วิธีการแจ้งข้อมูลกฎหมายกับ DPS ทำอย่างไร ธุรกิจแบบไหนต้องลงทะเบียนบ้าง

ประเทศไทย มีกฎหมายการบริการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลในสาขาต่างๆ มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการใน วันที่ 21 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นเครื่องมือของภาครัฐ ในการช่วยคุ้มครองผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ลดความเสี่ยงจากการฉ้อโกงออนไลน์ และต้องลงทะเบียนก่อน วันที่ 18 พฤศจิกายน 2566

กฎหมาย DPS โดย ETDA (สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์) จึงเป็นหนึ่งในข้อบังคับที่น่าสนใจ ในการแก้ปัญหาระหว่างผู้ให้บริการ ผู้ใช้บริการ และผู้บริโภค ที่จะได้รับความเป็นธรรมในการใช้งานแพลตฟอร์ม หากเกิดปัญหาขึ้นก็จะมีที่รับแจ้งปัญหาอย่างถูกต้อง สามารถติดตามปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ไม่มีการถูกเอาเปรียบจากแพลตฟอร์ม

ส่วนทางแพลตฟอร์มเองก็จะได้รับความไว้วางใจจากเหล่าพ่อค้าแม่ค้า ผู้ใช้บริการมากขึ้น เพราะมีการดูแลชี้แจงอย่างโปร่งใส จะเห็นได้การมาของกฎหมายบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน 

จุดหมายปลายทางของ ETDA (สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์) คือ การคุ้มครองมากกว่าการควบคุม เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่ดูแลปัญหาเฉพาะ และผู้ประกอบธุรกิจ มีแนวทางออก และปรึกษาปัญหาร่วมกัน ในการออกแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) รวมถึงแนวทางการกำกับดูแลตนเองที่เหมาะสม (Self-regulate) เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจอันดีและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

ประเภทของธุรกิจ และลักษณะการบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลทั่วไปที่ต้องแจ้งลงทะเบียน

ประเภทของธุรกิจ ที่ต้องแจ้งลงทะเบียนจะครอบคลุมหลายธุรกิจ ไม่ใช่แค่อีคอมเมิร์ซที่มีให้ผู้ซื้อ กับผู้ขายเท่านั้น แต่ยังรวมถึง การบริการที่เป็นสื่อกลางที่ให้ผู้ใช้บริการ 2 ฝ่ายมาเชื่อมต่อกัน ซึ่งอาจเป็นการเชื่อมต่อกันระหว่างผู้ใช้บริการ กับผู้ใช้บริการ เช่น แอปพลิเคชันต่างๆ แพลตฟอร์มบนโลกออนไลน์ ที่ส่งเสริมด้านโฆษณา ให้กับผู้ประกอบการ และบริการให้กับผู้บริโภค

...

  • แพลตฟอร์มที่เป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (e-Marketplace Platform) 
  • แพลตฟอร์มแชร์หรือที่แบ่งปันทรัพยากรหรือบริการ เช่น บริการแชร์รถยนต์ บริการแชร์ที่พัก บริการจัดหาแม่บ้านหรือช่าง 
  • แพลตฟอร์มใช้ในการสื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มคน แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถสร้างและแบ่งปันเนื้อหากับคนอื่นๆ 
  • แพลตฟอร์มสตรีมมิงออนไลน์ ครอบคลุมทั้งภาพ เสียงและวิดีโอ แพลตฟอร์มที่รวบรวมและนําเสนอข่าวสารจากแหล่งข่าวต่างๆ ไว้ที่เดียว 
  • แพลตฟอร์มค้นหาข้อมูล (Searching Tools) 
  • แพลตฟอร์มแผนที่ออนไลน์ แพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์
  • แพลตฟอร์มผู้ช่วยเสมือน (Virtual Assistants) ให้ข้อมูล ตอบคําถาม หรือควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ 
  • แพลตฟอร์มบริการคลาวด์ (Cloud Service Platform) 
  • ระบบปฏิบัติการ (Operating System) 
  • เว็บเบราว์เซอร์ (Web Browsers) 
  • ผู้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) 
  • บริการให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Web Hosting)

