เริ่มทันที รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย หลังจากที่ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ได้เดินทางไปเปิดการให้บริการอย่างเป็นทางการ ณ สถานีกลางบางซื่อ วันที่ 16 ตุลาคม 2566 ในตอนนี้มีรถไฟฟ้าสายไหนให้บริการบ้าง และมีเงื่อนไขอย่างไร

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม ได้ประกาศเริ่มใช้นโยบายเร่งด่วน (Quick Win) สำหรับรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายอย่างเป็นทางการแล้ววันนี้ หลังจากเดินทางไปเปิดให้ใช้บริการที่สถานีกลางบางซื่อ เวลา 11.00 น. ในวันที่ 16 ตุลาคม 2566 มีผลโดยทันที 

นอกจากนี้ยังมีการเตรียมพร้อมสำหรับผู้มาใช้บริการ เช่น ป้ายแนะนำ เจ้าหน้าที่ที่คอยอำนวยความสะดวก และหน่วยงานประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้การเริ่มต้นใช้รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ในช่วงแรกจะเป็นการเก็บข้อมูล สถิติ และคำแนะนำจากนโยบาย เพื่อไปปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นในภายภาคหน้า

รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย มีสายไหนให้บริการ

นโยบายนำร่อง รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายในครั้งแรกนี้ จะเริ่มให้บริการในรถไฟฟ้าในเส้นทางสายสีม่วง (สถานีคลองบางไผ่-สถานีเตาปูน) และสายสีแดง (สถานีกลางบางซื่อ-สถานีรังสิต) ตั้งแต่ 16 ตุลาคม 2566 นี้เป็นต้นไป เวลาให้บริการ 05.00 น. - 24.00 น.

...

  • สายสีแดง SRT Red Lines (รถไฟฟ้าชานเมือง สายนครวิถี) ประกอบไปด้วย

เส้นทางที่ 1 ทั้งหมด 10 สถานี : บางซื่อ, จตุจักร, วัดเสมียนนารี, บางเขน, ทุ่งสองห้อง, หลักสี่, การเคหะฯ, ดอนเมือง, หลักหก และรังสิต 

เส้นทางที่ 2 ทั้งหมด 7 สถานี : บางซื่อ, บางซ่อน, สะพานพระราม 6, บางกรวย-กฟผ., บางบำหรุ และตลิ่งชัน 

  • สายสีม่วง Purple Line (รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม) ประกอบไปด้วย

เส้นทางที่ 1 ทั้งหมด 16 สถานี : คลองบางไผ่, ตลาดบางใหญ่, สามแยกบางใหญ่, บางพลู, บางรักใหญ่, บางรัก, น้อยท่าอิฐ ไทรป่า, สะพานพระนั่งเกล้า, แยกนนทบุรี 1, บางกระสอ, ศูนย์ราชการนนทบุรี, กระทรวงสาธารณสุข, แยกติวานนท์, วงศ์สว่าง, บางซ่อน และเตาปูน 

เงื่อนไขการใช้บริการ รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย  

กระทรวงคมนาคมกำลังดำเนินการในระบบการใช้งานร่วมกับธนาคาร โดยใช้บัตรเครดิต และเดบิต เพื่อง่ายต่อการเชื่อมโยงระหว่างสถานี ทำให้การเดินทางข้ามสายรถไฟฟ้าทั้ง 2 ยังคงต้องจ่ายเงินเพิ่ม ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าภายในเดือนพฤศจิกายน 2566 นี้ จะสามารถใช้บริการข้ามสายร่วมกันได้ทั้ง 2 สาย

  • การใช้บริการของกลุ่มผู้โดยสารทั่วไป จะเป็นราคาสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย หากเดินทาง 1-2 สถานีที่มีราคาไม่เกิน 20 จะอยู่ในค่าบริการ (ราคา 14-20 บาท) 
  • ผู้ที่ถือบัตรโดยสาร ประเภทบัตรเหมาจ่าย TRANSIT PASS RED LINE X BMTA ยังคงเงื่อนไขเดิม ในรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถโดยสาร ขสมก. และยังไม่ได้รับสิทธิในโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย
  • ผู้โดยสารที่เป็นเด็ก ผู้สูงอายุ พระภิกษุ จะได้รับส่วนลด 50% (ราคา 7-20 บาท) และนักเรียนและนักศึกษา จะได้รับส่วนลด 10% (ราคา 13-20 บาท) จากอัตราค่าโดยสารเดิม 
  • กลุ่มผู้โดยสารที่ได้รับสิทธิลดหย่อนค่าโดยสาร หากระยะการเดินทางมากกว่า 20 บาท ก็จะได้รับสิทธิในการชำระเงิน 20 บาท และได้รับสิทธิลดหย่อนตามเดิม หากเดินทางในระยะไม่เกิน 20 บาทตามเดิม

...

ข้อมูล : RED Line SRTET, MRT Purple Line

ภาพ : ศรันย์ พงษ์สวัสดิ์, MRT Purple Line