ชวนเช็กภาวะสมองล้า ต้นเหตุของการเกิดโรคซึมเศร้าและโรคอัลไซเมอร์ มีสาเหตุมาจากอะไร และวิธีคลายเครียดเบื้องต้นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะทางสมองนี้
ภาวะสมองล้า (Brain Frog Syndrome) เกิดขึ้นได้จากการทำงาน การเรียน และมีกิจกรรมที่หนักจนเกินไป ส่งผลให้อารมณ์และความรู้สึกแปรปรวน ณ ขณะหนึ่ง ถึงแม้ภาวะสมองล้าอาจจะหายเองได้จากการพักผ่อน
แม้โรคนี้มักจะเกิดได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่ถ้าหากเผชิญกับภาวะความเครียดบ่อยครั้ง อาจส่งผลได้โดยไม่จำกัดอายุ ทำให้เกิดโรคทางอารมณ์และสมองอื่นๆ ที่ตามมาได้เช่นกัน
ภาวะสมองล้า หนึ่งในสิ่งที่กำลังเป็นที่น่ากังวล เพราะในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นกับกลุ่มบุคคลที่มีอายุน้อย วัยรุ่น และกำลังเข้าสู่วัยทำงาน มีความเสี่ยงทำให้คนเกิดภาวะซึมเศร้าเยอะขึ้น และส่งผลต่อโรคอัลไซเมอร์ ความจำระยะสั้นในขณะวัยเยาว์ และอาจทวีความรุนแรงได้เมื่อเข้าสู่ช่วงสูงวัย
ภาวะสมองล้าในวัยทำงาน เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงของกรมการแพทย์ โดย นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ได้เปิดเผยว่า “ปัจจุบันสังคมต้องมีการแข่งขันกันมากขึ้น การทำงานที่ต้องแข่งกับเวลา ทำให้มีโอกาสดูแลสุขภาพน้อยลง ทำให้บ่อยครั้งที่วัยทำงานต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยมารบกวน ทั้งการใช้ชีวิต อาชีพ และการเข้าสังคม หากไม่นับความเจ็บป่วยทางกาย ยังมีความเจ็บป่วยทางใจและระบบประสาท โดยเฉพาะปัญหาด้านความจำที่แย่ลง ปกติควรพบในวัยสูงอายุ แต่มาพบในวัยทำงาน” อ่านเพิ่มเติม
อาการของภาวะสมองล้า
- คิดไม่ออก สมองตื้อ
- อารมณ์แปรปรวนได้ง่าย
- ไม่มีสมาธิ
- นึกคำพูดไม่ออก
- มีความรู้สึกมึนงง
- ไม่สดใส และไม่สดชื่น
- ปวดศีรษะเรื้อรัง
- นอนหลับไม่สนิท
- ความจำแย่ลง ขี้ลืม
- เหนื่อยง่าย และอ่อนเพลีย
...
วิธีคลายเครียดเบื้องต้น หากเกิด “ภาวะสมองล้า”
- ยืดเส้นยืดสายของร่างกายตัวเอง
- พักและละเว้นจากภาระหน้าที่หากเกิดอาการ
- ฝึกกำหนดลมหายใจเข้า-ออก และนั่งสมาธิ
- นำตัวเองออกมาจากสถานการณ์ความเครียด
- รู้จักปล่อยวาง
- หากิจกรรมทำแก้เครียดระหว่างวัน
- พบแพทย์เพื่อปรึกษา หาคำแนะนำ
ผู้ที่มีอาการดังกล่าว และสงสัยว่าจะเกิดภาวะสมองล้านี้ ให้ลองสังเกตอาการด้วยตนเองว่ามีปัญหาเรื่องความจำ อารมณ์ ขาดสมาธิ หรือปวดศีรษะ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่ เพื่อที่จะเข้าพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ หาสาเหตุ และรับการรักษาให้ทันท่วงที
ภาพ : istock