ผู้ที่มีหน้าที่แจ้งข้อมูลการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในกรณีที่เป็น "ผู้ประกอบธุรกิจเป็นบุคคลธรรมดา" ต้องแจ้งข้อมูลที่จำเป็นให้ ETDA ทราบมีดังนี้ 

ETDA ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า กรณีเป็นบุคคลธรรมดา (คนทั่วไป) ที่ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น ผู้ที่ค้าขายออนไลน์ ยูทูบเบอร์ ติ๊กต่อกเกอร์ หรือ อินฟลูเอนเซอร์ ไม่ว่าจะมียอดผู้ติดตามเท่าไรก็ตาม 'ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน'

ผู้ที่ต้องลงทะเบียน คือ เจ้าของแฟลตฟอร์มอย่าง เมตา อินสตาแกรม ยูทูบ และติ๊กต่อก เว้นแต่ว่าผู้นั้นได้จดทะเบียนบริษัท ที่ให้บริการแพลตฟอร์มด้วยตนเองโดยไม่ผ่านสื่อกลาง และเข้าเกณฑ์ เงื่อนไขดังต่อไปนี้

  • บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล เป็นบุคคลธรรมดา มีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายในไทยเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  • บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นนิติบุคคลที่มีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายให้ไทยเกิน 50 ล้านบาทต่อปี 
  • มีจำนวนผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลของตนเองในไทย เกิน 5,000 คนต่อเดือน โดยคำนวณจากการใช้งานเฉลี่ยต่อเดือนย้อนหลังตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกาศกำหนด

ถ้าหากหน่วยงานหรือธุรกิจไหนไม่มั่นใจว่าธุรกิจของตัวเองเข้าข่ายธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล หรือเปล่า สามารถให้ทาง ETDA ประเมิน หรือผู้ประกอบธุรกิจสามารถประเมินตัวเองได้ผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบของการตอบคำถาม ระบบจะแจ้งผลการประเมินให้ท่านทราบว่าธุรกิจบริการของท่านเข้าข่ายเป็นบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลหรือไม่ 

ข้อมูล และเอกสารในการลงทะเบียน ETDA

  • ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล เลขบัตรประชาชนพร้อมที่อยู่ ช่องทางการติดต่อ หากเป็นนิตินิติบุคคลจะใช้ข้อมูลเลขทะเบียนนิติบุคคล และรอบระยะเวลาบัญชีเพิ่มด้วย 
  • ข้อมูลเกี่ยวกับบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ประกอบด้วยชื่อและประเภทของบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ให้บริการในไทย ระบุช่องทางให้บริการ เช่น ยูอาร์แอล (URL) หรือแอปพลิเคชัน พร้อมระบุรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายจากการให้บริการ 
  • ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการ ประเภทของผู้ใช้บริการ เช่น ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค ผู้ทำงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล จำนวนของผู้ใช้บริการรวมและแยกตามผู้ใช้บริการแต่ละประเภท รวมถึง ประเภทของผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ขนส่งสินค้า ผู้ให้บริการคลังสินค้า พร้อมระบุจำนวนรวมของผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องและจำนวนของผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องแต่ละประเภท 
  • ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนที่มีจำนวนมากที่สุด 5 อันดับแรก รวมถึงการจัดการเรื่องร้องเรียนและการระงับข้อพิพาท 
  • ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประสานงานในราชอาณาจักร ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจประกอบธุรกิจ อยู่นอกราชอาณาจักร 
  • คำยินยอมให้สำนักงานเข้าถึงข้อมูลได้

...

แจ้งลงทะเบียนการประกอบธุรกิจ ETDA ผ่านช่องทางไหนได้บ้าง

  1. ระบบจดแจ้งการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล (Website) ของ สพธอ. 
  2. ศูนย์กํากับดูแลและตรวจสอบธุรกิจ สํานักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ชั้น 21 อาคารเดอะ ไนน์ ทาวเวอร์ แกรนด์ พระรามเก้า (อาคารบี) เวลา 08.30-17.30 น.

ข้อมูล : ETDA