภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งข่าวดี และโอกาสสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต

ภาพ : iStock

ข้อมูล : thaigov, กรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่